Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

สัญญาณเรียกขาน

ในวิทยุกระจายเสียง และการสื่อสารวิทยุ สัญญาณเรียกขาน (อังกฤษ: Call sign) หมายถึงชื่อเฉพาะที่กำหนดให้สำหรับสถานีส่ง ซึ่งในบางประเทศอาจใช้เป็นชื่อของสถานีที่ส่งสัญญาณวิทยุกระจายเสียงด้วย สัญญาณเรียกขานนั้นจะถูกกำหนดโดยรัฐบาลของแต่ละประเทศ และกำหนดตามข้อบังคับวิทยุบัญญัติโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ และใช้บังคับกับประเทศที่เป็นสมาชิกทั้งหมด รวมทั้งประเทศไทยด้วย ได้กำหนดให้สถานีวิทยุดังต่อไปนี้ต้องมีสัญญาณเรียกขานระหว่างประเทศตามที่กำหนดโดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ

  1. สถานีวิทยุที่ให้บริการติดต่อสาธารณะระหว่างประเทศ
  2. สถานีวิทยุซึ่งอาจทำให้เกิดการรบกวนอย่างรุนแรงเกินพื้นที่ของประเทศซึ่งสถานีนั้นตั้งอยู่
  3. สถานีวิทยุสมัครเล่น

วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์

สำหรับสัญญาณเรียกขานของวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์นั้น จะกำหนดเป็นชื่อเฉพาะสำหรับสถานี โดยในวิทยุกระจายเสียงจะใช้ข้อความธรรมดาที่แสดงถึงข้อมูลสถานีให้เป็นที่จดจำ ซึ่งจะไม่ใช้เป็นชื่อสากล ใช้เพียงในท้องถิ่นนั้น ๆ โดยสัญญาณเรียกขานนั้นอาจจะมีการเหมือนหรือคล้ายคลึงกันในต่างเมือง หรือในประเทศอื่น[1]

ในกรณีของสถานีที่มีการออกอากาศและมีผลผูกพันตามกฎหมาย มักจะใช้สัญญาณเรียกขานที่อ้างอิงตามสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ซึ่งสามาระบอกข้อมูลเบื้องต้นของสถานีได้จากสัญญาณเรียกขานและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ[2][3][1] อาทิ สัญญาณเรียกขานในการออกอากาศวิทยุคลื่นสั้น[4]

วิทยุการบิน

อดีตเครื่องบินโดยสารของการบินไทย "ลพบุรี" มีสัญญาณเรียกขาน HS-TDH ติดอยู่บริเวณลำตัวและใต้ปีก

การบินพลเรือน

สัญญาณเรียกขานในระบบวิทยุการบิน จะแบ่งรหัสเป็น 2 ชุด[5] ชุดแรกระบุว่าเครื่องนั้นจดทะเบียนในประเทศไหน ชุดที่สองคือหมายเลขทะเบียนหรือรหัสของเครื่องบิน โดยระหว่างตัวเลขทั้งสองชุด ซึ่งสามารถประกอบได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลข จะมีเครื่องหมายขีดคั่นตรงกลางหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งในการเรียกขานนั้นจะเรียกขานรวมกันจากรหัสทั้งสองชุด

การบินทหาร

สัญญาณเรียกขานของอากาศยานทหาร จะใช้เป็นรหัสตัวเลข หรือชื่อเรียกตามฝูงบินที่สังกัด ตามด้วยหมายเลขเครื่องภายในฝูงบิน นอกจากนี้ในนักบินเครื่องบินขับไล่อาจจะมีสัญญาณเรียกขานเป็นของตนเองก็ได้[6]

ตัวอย่างสัญญาณเรียกขานอากาศยานทหาร

วิทยุการเดินเรือ

ในการเดินเรือ สัญญาณเรียกขานจะถูกใช้ในการติดต่อสื่อสารกับสำนักงานควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเลของประเทศนั้น ๆ ผ่านทางคลื่นวิทยุสื่อสารย่าน VHF ซึ่งประเทศไทยกำกับดูแลโดยกรมเจ้าท่า โดยใช้อักษรขึ้นต้นตามข้อกำหนดของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ บางครั้งอาจพบเห็นการใช้ธงประมวลสากลในการแจ้งสัญญาณเรียกขานเรือของตนในเรือรบ

ตัวอย่างสัญญาณเรียกขานประจำเรือพลเรือน

เรือหลวงนเรศวรมีสัญญาณเรียกขานว่า HSME[11]

