Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

สุรพล สมบัติเจริญ

สุรพล สมบัติเจริญ
ภาพในค่ำวันที่ 14 สิงหาคม 2511
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดลำดวน สมบัติเจริญ
เกิด25 กันยายน พ.ศ. 2473
อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 (37 ปี)
อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย
แนวเพลงลูกทุ่ง
อาชีพนักร้อง, นักแต่งเพลง, ทหารอากาศ, นักดนตรี, นักจัดรายการวิทยุ
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2496 – 2511
ค่ายเพลงวงดนตรีลูกทุ่ง สุรพล สมบัติเจริญ

สุรพล สมบัติเจริญ หรือ พันจ่าอากาศโท ลำดวน สมบัติเจริญ (25 กันยายน พ.ศ. 2473 - 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511) เป็นคนจังหวัดสุพรรณบุรีโดยกำเนิด เป็นนักร้องเพลงลูกทุ่ง ผู้ยิ่งใหญ่ของเมืองไทย ท่านได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญมากที่สุดคนหนึ่งของวงการลูกทุ่งไทย รวมถึงได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชาเพลงลูกทุ่ง"

ประวัติ

ลำดวน สมบัติเจริญ อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 125 ถนนนางพิม ตำบลท่าพี่เลี้ยง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี ฐานะทางครอบครัวแต่เดิมค่อนข้างดี คุณพ่อรับราชการอยู่แผนกสรรพากรจังหวัด ชื่อ เปลื้อง สมบัติเจริญ ส่วนคุณแม่ชื่อ วงศ์ สมบัติเจริญ นอกจากเป็นแม่บ้านแล้วยังค้าขายเล็ก ๆ น้อย ๆ ภายในบ้านกลางใจเมืองสุพรรณบุรี สุรพลเป็นบุตรชาย คนที่ 2 ในบรรดาพี่น้องท้องเดียวกัน 6 คน มีดังนี้ มีพี่ชายคนโตชื่อว่า "อุดม สมบัติเจริญ" มีน้องชาย 2 คน ชื่อว่า "จินดา-สมาน สมบัติเจริญ" และมีน้องสาวอีก 2 คน ชื่อว่า "เฉลียว-ไสว สมบัติเจริญ

หลังจบชั้นประถมจาก โรงเรียนประสาทวิทย์ ก็มาเรียนที่โรงเรียนกรรณสูตศึกษาลัยจนจบมัธยมปีที่ 6 เมื่อเรียน จบที่สุพรรณบุรีคุณพ่อก็จัดส่งสุรพลเข้ามาเรียนต่อที่โรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย แต่สุรพลก็เรียนได้เพียงปีครึ่งก็ต้องลาออกเพราะใจไม่รักแต่ด้วยไม่อยากขัดใจคุณพ่อ การเรียนก็เลยไม่ดี เขาไปสมัครเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนสุพรรณกงลิเสีย เสี้ยว เป็นโรงเรียนจีน แต่สอนอยู่ได้แค่ครึ่งปีก็ลาออก ด้วยใจไม่ได้รักอาชีพนี้อย่างจริงจัง

เขาได้สมัครเข้าไปเป็นนักเรียนจ่าพยาบาล อยู่ที่โรงเรียนพยาบาล กรมแพทย์ทหารเรือ กองทัพเรือ ตั้งอยู่ที่ปากคลองมอญ (ปัจจุบัน เป็นศูนย์ทันตกรรม กรมแพทย์ทหารเรือ) ด้วยความที่ชื่นชอบการร้องเพลงเป็นอย่างยิ่ง จึงหนีออกไปร้องเพลงยามค่ำคืนอยู่บ่อยครั้ง แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น เมื่อชะตาเขาพลิกผกผัน หลังจากเขาได้หนีราชการทหารเรือ จนได้รับโทษถูกคุมขัง เขาได้กลายเป็นขวัญใจของนักโทษ ด้วยการร้องเพลงกล่อมก่อนนอน เมื่อได้รับอิสรภาพ สุรพลได้ทิ้งเส้นทางทหารเรือ สุรพลมีโอกาสได้ร้องเพลงในงานสังสรรค์กองทัพอากาศ น้ำเสียงของเขาได้โดนใจ เรืออากาศเอกปราโมทย์ วัณณะพงษ์ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งค่ายมวยและหัวหน้าคณะนักมวยของกองทัพอากาศชื่อ ค่ายมวยเลือดชาวฟ้า ดังนั้นในวันรุ่งขึ้น สุรพล สมบัติเจริญจึงถูกเรียกตัวให้เข้าพบ และยื่นโอกาสให้เขาได้เข้าไปรับราชการประจำกองกองดุริยางค์ทหารอากาศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่เขาได้รับความรู้เกี่ยวกับการดนตรีและร้องเพลง ซึ่งการกระทำนี้จึงเป็นจุดพลิกผันครั้งสำคัญของชีวิต ที่ทำให้ สุรพล สมบัติเจริญ ได้ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ว่าเป็น "ราชาเพลงลูกทุ่งคนแรกของเมืองไทย"

ในปี พ.ศ. 2496 เพลง 'น้ำตาลาวเวียง' เป็นเพลงแรกที่ได้บันทึกเสียง แต่เพลงที่ทำให้เป็นที่รู้จักทั่วไปคือเพลง 'ชูชกสองกุมาร' หลังจากนั้นชื่อเสียงของสุรพล ก็เป็นที่นิยมมากขึ้น และมีผลงานชุดใหม่ออกมาเรื่อย ๆ เช่น 'แฟนจ๋า' 'รักน้องบ่มีเงินแต่ง' 'ของปลอม' ' หนาวจะตายอยู่แล้ว' 'หัวใจผมว่าง' 'สวยจริงน้อง' 'สุรพลมาแล้ว' 'น้ำตาจ่าโท' 'มอง' และ อีกหลายเพลง

และทำให้คนรู้จักความเป็น "สุรพล สมบัติเจริญ" อย่างแท้จริงในเวลาต่อมาก็คือเพลง "ลืมไม่ลง" และเมื่อชื่อเสียงเริ่มเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป สุรพลจึงมีงานร้องเพลง นอกสังกัดถี่ขึ้นเป็นลำดับ อาทิ ร่วมร้องกับวง "แมมโบ้ร็อค" ของ เจือ รังแรงจิตร วง "บางกอกช่ะช่ะช่ะ" ของ ชุติมา สุวรรณรัตน์ และ สมพงษ์ วงษ์รักไทย ส่วนวงดนตรีที่สุรพลร้องด้วยมากที่สุดคือ วง " ชุมนุมศิลปิน " ของ จำรัส วิภาตะวัตร

สุรพล สมบัติเจริญ มีความเคารพต่อคุณประสาน ศิลป์จารุ (ทองแป๊ะ) เป็นอย่างมาก เพราะเป็นผู้ผลักดันให้สุรพลมีความมุ่งมั่นในวงการลูกทุ่งยิ่งขึ้นไปอีก เพราะคุณประสานเป็นผู้นำเพลงของสุรพลไปเปิดในสถานีวิทยุกระจายเสียงวรจักร ซึ่งถือเป็นการเปิดตัวเพลงลูกทุ่งในสถานีวิทยุเป็นครั้งแรกในสมัยนั้น และเป็นจุดเริ่มต้นให้เพลงลูกทุ่งได้รับการยอมรับ และมีการพัฒนาเป็นอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน

ตลอดชีวิตของการเป็นนักร้อง สาเหตุที่ทำให้ "สุรพล" ได้รับการยอมรับว่าเป็น "ราชาเพลงลูกทุ่งคนแรกของเมืองไทย" เพราะความอัจฉริยะในตัวเองที่สามารถแต่งเพลง การขับร้องที่ต่างจากนักร้องอื่นๆ มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวเอง เป็นคนแรกคนเดียวที่สามารถสร้างปั้นจำนวนลูกศิษย์มากมายทั้งนักร้องชาย-หญิง และยังคงเป็นที่จดจำจนทุกวันนี้ก็มี [1]อาทิ หนึ่งในดำเนิน , ดำเนินจ๋า , แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง , หัวใจเดาะ , ของปลอม , น้ำตาจ่าโท , สนุ๊กเกอร์ , วันพระอย่าเว้น , ยิกเท๊าโหละซัว , ดรรชนีไฉไล , 16 ปีแห่งความหลัง และอีกหลาย ๆ บทเพลง

นอกจากจะแต่งเอง ร้องเอง "สุรพล" ยังทำหน้าที่ครูแต่งเพลงให้คนอื่นร้องจนโด่งดังอีกด้วย อย่างเช่น ผ่องศรี วรนุช , ก้าน แก้วสุพรรณ, ไพรวัลย์ ลูกเพชร , ละอองดาว สกาวเดือน , ยงยุทธ เชี่ยวชาญชัย , เมืองมนต์ สมบัติเจริญ, กังวาลไพร ลูกเพชร , ก้องไพร ลูกเพชร , พนมไพร ลูกเพชร , ศักดิ์ชาย วันชัย , มนต์ไพร ลูกราชบุรี , ด.ช.สำราญ ภักดีอาษา

