สมหวัง สารสาส
ร้อยเอก สมหวัง สารสาส (13 ตุลาคม พ.ศ. 2454 – 1 มกราคม พ.ศ. 2540) เป็นบุตรของพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) กับนางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ (สกุลเดิม อัศวนนท์) ประวัติร้อยเอกสมหวัง สารสาส เป็นบุตรของพระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) กับนางสวัสดิ์ สารสาสน์พลขันธ์ (สกุลเดิม อัศวนนท์) มีพี่น้องร่วมบิดา-มารดา 4 คน คือ หม่อมงามจิตต์ บุรฉัตร, จริตราบ สารสาส, โศภิณ อัศวเกียรติ์ และเสลา สก๊อต[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า แล้วเข้ารับราชการเป็นทหารสังกัดกองทัพบก ขณะมียศเป็น ร้อยเอก ได้ลาออกจากราชการเพื่อมาทำธุรกิจบริษัท ประกันภัยไทยวิวัฒน์ จำกัด จดทะเบียน เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2494 ร่วมกับบุคคลอื่นอีก 8 คน[2] ร้อยเอกสมหวัง สารสาส เคยมอบช้างไทยชื่อ ฮานาโกะ ให้แก่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2492 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ญี่ปุ่น-ไทย ซึ่งตลอดเวลาที่ผ่านมาช้างฮานาโกะเปรียบเสมือนทูตสันถวไมตรีระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะในหมู่เยาวชนญี่ปุ่น และสวนสัตว์อิโนคาชิระ จังหวัดโตเกียว ได้จัดงานวันเกิดให้ช้างฮานาโกะมาอย่างต่อเนื่อง[3] งานการเมืองปี พ.ศ. 2525 ร้อยเอกสมหวัง ได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคปวงชนชาวไทย และมี ดร.กมล ชาญเลขา เป็นรองหัวหน้าพรรค[4] ครอบครัวร้อยเอกสมหวัง สารสาส ได้สมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทุรัตนา ซึ่งลาออกจากฐานันดรเพื่อทำการสมรส[5] (พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับหม่อมสมพันธุ์ บริพัตร ณ อยุธยา) เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496[6] มีบุตร-ธิดาด้วยกันสามคน คือ ธรณินทร์ สารสาส, สินนภา สารสาส และสันติ สารสาส ต่อมาได้หย่าร้างกับอินทุรัตนา และสมรสใหม่กับพนิดา สารสาส (สกุลเดิม กำเนิดกาญจน์) มีบุตร-ธิดาด้วยกันสี่คน คือ วรวรรณ สารสาส, สันติทวี สารสาส, ศรีภพ สารสาส และชินเวศ สารสาส[7][8] ร้อยเอกสมหวัง สารสาส เสียชีวิตเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2540[9] ลำดับสาแหรก
อ้างอิง
|