ตัวอย่างสัญญาณเรียกขานประจำเรือรบ

นอกจากนี้ยังมีการรายงานสภาพอากาศทางทะเลผ่านสถานีรายงานของแต่ละประเทศทั่วโลก ผ่านระบบ Radiofax หรือรู้จักกันในชื่อ HF fax เป็นการส่งสัญญาณภาพผ่านคลื่นความถี่วิทยุย่าน HF[12]

วิทยุสมัครเล่น

สำหรับกิจการวิทยุสมัครเล่นนั้น ตามกฎข้อบังคับของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) มาตรา 19 บทจำเพาะข้อที่ 19.68 และ 19.69[13] กำหนดให้ใช้คำนำหน้าสัญญาณเรียกขานของประเทศไม่เกิน 2 ตัวอักษรแล้วตามด้วยตัวเลขหรือตัวอักษรที่กำหนดโดยหน่วยงานกำกับดูแลในแต่ละประเทศซึ่งจะต้องไม่ซ้ำกันและจะต้องผ่านการจัดสรรอย่างเป็นระบบ

ในบางประเทศ นักวิทยุสมัครเล่นสามารถที่จะเลือกที่จะกำหนดสัญญาณเรียกขานเฉพาะของตัวเองได้โดยต้องเป็นไปตามกฎหมายของท้องถิ่น[14] ซึ่งมีทั้งในรูปแบบที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในบางประเทศ และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในบางประเทศเช่นกัน ซึ่งในสหรัฐอเมริกาในอดีตจะต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ภายหลังถูกยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมในเดือนกันยายน พ.ศ. 2558[15]

การออกอากาศของนักวิทยุสมัครเล่นในการแข่งขัน โดยมีป้ายสัญญาณเรียกขานวางอยู่บนเครื่องรับส่งวิทยุ

รูปแบบของสัญญาณเรียกขาน

รูปแบบของสัญญาณเรียกขานของกิจการวิทยุสมัครเล่นนั้น ประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักด้วยกันคือ คำนำหน้า ตัวเลขแยก และส่วนต่อท้าย

  • ส่วนนำหน้า จะประกอบไปด้วยตัวอักษรหรือตัวเลขจำนวนไม่เกิน 2 หลัก
  • ตัวเลขแยก ประกอบไปด้วยตัวเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9
  • ส่วนต่อท้าย ประกอบไปด้วยทั้งตัวเลขและอักษร ไม่เกิน 4 หลัก ซึ่งปกติจะเป็นตัวอักษร

ตัวอย่างรูปแบบของสัญญาณเรียกขานในแต่ละประเทศ

สัญญาณเรียกขาน ส่วนนำหน้า (กำหนดโดย ITU) ตัวเลขแยก ส่วนต่อท้าย ประเภทรูปแบบ
K4X K 4 X รูปแบบ 1×1 กิจกรรมพิเศษแบบจำกัดเวลา (สหรัฐ)[16]
B2AA B 2 AA รูปแบบ 1×2 (จีน)
N2ASD N 2 ASD รูปแบบ 1×3 (สหรัฐอเมริกา)
A22A A2 2 A รูปแบบ 2×1 (บอตสวานา)
I20000X I 2 0000X รูปแบบ 1×5 กิจกรรมพิเศษ (อิตาลี)
4X4AAA 4X 4 AAA รูปแบบ 2×3 (อิสราเอล)
3DA0RS 3DA 0 RS รูปแบบ 3×2 (เอสวาตีนี)
E23FSY E2 3 FSY รูปแบบ 2×3 (ไทย)

ประเภทรูปแบบสัญญาณเรียกขาน

โดยทั่วไปแล้ว สัญญาณเรียกขานของวิทยุสมัครเล่นจะเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังต่อไปนี้ โดยกำหนดให้

  • P - คืออักษรนำหน้า มีทั้งอักษรตัวเดียว และสองตัว อาจจะเป็นหลักหนึ่งเป็นอักษรอีกหลักเป็นตัวเลข หรือเป็นอักษรทั้งสองตัว โดยเป็นไปตามที่ ITU กำหนด
  • N - คือตัวเลขหลักเดียว ที่แยกส่วนนำหน้าและส่วนต่อท้ายออกจากกัน (ใช้หมายเลขตั้งแต่ 0 ถึง 9) และมักใช้ Ø สัญลักษณ์ศูนย์แบบตัดขวางแทนเลขศูนย์เพื่อแยกกับอักษรตัวโอ
  • S - คืออักษรต่อท้าย (ตัวอักษรหรือตัวเลข โดยอักษรตัวสุดท้ายต้องเป็นตัวอักษร) โดยทั่วไปจะใช้ตัวอักษรในอักษรต่อท้าย เพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนกับตัวเลขแยก

โดยประเภทรูปแบบมักจะเป็นรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังต่อไปนี้

