สภาทนายความ (ประเทศไทย)
สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นองค์กรผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย เป็นศูนย์รวมองค์ความรู้ ด้านวิชาชีพทนายความ เพื่อให้คำปรึกษาแก่บุคคลทั่วไป นิติบุคคล หรือหน่วยงานของรัฐ เป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพทนายความ ในการร่วมมือกับ ศาลหน่วยงานต่างๆ ด้านยุติธรรม ทั้งภายในประเทศ และระดับสากล องค์กรมีสถานะเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 นายกสภาและกรรมการสภา จะได้รับการเลือกตั้งจากสมาชิกองค์กรทั่วประเทศให้เป็นผู้บริหารสภาทนายความ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสามปี และไม่เกินสองวาระติดต่อกัน ประวัติสืบเนื่องมาจากบทบัญญัติของพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2508 ที่ได้มีการจำกัดสิทธิของทนายความ และเกิดผลกระทบต่อทนายความชั้นสอง รวมไปถึงประชาชนต่าง ๆ ที่มีความต้องการความรู้ความสามารถของทนายความชั้นสอง จึงทำให้เกิดประกายแห่งแนวความคิดในการก่อตั้งสถาบันของทนายความเพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมการประกอบวิชาชีพของทนายความเอง เช่นเดียวกันกับนานาประเทศ ดังนั้น ใน พ.ศ. 2517 นายมารุต บุนนาค นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในขณะนั้น จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติทนายความเพื่อก่อตั้ง "สภาทนายความ" เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของทนายความการเคลื่อนไหวและต่อสู้ที่เป็นระยะเวลายาวนานต่อเนื่องกัน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 15 ปี จึงได้ประสบความสำเร็จ โดยวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 ที่ประชุมวุฒิสภาในการประชุมครั้งที่ 11/2528 ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ให้ความเห็นชอบในร่างพระราชบัญญัติทนายความ และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 เมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2528 โดยประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 102 ตอน 129 วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 จึงมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2528 เป็นต้นมาจนปัจจุบัน นายกสภาทนายความปัจจุบันสภาทนายความได้มีนายกสภาทนายความแล้วจำนวน 7 คน ดังนี้
ดูเพิ่มอ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น |