Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส

Turks and Caicos Islands (อังกฤษ)
ธงชาติหมู่เกาะเติกส์และเคคอส
ธงชาติ
ตราแผ่นดินของหมู่เกาะเติกส์และเคคอส
ตราแผ่นดิน
เพลงชาติGod Save the King
เพลงประจำชาติ: ทิสแลนด์ออฟอาวส์
This Land of Ours[1]
ที่ตั้งของหมู่เกาะเติกส์และเคคอส
เมืองหลวงคอคเบิร์นทาวน์
เมืองใหญ่สุดพรอวิเดนเชียลิส
ภาษาราชการภาษาอังกฤษ
เดมะนิมTCI
การปกครองอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร
• ประมุข
สมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3
ดิเลนิ แดเนียล-เซลวาร์แนม[2]
ชาร์ล วอชิงตัน มิสสิก
พื้นที่
• รวม
417 ตารางกิโลเมตร (161 ตารางไมล์) (199)
ประชากร
• 2008 ประมาณ
30,600[3] (208)
52 ต่อตารางกิโลเมตร (134.7 ต่อตารางไมล์)
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2006 (ประมาณ)
• รวม
722 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
17,112 ดอลลาร์สหรัฐ
สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
เขตเวลาUTC-5
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC-4
รหัสโทรศัพท์1 649
โดเมนบนสุด.tc

หมู่เกาะเติกส์และเคคอส (อังกฤษ: Turks and Caicos Islands) เป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรประกอบไปด้วยหมู่เกาะย่อยในเขตร้อน 2 หมู่เกาะ ได้แก่ หมู่เกาะเคคอสและหมู่เกาะเติกส์ อาณานิคมนี้ตั้งอยู่ในทะเลแคริบเบียน และมีชื่อเสียงในด้านสถานที่ท่องเที่ยวและเป็นแหล่งหลบเลี่ยงภาษีของบริษัทต่างชาติ หมู่เกาะนี้อยู่ห่างจากเมืองไมแอมี รัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 970 กม. และอยู่ห่างจากหมู่เกาะบาฮามาสไปทางตะวันออกเฉียงใต้ 80 กม. มีพื้นที่ทั้งหมด 430 ตร.กม.[4] ตามจริงแล้ว อาณาเขตของหมู่เกาะเติกส์และเคคอสกับหมู่เกาะบาฮามาสถือว่าต่อเนื่องกันในทางภูมิศาสตร์ แต่อาณาเขตทางการเมืองนั้นมีการแยกออกจากกันอย่างชัดเจน

หมู่เกาะนี้มีประชากรประมาณ 30,000 คนโดยประมาณ 22,500 คนอาศัยอยู่บนเกาะพรอวิเดนเชียลิส (Providenciales) เมืองหลวงคือโคเบิร์นทาวน์ (Cockburn Town) อยู่บนเกาะแกรนด์เติร์ก

ภูมิศาสตร์

แผนที่หมู่เกาะเติกส์และเคคอส

หมู่เกาะสองกลุ่มนี้อยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่เกาะบาฮามาส และทางเหนือของเกาะฮิสปันโยลา และมีระยะห่างประมาณ 970 กม. จากเมืองไมแอมี สหรัฐอเมริกา ประกอบไปด้วยเกาะใหญ่ 8 เกาะและกว่า 20 เกาะเล็ก รวมแล้วมีพื้นที่ 616.4 ตารางกิโลเมตร ในทางภูมิศาสตร์ หมู่เกาะทั้งสองถือเป็นส่วนเดียวกับหมู่เกาะบาฮามาสโดยทั้งหมดรวมกันเป็นกลุ่มเกาะลูคายัน แต่ในทางการเมืองนั้นถือว่าแยกจากกัน เกาะใหญ่สองเกาะในหมู่เกาะบาฮามาสที่อยู่ใกล้กับหมู่เกาะเคคอสมากที่สุดคือ เกาะมายากวานาและเกาะเกรตอีนากวา โดยมีช่องแคบเคคอสคั่นไว้

ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นพื้นหินปูนราบต่ำเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบึง ที่ลุ่มหนองชายเลน และชายหาดที่มีความยาวรวม 370 กม. อยู่ด้วย ลักษณะภูมิอากาศร้อนและค่อนข้างแห้งแล้ง แต่ก็ประสบกับเฮอร์ริเคนอยู่บ่อยครั้ง บนหมู่เกาะมีทรัพยากรน้ำจืดอยู่อย่างจำกัด ทำให้ต้องมีที่เก็บน้ำฝนเพื่อดื่มกิน ทรัพยากรธรรมชาติหลัก ๆ ของหมู่เกาะนี้ ได้แก่ กุ้งก้ามกราม หอยสังข์ และสัตว์น้ำมีเปลือกอื่น ๆ หมู่เกาะทั้งสองถูกแยกจากกันโดยมีช่องแคบเติกส์ไอแลนด์กั้นไว้

หมู่เกาะเคคอส

หมู่เกาะนี้ขนาดใหญ่กว่า รวมพื้นที่บนบกแล้วนับรวมเป็นร้อยละ 96 ของพื้นที่ทั้งหมด และมีประชากรอาศัยอยู่ร้อยละ 82 ของประชากรทั้งหมด เกาะต่าง ๆ ในหมู่เกาะเรียงตัวล้อมรอบเนินตื้นใต้ทะเลเคคอส (Caicos Bank) ดูคล้ายกับเกาะปะการัง โดยมีเกาะใหญ่หกเกาะอยู่ทางตะวันตก ทางเหนือ และทางตะวันออก และยังมีแนวปะการังกับเกาะเล็ก ๆ อยู่อีก 2-3 แห่งในทางใต้ ศูนย์กลางอย่างไม่เป็นทางการของหมู่เกาะเคคอสคือหมู่บ้านคิวที่อยู่บนเกาะนอร์ทเคคอส หมู่เกาะนี้แยกการปกครองออกเป็น 6 เขต โดยมี 4 เขตที่มีผู้อยู่อาศัย และยังมีหมู่เกาะเล็ก ๆ อีก 2 เกาะ เขตการปกครองดังกล่าวได้แก่

  • เวสต์เคคอส (ไม่มีผู้อยู่อาศัยแล้ว)
  • พรอวิเดนเชียลิส (เขตชุมชนที่ใหญ่ที่สุด)
  • นอร์ทเคคอส
  • มิดเดิลเคคอส
  • อีสต์เคคอส (ไม่มีผู้อยู่อาศัย)
  • เซาท์เคคอส
  • แอมเบอร์กริสคีย์

นอกจากนี้ยังมีเกาะเล็ก ๆ ที่มีคนอาศัยอยู่ ซึ่งอยู่ในหมู่เกาะย่อยเคคอสที่อยู่ระหว่างเกาะพรอวิเดนเชียลิสกับเกาะนอร์ทเคคอส

  • เดลลิสคีย์ (ไม่มีผู้อยู่อาศัย แต่จะมีโรงแรมเปิดให้บริการในปี ค.ศ. 2010)
  • ไพน์คีย์
  • แพร์รอตคีย์

หมู่เกาะเติกส์

ภาพถ่ายจากดาวเทียมของซอลต์คีย์

หมู่เกาะเติกส์มีลักษณะคล้ายสายโซ่เป็นทางยาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ มีช่องแคบเติกส์ไอแลนด์แยกหมู่เกาะนี้จากหมู่เกาะเคคอส มีพื้นที่ทั้งหมด 26.7 ตร. กม. และมีประชากรประมาณ 5,753 คน มีเกาะใหญ่ ๆ อยู่สองเกาะ โดยสองเกาะนี้เท่านั้นที่มีผู้อยู่อาศัย เกาะดังกล่าวได้แก่