"สุรพล สมบัติเจริญ" ถูกลอบยิงเสียชีวิต หลังจากการแสดงบนเวทีที่วิกแสงจันทร์ บริเวณริมถนนมาลัยแมน ตรงข้ามวัดหนองปลาไหล ต.ทุ่งกระพังโหม อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 (เวลา 01.00 น. ของวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2511) เมื่ออายุเพียง 37 ปี

ผลงานเพลงที่ศิลปินคนอื่น ๆ นำไปขับร้องใหม่

  1. หนาวนี้พี่ตายแน่

จากอัลบั้ม 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2545)

  1. สาวสวนแตง

จากอัลบั้ม 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2545)

  1. หงส์ปีกหัก

จากอัลบั้ม 30 ปี สุรพล สมบัติเจริญ ชุดที่ 3 (พ.ศ. 2545)

  1. สิบหกปีแห่งความหลัง
  2. หนาวจะตายอยู่แล้ว
  3. มอง
  4. เดือนหงายที่ริมโขง
  5. รักน้องบ่มีเงินแต่ง
  6. คนใต้ใจซื่อ
  7. น้ำค้างเดือนหก
  8. ดำเนินจ๋า
  9. หงส์ปีกหัก
  10. ลูกทุ่งเลือดสุพรรณ
  11. หัวใจเดาะ
  12. สนุกเกอร์
  13. เสียวไส้
  14. บ้านนี้ฉันรัก
  15. สุรพลมาแล้ว
  16. น้ำตาจ่าโท
  17. เป็นโสดทำไม
  18. น้ำตาผัว
  19. ดอกฟ้าเมืองไทย
  20. เสน่ห์สาวเวียงพิงค์
  21. รักจริงหรือเล่น
  22. ไหนว่าจะจำ
  23. เดือนจ๋า
  24. แฟนจ๋า
  25. มนต์รักป่าซาง
  26. สวยจริงน้อง
  27. สาวหน้าฝน
  28. ลืมไม่ลง
  29. ของปลอม
  30. รำวงออกพรรษา
  31. แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง
  32. แก้วลืมดง
  33. อาทิตย์อุทัยรำลึก

จากอัลบั้ม ดีที่สุด ชุดที่ 1 - สุรพล สมบัติเจริญ (พ.ศ. 2545)

  1. แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ็กนั้ง

จากอัลบั้ม ใจสยิว (พ.ศ. 2525)

  1. ลูกทุ่งเลือดสุพรรณ
  2. ไหนว่าจะจำ
  3. คนหัวล้าน
  4. เป็นโสดทำไม
  5. สาวสวนแตง
  6. หัวใจผมว่าง
  7. เสน่ห์สาวเวียงพิงค์
  8. เขมรไล่ควาย
  9. น้ำตาผัว
  10. ควายหาย

จากอัลบั้ม แม่ไม้เพลงไทย (พ.ศ. 2533)

  1. หงส์ปีกหัก
  2. เดือนจ๋า
  3. น้ำค้างเดือนหก

จากอัลบั้ม หัวแก้วหัวแหวน ชุดที่ 4 มาลัยดอกรัก (พ.ศ. 2538)

  1. บ้านนี้ฉันรัก

จากอัลบั้ม หัวแก้วหัวแหวน ชุดที่ 5 สมัครรักสมัครแฟน (พ.ศ. 2538)

  1. ลืมไม่ลง
  2. หัวใจเดาะ
  3. สาวสวนแตง
  4. น้ำตาผัว
  5. แก้วลืมดง
  6. ผู้แพ้รัก
  7. เป็นโสดทำไม
  8. เดือนจ๋า
  9. กว๊านพะเยา
  10. ดรรชนีไฉไล

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2543)

  1. ของปลอม
  2. ดอกฟ้าเมืองไทย
  3. ดำเนินจ๋า
  4. หนาวจะตายอยู่แล้ว
  5. เขมรไล่ควาย
  6. แซ่ซี้อ้ายลื้อเจ๊กนั้ง
  7. แฟนจ๋า
  8. สวยจริง ๆ
  9. บ้านนี้ฉันรัก
  10. รักน้องบ่มีเงินแต่ง

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 2 (พ.ศ. 2543)

