สุลต่านสุลัยมาน ชาห์
สุลต่านสุลัยมาน ชาห์ (سلطان سليمان شه) สุลต่านแห่งเมืองสงขลาองค์ที่ 1 เสด็จพระราชสมภพที่เมืองสาเลห์ เกาะชวา ได้รับแต่งตั้งจากราชสำนักอยุธยาเป็นข้าหลวงผู้สำเร็จราชการเมืองสงขลา พ.ศ. 2163 (ต่อจากพระบิดาคือดาโต๊ะโมกอล) ต่อมาได้สถาปนาพระองค์เองเป็นพระเจ้าเมืองสงขลา ครองรัฐสุลต่านซิงกอรา หลังเจ้าพระยากลาโหมทำการปราบดาภิเษกเป็น พระเจ้าปราสาททองในกรุงศรีอยุธยา พ.ศ. 2173 เสด็จสวรรคต พ.ศ. 2211 พระบรมศพยังคงฝังอยู่ที่สุสานที่เขาแดง อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มาจนถึงปัจจุบันนี้ ประวัติสุลต่านสุลัยมาน ชาห์ เป็นบุตรชายคนโตของดาโต๊ะโมกอล ซึ่งอพยพครอบครัวจากเมืองสาเลห์(ชวาภาคกลาง)[1] [2] โดยทางเรือมาตั้งหมู่บ้านที่ตำบลหัวเขาแดง ริมทะเลปากอ่าวสงขลา ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ ในประมาณปีพ.ศ. 2145 สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นข้าหลวงผู้สำเร็จราชการนครสงขลา และดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี พ.ศ. 2163 จึงถึงแก่อสัญกรรม สุลัยมานจึงขึ้นครองนครสงขลาแทนบิดาในปี พ.ศ. 2163 ในฐานะผู้สำเร็จราชการนครสงขลาในสมัยพระเจ้าทรงธรรม ต่อมาในปี พ.ศ. 2173 เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ปราบดาภิเษกเป็นปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ปราสาททอง ทรงพระนามว่า "สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง" (ครองราชย์ พ.ศ. 2173-2199) สุลัยมานเห็นว่ามิใช่เป็นการสืบราชสันตติวงศ์ตามกฏมณเฑียรบาล จึงประกาศแข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา และได้ประกาศเป็นรัฐอิสระตั้งแต่ปี พ.ศ. 2173 [3] ครั้นต่อมาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช(ครองราชย์ พ.ศ. 2199-2231) ในปี พ.ศ. 2223 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยารามเดโช (ชู) เป็นแม่ทัพยกทัพหลวงไปร่วมกับทัพหัวเมืองภาคใต้ มีกองอาสาสมัครโปรตุเกตและดัชท์ร่วมด้วย ยกไปปราบรัฐสุลต่านสงขลาจนได้รับชัยชนะ (ขณะนั้นมุสตอฟาพระราชโอรสพระองค์โตของสุลต่านสุลัยมานเป็นสุลต่านเมืองสงขลาอยู่ เนื่องจากสุลัยมานสวรรคตไปแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2211) ในครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สลายเมืองสงขลาเสียแล้วให้มุสตอฟาย้ายไปอยู่ที่เมืองไชยา อันเป็นหัวเมืองตรีอยู่ทางเหนือของนครศรีธรรมราช ส่วนฮะซันและฮูเซ็นให้อพยพเข้ามาที่กรุงศรีอยุธยา [4] ฮะซันนั้นได้เข้ามารับราชการอยู่ในกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในภายหลังต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา พระยารามเดโช(ชู)เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชเป็นกบฏ พระยาราชวังสัน(มะหมุด)ซึ่งเป็นบุตรชายคงจะอยู่ไม่ได้หรืออาจเกิดเหตุการณ์ใดกับท่าน สมเด็จพระเพทราชาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฮะซันดำรงตำแหน่งพระยาราชวังสันแทน