ประวัติศาสตร์

ผู้อยู่อาศัยบนหมู่เกาะนี้ยุคแรก ๆ คือชาวอเมริกันอินเดียน รวมไปถึงชาวอาราวัก แต่เมื่อเวลาผ่านไปหลายศตวรรษ ชาวแคริบเริ่มเข้ามาแทนที่จนในที่สุดมีพวกเขาเป็นประชากรส่วนใหญ่ ชาวยุโรปที่มาทำการสำรวจทวีปอเมริกาบันทึกเกี่ยวกับการพบเห็นเกาะนี้เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1512 โดยผู้พิชิตดินแดนชาวสเปน ควน ปอนเซ เด เลออน ระหว่างศตวรรษที่ 16, 17 และ 18 หมู่เกาะนี้ผ่านการปกครองจากสเปน ฝรั่งเศส และอังกฤษมาแล้ว แต่ไม่มีชาติใดลงหลักปักฐานและสร้างนิคมบนหมู่เกาะสองแห่งนี้อย่างจริงจัง

หมู่เกาะเติกส์และเคคอสกลายเป็นแหล่งกบดานของโจรสลัดที่มีชื่อเสียงอยู่เป็นเวลาหลายทศวรรษในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ต่อมาบรรดาพ่อค้าเกลือชาวเบอร์มิวดาเข้ามาตั้งรกรากที่หมู่เกาะเติกส์เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1680 จนกระทั่งระหว่าง ค.ศ. 1765-1783 ฝรั่งเศสได้เข้ามาปกครองเกาะนี้ และหลังจากเกิดการปฏิวัติอเมริกัน (ค.ศ. 1775-1783) ชาวอาณานิคมที่ยังภักดีต่อจักรวรรดิอังกฤษก็อพยพมายังอาณานิคมหมู่เกาะต่าง ๆ ทะเลแคริบเบียน และมีส่วนหนึ่งที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนหมู่เกาะเคคอส ฝ้ายกลายเป็นพืชเศรษฐกิจในช่วงเวลาสั้น ๆ ต่อมาในปี ค.ศ. 1799 ทั้งหมู่เกาะเติกส์และเคคอสก็ถูกอังกฤษผนวกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะบาฮามาส

ในปี ค.ศ. 1848 หมู่เกาะเติกส์และเคคอสถูกแบ่งออกเป็นสองอาณานิคมแยกจากกัน แต่อยู่ภายใต้การบริหารจากประธานสภาแห่งหมู่เกาะเติกส์และเคคอสคนเดียว ตำแหน่งนี้มีอยู่จนกระทั่ง ค.ศ. 1873 เมื่อหมู่เกาะทั้งสองถูกรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมจาเมกา และในปี ค.ศ. 1894 ตำแหน่งหัวหน้าเจ้าพนักงานอาณานิคมจึงถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นข้าหลวง ในปี ค.ศ. 1917 นายกรัฐมนตรีโรเบิร์ต บอร์เดนแห่งแคนาดา เสนอให้หมู่เกาะเติกส์และเคคอสรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของแคนาดา แต่นายกรัฐมนตรีเดวิด ลอยด์ จอร์จแห่งอังกฤษปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าว หมู่เกาะนี้จึงยังคงอยู่ในอาณัติของจาเมกา จนกระทั่งในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1959 หมู่เกาะทั้งสองถูกแยกออกมาเป็นอาณานิคมเอกเทศอีกครั้ง โดยตำแหน่งข้าหลวงคนสุดท้ายถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นผู้บริหาร แต่ผู้ว่าราชการจาเมกายังคงเป็นผู้ว่าราชการของหมู่เกาะอยู่ และในวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 หมู่เกาะทั้งสองก็ถูกควบรวมเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสหพันธรัฐเวสต์อินดีส

เมื่อจาเมกาได้รับเอกราชจากอังกฤษในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1962 หมู่เกาะเติกส์และเคคอสก็กลายเป็นอาณานิคมในเครือจักรภพ และตั้งแต่ ค.ศ. 1965 ผู้ว่าราชการบาฮามาสก็ทำหน้าที่ว่าราชการและดูแลกิจการต่าง ๆ ของหมู่เกาะเติกส์และเคคอสเช่นกัน จนกระทั่งบาฮามาสได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1973 หมู่เกาะทั้งสองจึงมีผู้ว่าราชการเป็นของตัวเองในที่สุด (โดยเปลี่ยนชื่อมาจากตำแหน่งผู้ปกครอง) ใน ค.ศ. 1974 สภาชิกสภาผู้แทนราษฎรแคนาดาแมกซ์ ซอลต์สแมนแห่งพรรคประชาธิปไตยใหม่ได้เสนอร่างกฎหมายเพื่อรวมหมู่เกาะนี้เข้ากับแคนาดา แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎรแคนาดา

ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ค.ศ. 1976 เป็นต้นมา หมู่เกาะนี้มีรัฐบาลเป็นของตัวเองโดยมีผู้นำเป็นหัวหน้ารัฐมนตรี ต่อมามีการตกลงกับทางอังกฤษในการร้องขอเอกราชในปี ค.ศ. 1979 โดยตั้งเป้าหมายว่าจะได้รับเอกราชภายใน ค.ศ. 1982 แต่การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ทำให้นโยบายนี้ถูกล้มเลิก และเปลี่ยนนโยบายไปเป็นการเจรจาเพื่อรวมประเทศกับแคนาดาแทน แต่ทางแคนาดาไม่ได้ให้ความสนใจกับเรื่องนี้ ปัญหาทางการเมืองในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานำไปสู่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 2006 และการกลับมาใช้อำนาจปกครองโดยตรงจากสหราชอาณาจักรในปี ค.ศ. 2009


การเมืองการปกครอง

หมู่เกาะเติกส์และเคคอสเป็นอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ถือเป็นอาณานิคมที่ปกครองตนเอง มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในวันที่ 30 สิงหาคม ค.ศ. 1976 ซึ่งปีต่อ ๆ มาได้ประกาศให้วันนี้เป็นวันรัฐธรรมนูญ วันหยุดประจำชาติ แต่ในปี ค.ศ. 1986 รัฐธรรมนูญได้ถูกระงับการใช้และมีการวินิจฉัยจนมีการประกาศใช้อีกครั้งในวันที่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1988 ส่วนรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันถูกประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2006 โครงสร้างกฎหมายของหมู่เกาะนี้มีลักษณะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีตามแบบอังกฤษผสมกับกฎหมายบางส่วนของจาเมกาและบาฮามาส คนทุกเพศที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีสิทธิ์เลือกตั้ง ภาษาอังกฤษเป็นภาษาประจำชาติ และเมืองโคเบิร์นทาวน์เป็นเมืองหลวงของหมู่เกาะเติกส์และเคคอส และมีสถานที่ราชการและรัฐบาลตั้งอยู่ตั้งแต่ ค.ศ. 1766 เป็นต้นมา

นิติบัญญัติ

บริหาร

เนื่องจากเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร จึงมีสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรทรงเป็นประมุข โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นผู้ว่าราชการ ส่วนหัวหน้ารัฐบาลนั้นเป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีประกอบด้วยเจ้าพนักงาน 3 คนที่เป็นสมาชิกโดยตำแหน่ง และสมาชิกสภาอีก 5 คนที่ผู้ว่าราชการทำการจัดสรรและแต่งตั้ง ประมุขเป็นผู้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ และผู้ว่าราชการเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี สภาเดี่ยวของหมู่เกาะเติกส์และเคคอสมีสมาชิกอยู่ 21 คน โดย 15 คนได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน สมาชิกสภามีวาระการทำงาน 4 ปี

ตุลาการ

ในส่วนของฝ่ายตุลาการ อำนาจในการพิจารณาไต่สวน อยู่ภายใต้อำนาจของศาลสูงสุดแคริบเบียนตะวันออก (Eastern Caribbean Supreme Court) มีศาลฎีกาอยู่ในตำแหน่งสูงสุด การยื่นอุทธรณ์นั้นผ่านการพิจารณาจากศาลอุทธรณ์ ส่วนการยื่นฎีกาจะยื่นให้คณะกรรมการฝ่ายตุลาการแห่งองคมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร (Privy Council) เป็นผู้พิจารณา