  1. หัวใจผมว่าง
  2. สวยจริงน้อง
  3. แน่ข้างเดียว
  4. หญิงกับเสือ
  5. สนุ๊กเกอร์
  6. สาวหน้าฝน
  7. หงส์ปีกหัก
  8. วันพระอย่าเว้น
  9. ใครจะเป็นแฟนผมบ้าง

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 3 (พ.ศ. 2543)

  1. มอง
  2. สุรพลมาแล้ว
  3. พ่อค้าขนมปลากริม
  4. คนใต้ใจซื่อ
  5. ยิ้มเห็นแก้ม
  6. รักริงโง
  7. ยิกเท้าโหละซัว
  8. อัฐยายขนมยาย
  9. ลูกแก้วเมียขวัญ

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 4 (พ.ศ. 2543)

  1. เสน่ห์สาวเวียงพิงค์
  2. ลูกทุ่งเลือดสุพรรณ
  3. ตา
  4. คนหัวล้าน
  5. ควายหาย
  6. เรื่องของแฟนเพลง
  7. ป่าซาง
  8. เสียวไส้
  9. รำวงออกพรรษา
  10. มาช่วยกันผลาญ

จากอัลบั้ม มนต์เพลงสุรพล ชุดที่ 5 (พ.ศ. 2543)

  1. เป็นโสดทำไม
  2. สาวสวนแตง

จากอัลบั้ม ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน ชุดที่ 7 (พ.ศ. 2535)

  1. เป็นโสดทำไม

จากอัลบั้ม พยงค์ มุกดา ฝากไว้ในแผ่นดิน ชุดที่ 2 จากใจผูกพัน (พ.ศ. 2547)

  1. สาวสวนแตง

จากอัลบั้ม พยงค์ มุกดา ฝากไว้ในแผ่นดิน ชุดที่ 2 จากใจผูกพัน (พ.ศ. 2547)

  1. เดือนหงายที่ป่าซาง
  2. ร่มฟ้าป่าซาง

รวมเพลงอมตะยอดรัก 85 ชุดที่ 1 (พ.ศ. 2528)

  1. นํ้าตาลกันแก้ว
  2. คำเตือนของพี่

จากอัลบั้ม ท็อปฮิตลูกทุ่งมาตรฐาน ชุดที่ 16 (พ.ศ. 2538)

  1. เป็นโสดทำไม
  2. สาวสวนแตง

จากอัลบั้ม ยอดรัก 43 (พ.ศ. 2543)

  1. รักพี่ต้องหนีพ่อ
  2. ขันหมากมาแล้ว
  3. โป๊ยเซียนเสี่ยงทาย
  4. สัจจะชาวนา
  5. ไหนว่าจะจำ

จากอัลบั้ม เปิดกรุเพลงดัง สุรพล สมบัติเจริญ (พ.ศ. 2548)

  1. น้ำตาจ่าโท

จากอัลบั้ม คำภีร์ลูกทุ่ง (พ.ศ. 2545)

  1. เป็นโสดทำไม
  2. สาวสวนแตง

จากอัลบั้ม หยิบสิบ (พ.ศ. 2533)

  1. หัวใจเดาะ
  2. น้ำตาจ่าโท
  3. สิบหกปีแห่งความหลัง
  4. มอง
  5. รักจริงหรือเล่น

จากอัลบั้ม หัวใจเดาะ (พ.ศ. 2540)

• จอย บียอนด์

  1. เสียงเรียกจากหนุ่มไทย
  2. ไหนว่าไม่ลืม
  3. หัวใจผมว่าง มิวสิควีดีโอนำแสดงโดย อินทัช เหลียวรักวงศ์ และ นรินทร์โชติ วชิรธรนิยมกุล [2]

จากอัลบั้ม โปรเจ็กต์พิเศษ 90 ปี สุรพล สมบัติเจริญ [3] (พ.ศ.2567)