พระยาราชวังสัน(ฮะซัน)มีบุตรชื่อ ขุนลักษมณา(บุญยัง) ซึ่งต่อมาเป็นบิดาของเจ้าพระยาจักรี(หมุด) สายสกุลสุลต่านสุลัยมาน(ชาห์)ผู้สืบทอดบรรดาศักดิ์พระยาราชวังสันตำแหน่งจางวางอาสาจามเดิม ตั้งแต่มีปรากฏในพงศาวดารตั้งแต่สมัยต้นกรุงศรีอยุธยานั้น ผู้ที่มีบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวังสันหรือพระยาราชวังสันล้วนแล้วแต่เป็นมุสลิมชนชาติจาม จนกระทั่งในสมัยสมเด็จพระเพทราชาเมื่อพระยารามเดโช(ชู)เชื้อสายจามแข็งเมือง และบุตรชายคือพระยาราชวังสัน(มะหมุด)ซึ่งเป็นจางวางอาสาจามขณะนั้นคงจะอยู่รับราชการไม่ได้ ตำแหน่งจางวางอาสาจามจึงว่างลง สมเด็จพระเพทราชาจึงทรงแต่งตั้งท่านฮะซัน(บุตรสุลต่านสุลัยมาน ชาห์)เป็นพระยาราชวังสันแทน คงเนื่องจากเห็นว่ามีความชำนาญเรื่องการเดินเรือและเป็นมุสลิมเช่นเดียวกับทหารในกองอาสาจาม สายสกุลของสุลต่านสุลัยมาน ชาห์จึงได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาราชวังสันจางวางอาสาจามตั้งแต่นั้นมา และแม้ว่าพระยาราชวังสัน(ฮะซัน)จะต้องโทษถูกประหารชีวิตในครั้งศึกนครศรีธรรมราชก็ตาม แต่ต่อมาในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าท้ายสระ (ครองราชย์ 2251 - 2275) ตะตาซึ่งเป็นบุตรของพระยาแก้วโกรพพิชัย พระยาแก้วโกรพพิชัยท่านนี้คือฮูเซน บุตรสุลต่านสุลัยมาน ชาห์และเป็นพี่ชายของฮะซัน [5] ก็ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระยาราชวังสัน [6] และต่อมาเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้พระยาราชวังสัน(ตะตา)เป็น พระยาแก้วโกรพพิชัยแทนบิดา ก็โปรดแต่งตั้งให้น้องชายของตะตาเป็นพระยาราชวังสันแทน ตำแหน่งพระยาราชวังสันได้รับการสืบทอดในสายสกุลสุลต่านสุลัยมานจนสิ้นกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี ไม่มีปรากฏว่ามีตำแหน่งพระยาราชวังสัน แต่หากมีการใช้ทัพเรือเป็นทัพหลวงเมื่อใดสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดแต่งตั้งให้เจ้าพระยาจักรี(หมุด)เป็นแม่ทัพเรือทุกครั้งจนกระทั่งเจ้าพระยาจักรี(หมุด)ถึงอสัญกรรม เมื่อสิ้นกรุงธนบุรี จึงเริ่มปรากฏตำแหน่งพระยาราชวังสันอีกครั้ง โดยในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีพระยาราชวังสัน(หวัง) และต่อมา พระยาราชวังสัน(แม้น) พระยาราชวังสัน(ฉิม) พระยาราชวังสัน(นก)และพระยาราชวังสัน(บัว)ซึ่งเป็นพระยาราชวังสันท่านสุดท้ายที่ดำรงตำแหน่งจางวางอาสาจาม ซึ่งทุกท่านล้วนแล้วแต่สืบเชื้อสายมาจากสุลต่านสุลัยมานชาห์ทั้งสิ้น บรรดาโอรสของสุลต่านสุลัยมานชาห์ คือ มุสตอฟา ฮะซัน และฮุเซน ถูกจับขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพวกเขาได้รับพระมหากรุณาธิคุณจนได้รับศักดินาสูงส่ง มุสตอฟา ได้เป็น"พระยาไชยา" ฮะซันได้เป็น"พระยาราชวังสัน" และฮุเซนได้เป็น"พระยาพัทลุง"คนที่ 3 พระราชพงศาวดารเมืองพัทลุงกล่าวถึงประวัติสุลต่านสุลัยมานไว้ว่า พระยาพัทลุง (ขุน) กับพระยาสมุทรบุรานุรักษ์ (หวัง) ได้เล่ามาแล้วว่า ทั้งสองท่านนี้ สืบสายสกุลลงมาจากสุลต่านสุลัยมานซึ่งอพยพเข้ามายึดชัยภูมิตั้งบ้านเมืองที่ตำบลหัวเขาแดงตั้งแต่รัชสมัย สมเด็จพระเอกาทศรถ พ.