Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
The Secretariat of the Prime Minister
ตราประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ภาพรวมสำนัก
ก่อตั้ง9 ธันวาคม พ.ศ. 2476; 91 ปีก่อน (2476-12-09)
สำนักก่อนหน้า
  • สำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2476 – พ.ศ. 2487)
  • สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2487 – พ.ศ. 2502)
  • สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2517)
  • สำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2502 – พ.ศ. 2511)
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจนายกรัฐมนตรี
สำนักงานใหญ่ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
บุคลากร673 คน (พ.ศ. 2565)[1]
งบประมาณต่อปี7,207,600,900 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารสำนัก
ต้นสังกัดสำนักสำนักนายกรัฐมนตรี
เว็บไซต์เว็บไซต์ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (อังกฤษ: The Secretariat of the Prime Minister) เป็นส่วนราชการ ระดับกรม ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี มี ภารกิจเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการด้านการเมือง ด้านวิชาการ ด้านเลขานุการ ตลอดจนการบริหารราชการของนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รวมทั้งข้าราชการการเมืองในสำนักเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล[3]

ประวัติ

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[4] ก่อตั้งนับตั้งแต่ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 ที่คณะราษฎรได้มีประกาศประธานคณะกรรมการราษฎรเพื่อยุบเลิกกรม ราชเลขาธิการและได้มีการออกพระราชบัญญัติว่าด้วยธรรมนูญราชการฝ่ายพลเรือน พ.ศ. 2476 ก่อตั้งสำนักงานรัฐมนตรีขึ้นในกระทรวงต่างๆ เพื่อสนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะงานทางการเมืองภารกิจในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสำนักงานเลขานุการนายกรัฐมนตรีที่ทำหน้าที่สำนักงานรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น มีส่วนราชการในสังกัดเพียง 2 แผนก คือ แผนกการเมือง และแผนกตรวจสอบเรื่องราวและความเห็น (ปัจจุบัน คือ กองประสานงานการเมือง และกองงานนายกรัฐมนตรี ของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) และต่อมาได้เพิ่มบทบาทมากขึ้นและเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กระทั่งปี พ.ศ. 2502 ได้มีการแยกหน่วยงานที่ทำหน้าที่เลขานุการนายกรัฐมนตรีออกเป็น 2 หน่วยงาน คือ สำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี และสำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี แต่ในปี พ.ศ. 2508 จึงได้ยุบรวมสำนักบริหารของนายกรัฐมนตรี เข้ารวมกับสำนักทำเนียบนายกรัฐมนตรี และได้เปลี่ยนชื่อเป็น สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2517 จนถึงปัจจุบัน

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง เป็นข้าราชการการเมือง และรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายบริหาร และผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ[5] ปัจจุบันมีพรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง มีจำนวนเท่ากับจำนวนรองนายกรัฐมนตรี บวกสาม[6]

ผู้บริหารในปัจจุบัน

ลำดับ ชื่อ ตำแหน่ง หมายเหตุ
1 พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
2 ชนิดา เกษมศุข รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)
3 ชยันต์ เมืองสง[7] รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)
4 ว่าง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายบริหาร)
5 สมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)
6 ณณัฏฐ์ หงษ์ชูเวช รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)
7 ธีราภา ไพโรหกุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง)
8 ธิติวัฐ อดิศรพันธ์กุล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(ภูมิธรรม เวชยชัย)
9 ศึกษิษฏ์ ศรีจอมขวัญ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ)
10 รังสรรค์ วันไชยธนวงศ์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(อนุทิน ชาญวีรกูล)
11 ชื่นชอบ คงอุดม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(พีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
12 พงศ์ศรัณย์ อัศวชัยโสภณ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(พิชัย ชุณหวชิร)
13 ฉัตริน จันทร์หอม รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) ประจำรองนายกรัฐมนตรี
(ประเสริฐ จันทรรวงทอง)
14 รัตนา สามารถ ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
15 เบญจภา ศรีสุรัตน์ ผู้ช่วยเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

หน่วยงานในสังกัด

  • สำนักงานเลขาธิการ
  • กองงานนายกรัฐมนตรี
  • กองพิธีการ
  • สำนักโฆษก
  • กองประสานงานการเมือง
  • กองประสานนโยบายและยุทธศาสตร์
  • กองการต่างประเทศ
  • กองสถานที่ ยานพาหนะ และรักษาความปลอดภัย
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  • กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร
  • กลุ่มตรวจสอบภายใน

อ้างอิง

  1. รายงานประจำปี 2565 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี[ลิงก์เสีย]
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๖, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. "สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2010.
  4. อภิชาติ คุณวัฒน์บัณฑิต, สำนักงานรัฐมนตรี : หน่วยงานในระบอบใหม่เพื่อขับเคลื่อนประชาธิปไตยสยาม, เอกสารวิชาการส่วนบุคคล:สถาบันพระปกเกล้า
  5. "พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 12 กันยายน 2014. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014.
  6. "คู่มือข้าราชการการเมือง" (PDF). สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2562. p. 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-06. สืบค้นเมื่อ 2023-06-21.
  7. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 269 ง 27 กันยายน พ.ศ. 2567


Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9