เศรษฐกิจ

จากข้อมูลใน ค.ศ. 2006[5] ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของหมู่เกาะนี้อยู่ที่ประมาณ 722 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ($17,112 ต่อประชากร) สามารถแบ่งได้ตามประเภทธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับหมู่เกาะดังนี้

  • โรงแรมและภัตตาคาร ร้อยละ 23.27
  • การให้บริการทางการเงิน ร้อยละ 29.64
  • การก่อสร้าง ร้อยละ 48.71
  • การขายปลีกและขายส่ง ร้อยละ 20.89
  • งานบริการสาธารณสุขและงานด้านสังคมสงเคราะห์ ร้อยละ 10.83

รายได้หลักของรัฐบาลได้แก่ภาษีนำเข้า (ร้อยละ 36.51 ของรายได้ทั้งหมด), ภาษีแสตมป์ที่ว่าด้วยการซื้อขายที่ดิน (ร้อยละ 19.79), ค่าใบอนุญาตทำงานและอยู่อาศัย (ร้อยละ 8.93) และภาษีโรงแรม (ร้อยละ 8.84) ดัชนีเงินเฟ้ออยู่ที่ร้อยละ 3.7[6] อัตราการว่างงาน (ของ ค.ศ. 2007) อยู่ที่ร้อยละ 5.4 สกุลเงินที่ใช้กันทั่วไปคือเงินดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็มีการใช้เงินปอนด์สเตอร์ลิงในบางภาคส่วนของรัฐบาลอยู่ (เช่นการจ่ายค่าปรับที่สนามบิน)

สินค้าเกษตรกรรมหลักมีในปริมาณที่ค่อนข้างจำกัด สินค้าดังกล่าวได้แก่ข้าวโพด ถั่ว มันสำปะหลัง และผลไม้จำพวกส้ม สินค้าส่งออกที่สำคัญของเกาะมีอยู่แค่สองชนิดคือปลาและหอยสังข์ โดยส่วนมากจะส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ส่วนสินค้านำเข้าส่วนใหญ่คือสินค้าประเภททุนและอาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศ

การท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐาน

คมนาคมและโทรคมนาคม

คมนาคม

ท่าอากาศยานนานาชาติพรอวิเดนเชียลิสเป็นด่านรองรับชาวต่างชาติแห่งหลักของหมู่เกาะนี้ แต่ในแต่ละเกาะที่มีคนอาศัยอยู่ก็จะมีสนามบินอยู่เช่นกัน รวมแล้วมีอยู่ 7 แห่ง บนหมู่เกาะมีทางหลวงยาว 121 กม. มีท่าเรือนานาชาติอยู่บนเกาะแกรนด์เติร์กและพรอวิเดนเชียลิส และไม่มีทางรถไฟ

การสื่อสารและโทรคมนาคม

ส่วนของการสื่อสารนั้น หมู่เกาะนี้มีสายโทรศัพท์กว่า 3,000 สาย และมีบริการโทรศัพท์มือถือโดยใช้ระบบจีเอสเอ็ม 850 และจีเอสเอ็ม 900 ส่วนซีดีเอ็มเอยังไม่มีการรองรับ ระบบสื่อสารนั้นเชื่อมต่อผ่านสายเคเบิลใต้สมุทรและสถานีรับสัญญาณดาวเทียมอินเทลแซต สื่อวิทยุมีสถานีวิทยุเอเอ็ม 3 สถานีและเอฟเอ็ม 6 สถานี ส่วนสื่อโทรทัศน์มีบริษัทให้บริการเคเบิลทีวีเพียงบริษัทเดียวคือบริษัทเวสต์อินดีสวิดีโอ ซึ่งทำการควบคุมและออกอากาศเพียงช่องเดียว แต่ก็ยังสามารถรับสัญญาณโทรทัศน์จากบาฮามาสได้ มีผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 2 บริษัท ccTLD สำหรับอินเทอร์เน็ตคือ .tc