ศ. 2148 โน้น จริงๆ แล้วผู้นำที่นำพวกพ้องชาวชวาเมืองสาเลห์ หรือสเลมานอพยพลงเรือมาอยู่ที่หัวเขาแดงนั้น คือพระบิดาของสุลต่านสุลัยมาน ชื่อ “ดะโต๊ะ โมกอล” ส่วนสุลต่านสุลัยมานเองขณะนั้นยังเด็กอายุประมาณ 10 ขวบ สาเหตุที่ต้องอพยพมาก็เพื่อหนีจากนักล่าอาณานิคมชาวฮอลันดา ซึ่งกำลังเพิ่งจะเริ่มขยายอำนาจเข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชุมชนของท่านสุลต่านได้พยายามต่อต้านอำนาจของชาวฮอลันดาที่รุกรานเข้ามาครอบครองแล้วพ่ายแพ้ สมัยนั้นเมืองพัทลุงมีแล้ว แต่เมืองขณะนั้นตั้งอยู่ที่เมืองสทิงพระ (สมัยโบราณเป็นเมืองเก่าเรียกว่า"สตรึงเพรียะ" ตั้งแต่อาณาจักรศรีวิชัย ชื่อเสียงจึงฟังเป็นเขมร) ก่อนดะโต๊ะ โกมอล นำครอบครัวพวกพ้องบริวารมาขึ้นที่ชายหาดหัวเขาแดง เป็นเวลาที่กำลังมีพวกโจรสลัดเข้าปล้นเมืองพัทลุง โดยที่เจ้าเมืองไม่อาจต่อสู้ได้ พวกโจรสลัดกระทำย่ำยีโหดเหี้ยม เจ้าเมืองเกรงพระราชอาญาจึงชิงฆ่าตัวตาย ส่วนกรมการเมืองทั้งหมดลงพระราชอาญาจำตรวนคุมตัวเข้ากรุงศรีอยุธยาหมด อีก 4-5 ปีต่อมา เมืองพัทลุงก็โดนโจรสลัดปล้นอีก คราวนี้เป็นพวกโจรสลัดปลายแหลมมะลายู เจ้าเมืองพัทลุงอ่อนแออีกปล่อยให้พวกโจรสลัดกระทำย่ำยีชาวบ้านชาวเมือง จนพวกราษฎรพากันหวาดกลัวไปทั่ว เมื่อพวก ดะโต๊ะ โกมอล พระบิดาของสุลต่านสุลัยมานยกกองเรืออพยพเข้ามาอยู่หัวเขาแดงเป็นการใหญ่ พวกชาวบ้านชาวเมืองจึงกลัวกันมาก ทว่า เมื่อเห็นว่าพวกนี้เข้ามาสร้างเพิงสร้างที่พักอยู่กันอย่างสงบจึงค่อยหายกลัวและกลายเป็นมิตรกัน แม้จะนับถือกันคนละศาสนา เรื่องนี้ มีผู้ที่ไม่ทราบจริง เข้าใจว่า ดะโต๊ะ โมกอล ตลอดจนสุลต่านสุลัยมานผู้ลูกชายเป็นโจรสลัดเข้ามาปล้นและครองเมืองพัทลุงในที่สุด ซึ่งไม่เป็นความจริง ความจริงเป็นดังที่เล่าโดยนำมาจากประวัติเมืองพัทลุง และประวัติของสุลต่านสุลัยมานอันเป็นเอกสารเก่าๆ บ้าง ตำนานบ้างประกอบกันหลายเล่มหลายเรื่อง ทีนี้เล่าต่อไปว่า เพราะเหตุใดสุลัยมานจึงเป็น ‘สุลต่าน’ ( ‘สุลต่าน’ หมายถึงเจ้าหรือกษัตริย์ครองบ้านเมืองแว่นแคว้น ส่วน ‘กาหลิบ’ มีฐานะสูงส่งกว่า เป็นตำแหน่งศักดิ์สิทธิ์เป็นใหญ่ที่สุดของศาสนาด้วยเป็นกษัตริย์ด้วย) คือต่อมาเมื่อทางกรุงศรีอยุธยา เห็นว่า บรรดาพวกชวาที่อพยพมานั้น รักสงบ และเข้มแข็ง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสในสมเด็จพระเอกาทศรฐ) จึงทรงตั้งให้ ดะโต๊ะ โมกอล เป็นข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุง หรือเจ้าเมืองพัทลุงนั่นเอง แต่เรียกกันตามแบบแผนการปกครองในสมัยนั้น ทว่าบทความนี้มิใช่วิชาการจึงขอผ่านไป เมื่อ ดะโต๊ะ โมกอล ถึงแก่อสัญกรรม (พ.