รางวัลที่ได้รับ

  • วันที่ 12 ก.ย. 2532 ได้รับรางวัลพระราชทานเพลงดีเด่นจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ครั้งที่ 1 "สาวสวนแตง" คว้าเพลงดีเด่น แต่งโดยครูพยงค์ มุกดา แต่งเพลงดีเด่นในเพลง "เด็กท้องนา" ขับร้องโดย ละอองดาว สกาวเดือน และเพลง "ไหนว่าไม่ลืม" ขับร้องโดย ผ่องศรี วรนุช ส่วนเพลงที่ได้รับรางวัลร้อง-แต่งเองคือ "16 ปีแห่งความหลัง"
  • วันที่ 7 ก.ค. 2534 ได้รับรางวัลพระราชทานแต่งเพลงดีเด่นจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่งไทย ภาค2 ในเพลง "ด่วนพิศวาส" ขับร้องโดย ผ่องศรี วรนุช และ คำเตือนของพี่ ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร
  • วันที่ 18 ก.ย. 2537 ได้รับรางวัลพระราชทานเกียรติบัตรจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในการจัดงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกทุ่ง สืบสานคุณค่าวัฒนธรรม สองรางวัลในเพลง น้ำตาเมียหลวง ขับร้องโดย ผ่องศรี วรนุช และเพลง เสียวไส้ ซึ่งสุรพลแต่ง และขับร้องเอง
  • เมื่อ 18 ต.ค. 2537 เพลงรอยไถแปร และน้ำตาลก้นแก้วได้รับการคัดเลือกเป็นเพลงลูกทุ่งดีเด่นที่ส่งเสริมวัฒนธรรมไทย ขับร้องโดย ก้าน แก้วสุพรรณ ส่วนเพลงกว๊านพะเยาได้รับรางวัลเดียวกัน แต่เป็นการขับร้องโดย สุรพล สมบัติเจริญ

ครอบครัว

สุรพล สมบัติเจริญ สมรสกับ ศรีนวล สมบัติเจริญ (ปัจจุบันเสียชีวิตแล้ว) มีบุตร-ธิดารวม 5 คน ดังนี้

หลังจากการเสียชีวิต

เมื่อ สุรพล สมบัติเจริญ เสียชีวิตได้เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ณ วิกแสงจันทร์ จ.นครปฐม โดยบิดาของสุรพล (เปลื้อง สมบัติเจริญ) ได้ลงทุนสร้างหนังเรื่อง สุรพล ลูกพ่อ เพื่อเป็นอนุสรณ์แต่ราชาเพลงลูกทุ่งและระลึกถึงสุรพล ในนาม สมบัติเจริญ ภาพยนตร์ โดยมีครูรังสี ทัศนพยัคฆ์ กำกับการแสดง

ภาพยนตร์ สุรพลลูกพ่อ นำแสดงโดย บรรจบ ใจพระ​ (ปัจจุบันชื่อ บรรจบ เจริญพร) คู่กับ โสภา สถาพร โดยเปลื้อง สมบัติเจริญ ก็ได้นำครอบครัวของตน ไปเข้าร่วมแสดงในเรื่องนี้ด้วย (ยกเว้นศรีนวล สมบัติเจริญ ภรรยา , ลูกสะใภ้และสมาชิกวงดนตรีของสุรพล) ที่ไปร่วมงานหนังอัตชีวิตของสุรพลในอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งฉายพร้อมกันในช่วงปลายปี พ.ศ. 2511

และภาพยนตร์เรื่อง 16 ปีแห่งความหลัง เข้าฉายเมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2511 นำแสดงโดย มิตร ชัยบัญชา , เพชรา เชาวราษฎร์ โดย ทองใบ รุ่งเรือง​ (คนสนิทของสุรพล) ก็ได้ร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย[5]

ต่อมา ครอบครัวสมบัติเจริญ ได้สร้างหอระฆังมูลค่าประมาณ 2 แสนบาท มอบถวายแก่วัดไชนาวาส ถ.ประชาธิปไตย ต.ท่าพี่เลี้ยง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี พร้อมกับปั้นรูปปั้นสุรพลตั้งไว้บนหอระฆังดังกล่าว[6]

อ้างอิง

  1. ชมรมคนรักครูสุรพล
  2. "ไทยบันเทิง - อินดี้ อินทัช - หนักแน่น นรินทร์โชติ ร่วมแสดง MV เพลงหัวใจผมว่าง | ไทยบันเทิง | 8 ส.ค. 67 | Thai PBS รายการไทยพีบีเอส". Thai PBS.
  3. Thailand, BECi Corporation Ltd. "รำลึกครบรอบ 90 ปี 'ครูสุรพล' เตรียมจัดงานยิ่งใหญ่ 9 วัน 9 คืน นำทัพศิลปินยุคใหม่ถ่ายทอดเพลงพ่อครู". CH3Plus.com.
  4. ""สุรเดช"ทายาท"ครูสุรพล สมบัติเจริญ"เสียชีวิตจากโรคไต". mgronline.com. 2023-06-24.
  5. ย้อนรอยราชาลูกทุ่ง อนุสรณ์ สุรพล ที่ถูกลืม
  6. "ระลึกถึงครูสุรพล สมบัติเจริญ ณ วัดไชนาวาส". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-09-18. สืบค้นเมื่อ 2020-07-08.

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9