สื่อสิ่งพิมพ์ชั้นนำบนหมู่เกาะเติกส์และเคคอสมีอยู่ 3 รายคือ Turks and Caicos Weekly News, Turks and Caicos Sun และ Turks and Caicos Free Press โดยทั้งสามเจ้านี้มีลักษณะเป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ทั้งหมด

การศึกษา

เด็กอายุตั้งแต่ 5-17 ปีมีสิทธิ์เรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายและมีข้อผูกมัดที่จะต้องศึกษาให้ครบกำหนดตามกฎหมาย การเรียนในระดับประถมศึกษามี 6 ชั้นปี ส่วนในระดับมัธยมศึกษามีอยู่ 5 ชั้นปีด้วยกัน วิทยาลัยประจำชุมชนหมู่เกาะเติกส์และเคคอสเปิดทำการสอนในระดับอุดมศึกษาให้กับนักเรียนที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาไปแล้ว และยังดูแลโครงการการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่อีกด้วย กระทรวงสุขภาพ การศึกษา เยาวชน กีฬา และสตรีเป็นผู้ดูแลการศึกษาของหมู่เกาะแห่งนี้

ประชากรศาสตร์

ชายหาดแห่งหนึ่งในหมู่เกาะเติกส์

ประชากร

ในเกาะทั้งหมด 30 เกาะ มีผู้อยู่อาศัยอยู่บน 8 เกาะด้วยกัน ประชากรจากการสำรวจกลางปี ค.ศ. 2006 อยู่ที่ประมาณ 32,000 คน หนึ่งในสามมีอายุต่ำกว่า 15 ปี และมีร้อยละ 4 เท่านั้นที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ในปี ค.ศ. 2000 อัตราการเติบโตของประชากรอยู่ที่ร้อยละ 3.55 ต่อปี อัตราการตายของเด็กแรกเกิดอยู่ที่ 18.66 ต่อ 1,000 และอายุขัยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 73.28 ปี เชื้อชาติของประชากรส่วนใหญ่คือชนผิวดำมีอยู่ร้อยละ 90 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 10 มีเชื้อชาติผสม หรือผู้ที่มาเชื้อสายมาจากยุโรปหรืออเมริกาเหนือ[7]

ศาสนา

ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์นิกายอื่น ๆ

ภาษา

ภาษาทางการประจำหมู่เกาะคือภาษาอังกฤษ ประชากรพื้นเมืองพูดภาษานี้ด้วยสำเนียงเฉพาะซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับสำเนียงบาฮามาส และ จาไมกัน[8]

อ้างอิง

  1. http://www.nationalanthems.info/tc.htm
  2. "Change of Governor of Turks and Caicos Islands: Ms Dileeni Daniel-Selvaratnam". GOV.UK (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-12-18.
  3. "Select Committee on Foreign Affairs Seventh Report". สืบค้นเมื่อ 2008-07-06.
  4. ที่มาแต่ละแห่งระบุข้อมูลต่างกันไป CIA World Factbook เก็บถาวร 2016-01-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ระบุว่ามีพื้นที่ 430 ตร.กม., europa.eu says 417 km2 and the Britannica ระบุไว้ว่า "พื้นที่เวลาน้ำขึ้น: 616 ตร.กม. พื้นที่เวลาน้ำลง: 948 ตร.กม. report เก็บถาวร 2011-07-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Turks and Caicos Islands Department of Economic Planning and Statistics ระบุคล้ายกับ Encyclopedia Britannica แต่ข้อมูลละเอียดน้อยกว่า
  5. "Department of Economic Planning & Statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 2009-03-30.
  6. "Department of Economic Planning & Statistics". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-13. สืบค้นเมื่อ 2009-03-30.
  7. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-30. สืบค้นเมื่อ 2009-03-30.
  8. Turks and Caicos Creole English

แหล่งข้อมูลอื่น

เว็บไซต์ทางการ


Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9