ศ. 2163) ในรัชสมัยพระเจ้าทรงธรรม กรุงศรีอยุธยาจึงให้ สุลัยมานบุตรชายคนโตของดะโต๊ะฯ เป็นข้าหลวงใหญ่ พัทลุงสืบต่อสุลัยมานได้ให้ฟารีซี น้องชายคนรองเป็นปลัดเมือง สุลัยมานเป็นข้าหลวงใหญ่ เมืองพัทลุงได้ประมาณสิบปี ระหว่างนี้ก็ได้พัฒนาเมืองหัวเขาแดงให้เจริญเป็นเมืองท่าสำคัญ สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมครองกรุงศรีอยุธยาอยู่ 10 ปี ก็สวรรคต ระหว่างนี้กรุงศรีอยุธยาเกิดเหตุการณ์ยุ่งเหยิงด้วยเรื่องแย่งชิงราชสมบัติ พระราชโอรสของพระเจ้าทรงธรรมยังเล็กๆ สององค์ขึ้นครองราชย์ต่อองค์ใหญ่ ครองอยู่ 1 ปี 7 เดือน องค์เล็กครองอยู่ 6 เดือน ก็โดนเจ้าพระยากลาโหมสุริยวงศ์ จับประหาร แล้วขึ้นครองราชย์เอง ทรงนามว่าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ชาวต่างชาติทั้งหลาย รวมทั้งหัวเมืองปักษ์ใต้ (หรือปากใต้) พากันแข็งเมือง เพราะเห็นว่าพระเจ้าแผ่นดินโหดร้ายปราศจากศีลธรรม ชาวต่างชาตินั้นก็มี ยามาดะ ชาวญี่ปุ่น ซึ่งในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้เป็นออกญาเสนาภิมุข รวมทั้งสุลัยมานข้าหลวงใหญ่เมืองพัทลุง ในที่นี้น่าตั้งข้อสังเกตว่า พระเจ้าทรงธรรมนั้นคงจะ ‘ทรงธรรม’ จริงๆ ตลอดเวลาที่ขึ้นครองราชย์ 26 ปี เพราะดูจะมีคนรักภักดี และซื่อสัตย์ด้วยกันมาก ทั้งๆ ที่ตามพระราชประวัติเคยบวชเป็นพระพิมลธรรมแล้วกบฏจับพระเจ้าศรีเสาวภาคย์ พระราชโอรสพระเอกาทศรฐ ประหารเสีย เมื่อครองราชย์ได้เพียง 1 ปี 2 เดือนเท่านั้นเ กลับมาที่สุลัยมานประกาศแข็งเมืองต่อพระเจ้าปราสาททอง และไม่ขึ้นต่อนครศรีธรรมราชเมืองเอกต่อไป สถาปนาเมืองพัทลุงเป็นรัฐสุลต่านดังนั้น ผู้คนจึงเรียกสุลัยมานว่า สุลต่านสุลัยมาน เพราะปกครองรัฐอยู่ถึง 26 ปี ตลอดระยะเวลาที่พระเจ้าปราสาททองครองราชย์อยู่ โดยทางกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าปราสาททอง ส่งกองทัพมาปราบหลายครั้งก็สู้ไม่ได้พ่ายแพ้ไปทุกครั้ง สุลต่านสุลัยมานได้ให้พระอนุชา คือฟาราซี ปลัดเมืองพัทลุง ไปสร้างเมืองใหม่ที่เขาไชยบุรี (พัทลุงปัจจุบันนี้) ส่วนรัฐสุลต่านละความสำคัญจากเมืองพัทลุงท่าที่สทิงพระ มาปักหลักอยู่หัวเขาแดง ครอบครองไปถึงเมืองเก่าสิงขรา หรือสิงขรานัครัม (คือสงขลา) รวมเป็นรัฐสุลต่านด้วยสุลต่านสุลัยมาน ครองรัฐอยู่จนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระราชโอรสในพระเจ้าปราสาททอง พระโอรสองค์ใหญ่ของสุลต่าน คือ มุสตาฟา ได้เป็นสุลต่านต่อมาจนถึง พ.ศ. 2223 ปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อนเสด็จสวรรคตเพียงปีเดียว รัฐสุลต่านจึงยอมแพ้ (ว่ากันว่าเพราะกลอุบายของพระยารามเดโช เป็นมุสลิมนิกายสุหนี่ หรือสุนี เช่นเดียวกับพวกสุลต่านสุลัยมานซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงส่งมาครองนครศรีธรรมราชเพื่อปราบรัฐสุลต่านเมืองพัทลุง หัวเขาแดงที่มีป้อมแข็งแรงถูกทำลายไปมาก เมืองพัทลุงจึงย้ายไปตั้งที่เขาไชยบุรี ซึ่งฟาราซีหรือเพราซี พระอนุชาสุลต่านสุลัยมานไปสร้างไว้ตามคำสั่งของสุลต่านสุลัยมาน สมเด็จพระนารายณ์ฯ จึงโปรดให้ฟาราซี ดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่ผู้สำเร็จราชการเมืองพัทลุงต่อไป ฟาราซี ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. 