สภามวยโลก
สภามวยโลก (อังกฤษ: World Boxing Council; ตัวย่อ: WBC, สเปน: Consejo Mundial de Boxeo; ตัวย่อ: CMB) สถาบันที่ดูแลและควบคุมการชกมวยสากลในระดับโลก ประวัติสภามวยโลกก่อตั้งขึ้นในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 โดยมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก โดยเริ่มแรกมีชาติสมาชิก 11+1 ประเทศ สภามวยโลก เป็นสถาบันที่ให้มีแชมป์โลกเยาวชน สำหรับนักมวยที่มีอายุไม่เกิน 23 ปี และยังมีแชมป์เข็มขัดเงิน รวมถึงแชมป์เข็มขัดเพชร[1] โดยเริ่มในปี พ.ศ. 2552 และ พ.ศ. 2553 สำหรับนักมวยที่ได้ครองแชมป์เหล่านี้จะยังไม่ใช่แชมป์โลก หากแต่มีสถานภาพเป็นเสมือนแชมป์เฉพาะกาล สำหรับรอการชิงแชมป์โลกตัวจริงต่อไป ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่แฟนมวยและสื่อมวลชนว่า ทำให้เกิดความสับสน เพราะทำให้ในแต่ละรุ่นมีแชมป์มากถึง 2-3 คน ทำให้การเป็นแชมป์โลกไม่มีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่มีคุณค่าเหมือนเมื่อก่อน ทั้งที่เดิมในอดีตสภามวยโลกก็มีแชมป์เฉพาะกาลและแชมป์สภามวยโลกนานาชาติ (WBC International) หรือแชมป์โลกเงา ซึ่งมีสิทธิ์ในการชิงแชมป์โลกได้อยู่แล้ว[2] (เช่นเดียวกับซูเปอร์แชมป์ ของสมาคมมวยโลก หรือ WBA[3]) [4] [5] สภามวยโลกมีกติกาที่แตกต่างไปจากสถาบันมวยสากลระดับโลกอื่น ๆ คือ เมื่อมีการชิงแชมป์โลก จะมีการเปิดเผยคะแนนของกรรมการให้คะแนนทั้ง 3 คน เมื่อหมดยกที่ 4 และยกที่ 8 ด้วย โดยกติกานี้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2550 ปัจจุบัน สภามวยโลกมี เมาริซิโอ ซูไลมัน ชาวเม็กซิกัน เป็นประธานสถาบัน หลังจาก โฆเซ ซูไลมัน ที่เป็นประธานตัวจริงและเป็นบิดาของเมาริซิโอ ทำหน้าที่อย่างยาวนานถึง 38 ปี ถึงแก่กรรมไปในต้นปี พ.ศ. 2557 ถือว่าเป็นสถาบันมวยสากลที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานที่สุดในโลก มีจำนานชาติสมาชิกมากที่สุดในโลก[6] สภามวยโลกกับประเทศไทยในประเทศไทย เดิมสภามวยโลกอยู่ในความดูแลของ นายสหสมภพ ศรีสมวงศ์ แต่เมื่อนายสหสมภพได้เสียชีวิตในปลายปี พ.ศ. 2543 พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ได้เป็นผู้ดำเนินงานต่อ โดยเป็นประธานสภามวยแห่งเอเชีย (Asia Boxing Council - ABC) สถาบันมวยของทวีปเอเชียที่สภามวยโลกให้การยอมรับ สำหรับนักมวยไทยที่เคยเป็นแชมป์โลกของสถาบันนี้มีมาแล้ว 23 คน ได้แก่ โผน กิ่งเพชร, ชาติชาย เชี่ยวน้อย, เวนิส บ.ข.ส., แสนศักดิ์ เมืองสุรินทร์, เนตรน้อย ศ.วรสิงห์, พเยาว์ พูนธรัตน์, สด จิตรลดา, สามารถ พยัคฆ์อรุณ, นภา เกียรติวันชัย, เมืองชัย กิตติเกษม, สมาน ส.จาตุรงค์, ศิริมงคล สิงห์มนัสศักดิ์, ฉัตรชัย สาสกุล, วันดี สิงห์วังชา, วีระพล นครหลวงโปรโมชั่น, เม็ดเงิน กระทิงแดงยิม, พงษ์ศักดิ์เล็ก ศิษย์คนองศักดิ์, อีเกิล เด่น จุลพันธ์ (นักมวยไทยสัญชาติญี่ปุ่น), โอเล่ห์ดง ศักดิ์เสมอชัย, สุริยัน ศ.รุ่งวิสัย, คมพยัคฆ์ ป.ประมุข, ศรีสะเกษ ศ.รุ่งวิสัย, วันเฮง มีนะโยธิน และ เพชรมณี ก่อเกียรติยิม ในวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 โฆเซ ซูไลมัน ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานสภามวยโลก และ พล.ต.อ.โกวิท ภักดีภูมิ ได้เข้าเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข ภายในวังไกลกังวล เพื่อทูลเกล้า ฯ ถวายเหรียญทองคำเกียรติยศ "โกลเดนชายนิงซิมโบลออฟเวิลด์ลีดเดอร์ชิป" ในฐานะที่พระองค์ให้การสนับสนุนกีฬามวยสากลมาโดยตลอด[7] รวมถึงในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2545 โฆเซ ซูไลมัน ได้เข้าเฝ้า ฯ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (ขณะนั้นยังทรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร) ณ พระตำหนักวังศุโขทัย เพื่อทำการทูลเกล้า ฯ ถวายเหรียญเกียรติยศ "ไลฟ์ไทม์แอคชีพเมนท์ - โกลเดนอวอร์ด" ในฐานะที่พระองค์ให้การสนับสนุนกีฬามวยสากลมาโดยตลอด [8] ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|