บทความนี้เกี่ยวกับสามเหลี่ยมทองคำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับความหมายอื่น ดูที่
สามเหลี่ยมทองคำ
สามเหลี่ยมทองคำ (พม่า: ရွှေတြိဂံ နယ်မြေ, ออกเสียง: [ʃwè tɹḭɡàɰ̃ nɛ̀mjè]; ลาว: ສາມຫຼ່ຽມທອງຄຳ) ป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ประมาณ 200,000 ตารางกิโลเมตร (77,000 ตารางไมล์)[1] เป็นพื้นที่พรมแดนระหว่างประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว จุดบรรจบระหว่างแม่น้ำรวกกับแม่น้ำโขง[2][3] คำว่า "สามเหลี่ยมทองคำ" (อังกฤษ: Golden Triangle) ถูกคิดขึ้นโดยมาร์แชลล์ กรีนเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2514 ในงานแถลงข่าวเกี่ยวกับการค้าฝิ่น[4][5][1] ปัจจุบันฝั่งไทยจุดบรรจบกันของแม่น้ำหรือ "สบรวก" ได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยมีพิพิธภัณฑ์บ้านฝิ่น และหอฝิ่นอุทยานสามเหลี่ยมทองคำ และไม่มีการปลูกฝิ่น[6]
สามเหลี่ยมทองคำเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีการผลิตฝิ่นที่ใหญ่ที่สุดในโลกนับตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1950 และยังเป็นแหล่งที่มาของเฮโรอีนที่ใหญ่ที่สุดในโลก จนกระทั่งช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 เมื่อการผลิตฝิ่นในประเทศอัฟกานิสถานเพิ่มขึ้น[7] ประเทศพม่าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสามเหลี่ยมทองคำ เป็นแหล่งผลิตฝิ่นรายใหญ่เป็นอันดับสองของโลกรองจากอัฟกานิสถานจนถึง พ.ศ. 2565 ซึ่งผลิตฝิ่นประมาณร้อยละ 25 ของปริมาณฝิ่นทั้งหมดของโลก ในขณะที่การปลูกฝิ่นในประเทศพม่าลดลงเมื่อเทียบเป็นรายปีตั้งแต่ พ.ศ. 2558 ส่วนอัฟกานิสถานพื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นร้อยละ 33 เป็นจำนวน 40,100 เฮกตาร์ (99,000 เอเคอร์) ควบคู่ไปกับศักยภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 88 เป็น 790 ตัน ใน พ.ศ. 2565 ตามข้อมูลล่าสุดการสำรวจฝิ่นในประเทศพม่า พ.ศ. 2565 ของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC)[8] และยังได้เตือนว่าการผลิตฝิ่นในประเทศพม่าอาจเพิ่มขึ้นอีกครั้งหากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดจากโควิด-19 และการรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 ยังคงดำเนินต่อไป โดยส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและความมั่นคงเป็นอย่างมากสำหรับภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่[9]
ใน พ.ศ. 2566 ประเทศพม่ากลายเป็นผู้ผลิตฝิ่นรายใหญ่ที่สุดในโลก หลังจากผลิตฝิ่นได้ประมาณ 1,080 ตัน ตามรายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ[10] ในขณะที่การปรามอย่างรุนแรงจากกลุ่มตอลิบานทำให้การผลิตฝิ่นในอัฟกานิสถานลดลงประมาณ 95% เหลือ 330 ตัน ในปีเดียวกัน[11]
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 Lintner, Bertil (November 28, 2022). "Guide to Investigating Organized Crime in the Golden Triangle". Global Investigative Journalism Network (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-31.
- ↑ Sen, S. (1991). "Heroin Trafficking in the Golden Triangle". Police Journal. 64 (3): 241. doi:10.1177/0032258X9106400310. S2CID 149244027. สืบค้นเมื่อ 19 June 2023.
- ↑ "Golden Triangle". Tourism Authority of Thailand (TAT). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 July 2019. สืบค้นเมื่อ 4 April 2018.
- ↑ Chouvy, Pierre-Arnaud (2010). Opium: Uncovering the Politics of the Poppy (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Press. pp. xii, 23. ISBN 978-0-674-05134-8.
- ↑ Staff Report on Drug Abuse in the Military (ภาษาอังกฤษ). Washington, DC: U.S. Government Printing Office. 1971. pp. iii.
- ↑ Fuller, Thomas (2007-09-11). "The drug-running is gone, but the tourists still flock". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 2023-12-31.
- ↑ "Afghanistan again tops list of illegal drug producers". Washington Times. 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 January 2017. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
- ↑ Myanmar Opium Survey 2021: Cultivation, Production and Implications (Report). United Nations Office on Drugs and Crime. 2022.
- ↑ "Myanmar's Economic Meltdown Likely to Push Opium Output Up, Says UN". Voa News. 2021. สืบค้นเมื่อ 15 October 2021.
- ↑ Southeast Asia Opium Survey 2023 (PDF) (Report). United Nations Office on Drugs and Crime. 2023.
- ↑ "Myanmar becomes world's biggest producer of opium, overtaking Afghanistan". The Guardian. 2023.
|
---|
พรมแดนธรรมชาติ | | |
---|
จุดผ่านแดนถาวร | |
---|
จุดผ่อนปรน | |
---|
จุดผ่านแดนชั่วคราว | |
---|
จุดตรวจ | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|
|
---|
พรมแดนธรรมชาติ | | |
---|
จุดผ่านแดนถาวร | |
---|
จุดผ่อนปรน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | |
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา |
- สนามกีฬา
- สโมสรฟุตบอล
- สโมสรวอลเลย์บอลคอสโม เชียงราย
- กีฬาแห่งชาติ
|
---|
การเมือง | |
---|
เหตุการณ์ | |
---|
|
---|
|