2225 ปีเดียวกับสมเด็จพระนารายณ์ฯ สวรรคต ต่อจากนั้นหากมีเชื้อสายสุลต่านสุลัยมาน รับราชการเป็นผู้ใหญ่พอที่จะดำรงตำแหน่งข้าหลวงใหญ่หรือเจ้าเมืองได้ ก็มักจะโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งนี้เห็นได้ว่า ตั้งแต่เมืองพัทลุงตั้งที่เขาไชยบุรี ผู้ดำรงตำแหน่งเจ้าเมือง 8 คน มีเชื้อสายสุลต่านสุลัยมานถึง 4 คน จนถึง พ.ศ. 2310 เจ้าเมืองพัทลุงคนสุดท้ายก่อนกรุงศรีอยุธยาแตก คือพระภักดีเสนา (แขก) เรียกกันว่า ‘แขก’ คงหมายถึงเชื้อสายสุลต่านสุลัยมานผู้เป็นแขกชวานั่นเอง พระภักดีเสนา (แขก) เป็นเหลน (ปู่ทวด) ของสุลต่านสุลัยมาน เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระยาพัทลุง (ขุน หรือ ขุนคางเหล็ก) ได้เป็นเจ้าเมืองพัทลุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2306-2310) เมื่อกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าล้อม ถูกเรียกให้ไปรบพม่าป้องกันกรุง ถึงแก่ความตายในการรบ ส่วนพระยาพัทลุง (ขุน) เป็นบุตรชายของพระยาราชบังสัน (ตะตา) พระยาราชบังสัน (ตะตา) เป็นเจ้าเมืองพัทลุงคนที่ 7 พระยาราชบังสัน (ตะตา) เป็นบุตรชายของพระยาจักรีเจ้าเมืองพัทลุง (ดะโต๊ะ ฮูเซน) เจ้าเมืองพัทลุง คนที่ 3 ดะโต๊ะ ฮูเซน เป็นบุตรชายของสุลต่านสุลัยพระยาพัทลุง (ขุน) นั้น มีประวัติว่าเกิดและเติบโตในกรุงศรีอยุธยา จึงพูดภาษาปักษ์ใต้ไม่เป็น เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กเด็กชาในแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่ออายุ 14 ปี ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกได้เข้าถวายตัวช่วยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชเป็นครั้งแรก ตามเสด็จลงไปปราบก๊กเจ้านครศรีธรรมราช พ.ศ. 2312 ขณะนั้นอายุ 35 ปี (เกิด พ.ศ. 2277) จึงได้เป็นพระยาภักดีนุชิตสิทธิสงคราม ผู้ช่วยราชการนครศรีธรรมราช ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2315 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดฯให้ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง) ในราชทินนาม พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นเดียวกับบิดา พระยาราชบังสัน (ตะตา) ซึ่งมีราชทินนามว่า พระยาแก้วโกรพพิชัยฯ เช่นกัน ทว่าสร้อยต่างกัน ภายหลังกรุงศรีอยุธยาแตก พระยาพัทลุง (ขุน) กับพี่น้องญาติๆ ได้พากันอพยพมาอยู่หมู่บ้านบริเวณใกล้ๆ วัดหนัง (วัดราชสิทธาราม) ไม่ห่างไกลกันนักกับพวกญาติๆ เชื้อสายเดียวกัน ซึ่งตั้งเคหสถานอยู่ใกล้วัดหงส์รัตนาราม ในคลองบางกอกใหญ่ หรือคลองบางหลวง พระยาพัทลุง (ขุน) ได้คุณหญิงแป้น น้องร่วมบิดามารดากับท้าวทรงกันดาล(ทองมอญ)เป็นภรรยา สกุลแขกเชื้อสายสุลต่านสุลัยมาน สกุลมอญ สกุลไทยชาวสวนบางเชือกหนัง จึงพัวพันไปมาหาสู่สนิทคุ้นเคยกัน ผู้สืบตระกูล พระยาพัทลุง (ขุน) ได้รับพระราชทานนามสกุลในรัชกาลที่ 6 ว่า ‘ณ พัทลุง’ อ้างอิง
|