สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ
อันเนอ-มารี (เดนมาร์ก: Anne-Marie) หรือ อันนา-มาเรีย (กรีก: Άννα-Μαρία; พระราชสมภพ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2489) พระนามเมื่อแรกพระราชสมภพ เจ้าหญิงอันเนอ-มารี ดักมาร์ อิงกริดแห่งเดนมาร์ก เป็นพระอัครมเหสีในสมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซ ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งกรีซ (หรือสมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์) ในช่วง 6 มีนาคม พ.ศ. 2507 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 ภายหลังได้มีการลงประชามติล้มเลิกการปกครองระบอบกษัตริย์และเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบสาธารณรัฐ[1] (เหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครองของกรีซ เรียกว่า Σύνταγμα Sýntagma) แต่ไรก็ตามแม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่พระองค์ยังสามารถดำรงพระอิสริยยศได้ตลอดพระชนม์ชีพ แต่ในหนังสือเดินทางของพระองค์ พระองค์ได้ใช้พระนามเป็นสามัญชน ชื่อ นางอันนา-มาเรีย เด เกรเซีย (Anna-Maria de Grecia) พระราชประวัติสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ มีพระนามเดิมว่า เจ้าหญิงอันเนอ-มารี ดักมาร์ อิงกริดแห่งเดนมาร์ก พระราชสมภพเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2489 ณ พระราชวังอมาเลียนเบิร์ก กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์เล็กใน คิงเฟรเดอริกที่ 9 แห่งเดนมาร์ก และ พระราชินีอิงกริดแห่งเดนมาร์ก พระองค์มีพ่อและแม่ทูนหัว คือ พระเจ้าคริสเตียนที่ 10 แห่งเดนมาร์ก, สมเด็จพระเจ้ากุสตาฟที่ 6 อดอล์ฟแห่งสวีเดน, เจ้าชายเบร์ติล ดยุกแห่งฮัลลันด์, สมเด็จพระราชาธิบดีโฮกุนที่ 7 แห่งนอร์เวย์ และฝ่ายพระอัยยิกาได้แก่ อะเล็กซานดรินแห่งเมคเลินบวร์ค-เชควริน สมเด็จพระราชินีแห่งเดนมาร์ก เจ้าหญิงมาร์ธา มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์, มาเรียแห่งเท็ค, สมเด็จพระราชินีนาถจูเลียนาแห่งเนเธอร์แลนด์ และเจ้าหญิงดักมาร์แห่งเดนมาร์ก พระองค์เป็นพระราชมาตุจฉา (น้าหญิง) สมเด็จพระราชาธิบดีเฟรเดอริกที่ 10 แห่งเดนมาร์ก พระกษัตรัย์องค์ปัจจุบันแห่งเดนมาร์ก[2] และพระองค์ยังเป็นพระญาติวงศ์ในสมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสวีเดนองค์ปัจจุบัน พระองค์ทรงเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนซาห์เลส์ (Zahle's School) ประเทศเดนมาร์ก ช่วงปี พ.ศ. 2495–2506 และทรงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนสตรีชาร์เตอราร์ด (Chatelard School for Girls) ซึ่งเป็นโรงเรียนภาษาอังกฤษในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2505 และต่อมาในปี พ.ศ. 2506–2507 พระองค์ได้ทรงเข้าศึกษาต่อในเลอเมส์นิล โรงเรียนฟินิชชิง (Finishing school) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อภิเษกสมรสในปี พ.ศ. 2502 พระองค์ทรงพบกับเจ้าชายกอนสตันดีโนสแห่งกรีซและเดนมาร์ก ซึ่งเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปัฟโลสแห่งกรีซ และสมเด็จพระราชินีฟรีแดรีกีแห่งกรีซ เมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศเดนมาร์ก และทั้งสองพระองค์ก็ทรงพบกันครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2504 ที่ประเทศเดนมาร์ก โดยเจ้าชายกอนสตันดีโนสได้ทรงทูลพระราชบิดาและพระราชมารดาเพื่อทรงขออภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงเดนมาร์ก ต่อมาทั้งสองพระองค์ก็ทรงพบกันอีกครั้งที่กรุงเอเธนส์ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2504 เมื่อครั้งงานอภิเษกสมรสของ เจ้าหญิงโซเฟียแห่งกรีซและเดนมาร์ก และเจ้าชายฆวน การ์โลสแห่งสเปน และทรงพบกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2506 ในงานครบรอบหนึ่งศตวรรษของพระราชวงศ์กรีซ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2507 มีการประกาศเรื่องการหมั้น แม้จะมีเสียงคัดค้านอย่างสุภาพของกลุ่มฝ่ายซ้ายในประเทศเดนมาร์ก[3] ต่อมาทั้งสองพระองค์ได้ทรงจัดงานอภิเษกสมรสกัน เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2507 (สองสัปดาห์หลังพระองค์มีพระชนมายุครบ 18 พรรษา) โดยในพิธีอภิเษกสมรสของทั้งสองพระองค์ได้จัดขึ้นในอาสนวิหารเมโทรโพลิสกรีกออร์โธดอกซ์ในกรุงเอเธนส์ ซึ่งในงานนี้พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อเข้าร่วมในพิธีมงคลสมรสครั้งนี้ด้วย[4][5][6] เสด็จลี้ภัยสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ และพระราชสวามีถูกทำการรัฐประหารอีกครั้งโดยกลุ่มนายทหารยศพันเอกในเดือนเมษายน ต่อมาสมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซได้ทรงประกาศสละราชสมบัติ และเสด็จลี้ภัยพร้อมด้วย สมเด็จพระราชินีอันเนอ, เจ้าหญิงอเล็กเซีย และเจ้าชายปาวลอส โดยเสด็จประทับเครื่องบินออกไปในกลางดึกของวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2510[7] โดยขั้นต้นพระองค์และครองครัวได้เสด็จไปพำนักในประเทศอิตาลี ผลที่ตามมาก็คือพระองค์ทรงแท้งพระครรภ์[8] โดยพระองค์และครอบครัวทรงประทับลี้ภัยในสถานทูตกรีซประจำประเทศอิตาลีนาน 2 เดือน ก่อนที่จะเสด็จไปประทับ ณ กรุงโรม เป็นเวลาถึง 5 ปี สมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซ พร้อมด้วยพระราชินีอันเนอ และครอบครัว ได้เสด็จไปประทับยังสหราชอาณาจักร โดยประทับ ณ หมู่บ้านโชบฮาม (Chobham) มณฑลเซอร์รีย์ เป็นแห่งแรก ก่อนที่จะย้ายไปประทับที่ฮัมสตีด (Hampstead) กรุงลอนดอน ส่วนรัฐบาลกรีซเองก็ยึดพระราชวังโตตอย แต่ภายหลังก็มีนักสิทธิมนุษยชนเข้ามาเรียกร้องให้ชดเชยค่าเสียหายเกี่ยวกับการครอบครองวังของพระราชวงศ์กรีซ โดยสมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซได้นำเงินที่ได้รับดังกล่าว มาจัดตั้งองค์กรอันนา-มารีขึ้น เหตุการณ์หลัง พ.ศ. 2516สมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซ และสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ จะเสด็จลี้ภัยออกจากกรีซในปี พ.ศ. 2510 ด้วยเหตุที่ประเทศกรีซมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขมาหลายร้อยปี จึงมีการแต่งตั้งพลตรีจอร์จิออส โซอิตากีส (Georgios Zoitakis) เป็นผู้สำเร็จราชการ ต่อมาเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2516 ได้แต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งกรีซ พันเอกจอร์จ ปาปาโดเปาลอส (George Papadopoulos) ก็ได้ปลดกษัตริย์กอนสตันดีโนสที่ 2 ออกจากตำแหน่งและเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2516 พันเอกจอร์จ ปาปาโดเปาลอส ได้ถูกปลดออกตำแหน่ง โดยดิมิทริออส ไอโออันนิเดส (Dimitrios Ioannides) เนื่องจากรัฐบาลทหารเข้ามาปกครองและเกิดความล้มเหลวจากการที่ตุรกีเข้าบุกรุกดินแดนไซปรัส ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2517 โดยมการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ คือ นายคอนสแตนติน คารามานลิส (Constantine Karamanlis) โดยเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 ได้มีการลงประชามติให้ยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งประชาชนร้อยละ 68.8 โหวตให้มีการยกเลิกสถาบันพระมหากษัตริย์[9] โดยหลายคนมีข้อสงสัยเกี่ยวกับมติเห็นชอบครั้งนี้ จะทำให้เหล่าพระราชวงศ์ไม่สามารถเสด็จกลับมากรีซได้อีก[10] หลังมีการก่อตั้งสาธารณรัฐใหม่เมื่อผ่านการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2518 เกี่ยวกับคำนำหน้าพระนามและพระอิสริยยศจะไม่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการของบุคคลสัญชาติกรีก แต่ก็มีชาวกรีกบางส่วนที่ยังขานพระนามของพระองค์ว่า "อันเนอ-มารีแห่งกรีซ" (Anne-Marie of Greece) หรือบางครั้งก็เรียกพระนามแล้วตามด้วยพระนามพระราชวงศ์เป็น "อันนา-มาเรีย กลึคส์บวร์ค" (Anna-Maria Glücksburg) แต่พระนามดังกล่าวนี้ พระองค์ไม่ทรงใช้ ส่วนพระองค์เอง พระองค์จะเรียกพระองค์เองว่า สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ (Queen Anne-Marie of Greece) หรือสมเด็จพระราชินีแห่งเฮลเลนส์ (Queen of the Hellenes) โดยพระนามดังกล่าวนี้ยังใช้ขานพระนามในกลุ่มประเทศที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขอย่าง สหราชอาณาจักร[11], สเปน[12], ลักเซมเบิร์ก[13] และจอร์แดน พระองค์ยังพระนามอีกพระนามหนึ่งคือ สมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารี (Queen Anne-Marie) โดยพระนามนี้ถูกใช้ใน ประเทศเดนมาร์ก[14] และสวีเดน[15] และพระนาม อดีตสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ (former Queen Anne-Marie of Greece) ถูกใช้ในประเทศเนเธอร์แลนด์[16] ครั้นเมื่อพระองค์จะเสด็จประพาสยังต่างประเทศ พระองค์ก็จะใช้หนังสือเดินทางของสถานทูตเดนมาร์ก โดยใช้พระนามแทนพระองค์เองว่า อันเนอ-มารี เด เกรเซีย (Anne-Marie de Grecia) ซึ่งคำว่า de Grecia เป็นภาษาสเปนที่มีความหมายว่า "แห่งกรีซ" (of Greece) พระราชกรณียกิจในปัจจุบัน
ครอบครัวสมเด็จพระราชาธิบดีกอนสตันดีโนสที่ 2 แห่งกรีซ และสมเด็จพระราชินีอันเนอ-มารีแห่งกรีซ ทรงประสูติกาลพระราชโอรสและพระราชธิดา 5 พระองค์ โดยเป็นพระราชโอรส 3 พระองค์ และพระราชธิดา 2 พระองค์ นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นพระอัยยิกาในพระนัดดาทั้ง 9 พระองค์ ได้แก่
พระอิสริยยศ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ราชตระกูล
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|