PNS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 1×1
มักถูกกำหนดสำหรับการออกอากาศในกิจกรรมพิเศษ โดยอักษรตัวแรก และตัวสุดท้ายเป็นหลักเดียว ซึ่งคำนำหน้าสามารถใช้ได้เฉพาะอักษร B, F, G, I, K, M, N, R หรือ W
PPNS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×1
คำนำหน้าอาจจะเป็น อักษร-อักษร อักษร-ตัวเลข หรือ ตัวเลข-อักษร
สำหรับสัญญาณเรียกขานที่ประกอบไปด้วย ตัวอักษร ตัวเลข 2 หลัก และอักษร จะเป็นรูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×1 เสมอ
สำหรับสัญญาณเรียกขานที่ประกอบไปด้วย อักษร-ตัวเลข-ตัวเลข-อักษร ถ้าตัวอักษรตัวแรกไม่ใช่ B, F, G, I, K, M, N, R หรือ W จะเป็นรูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×1
PNSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 1×2
ในรูปแบบนี้ คำนำหน้าจะเป็นตัวอักษรเสมอ โดยส่วนต่อท้ายจะเป็นตัวอักษรเสมอเพื่อป้องกันการสับสนกับรูปแบบ 2×1
สำหรับสัญญาณเรียกขานที่ประกอบไปด้วย อักษร-ตัวเลข-ตัวเลข-อักษร ถ้าตัวอักษรตัวแรกเป็น B, F, G, I, K, M, N, R หรือ W จะเป็นรูปแบบ 1×2
PNSSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 1×3
มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับรูปแบบ 1×2 เพื่อป้องกันความสับสนกับรูปแบบ 2×2
PPNSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×2
มีข้อควรระวังเช่นเดียวกับรูปแบบ 2×1 เพื่อป้องกันความสับสนกับรูปแบบ 1×3
PPNSSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×3
เป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการใช้งาน
PPNSSSS, รูปแบบสัญญาณเรียกขาน 2×4 หรือมากกว่านั้น
อักษรต่อท้าย 4 หลักหรืออาจจมากกว่า ถูกกำหนดโดยบางประเทศ เพื่อข้อกำหนดพิเศษ อาทิ สำหรับขั้นพิเศษของนักวิทยุ สำหรับกิจกรรมพิเศษ
PPPNSS หรือ PPPNSSS, 3×2, 3×3 ขึ้นไป
ถูกกำหนดขึ้นเมื่ออักษรนำหน้า 2 หลักไม่เพียงพอที่จะใช้กำหนดเป็นส่วนนำหน้าที่กำหนดให้ประเทศนั้น ๆ อาทิ ประเทศฟิจิ (3DN–3DZ) ประเทศเอสวาตีนี (3DA–3DM)

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "AM FM TV Call-Signs". www.dxinfocentre.com.
  2. "Radio Thailand". nbt1.prd.go.th. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-10.
  3. "Radio Thailand WS". Radioth.net.
  4. "Shortwave Call-Signs". www.dxinfocentre.com.
  5. "[เด็กการบิน] จะรู้ได้ยังไงว่า เครื่องบินมาจากประเทศใด?". www.blockdit.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. ""นักบิน F16"คนที่4 ที่ จะได้เป็น "ผบ.ทอ."". LLpch.news - LapLuangPrangChannel.com. 2021-09-02. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-07. สืบค้นเมื่อ 2022-03-07.
  7. Flightradar24. "MM62303 Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Flightradar24. "734 Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. Flightradar24. "16-20821 Live Flight Tracker - Real-Time Flight Tracker Map". Flightradar24 (ภาษาอังกฤษ).{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "เจาะขุมกำลัง 'เพื่อนปุ่น-ป็อป' ผงาดคุม 'กองทัพ'". Spacebar.
  11. "Ship RTN SHIP 421 (Military Ops) Registered in Thailand - Vessel details, Current position and Voyage information - IMO 0, MMSI 567015500, Call Sign HSME". MarineTraffic.com (ภาษาอังกฤษ).
  12. lui_gough (2019-01-27). "Radiofax: HSW64 (Weather Forecast Division, Thai Meteorological Department)". Gough's Tech Zone (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  13. "ARTICLE 19 Identification of stations, Section III – Formation of call signs" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2010-06-21.
  14. "Common Filing Task: Obtaining Vanity Call Sign". FCC.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-27. สืบค้นเมื่อ 2007-06-02.
  15. "Vanity Call Sign Fees". ARRL. สืบค้นเมื่อ 27 August 2015.
  16. "Amateur Call Sign Systems". Federal Communications Commission (ภาษาอังกฤษ). 2016-09-28.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9