สงครามอังกฤษ–ซูลู
สงครามอังกฤษ–ซูลู เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิบริติชและราชอาณาจักรซูลู ในปี 1879 หลังจากลอร์ดคายร์นาร์วอนริเริ่มสหพันธรัฐในแคนาดาได้สำเร็จ จึงมีความคิดว่าความพยายามทางการเมืองคล้ายกันกอปรกับการทัพ อาจประสบความสำเร็จกับราชอาณาจักรในทวีปแอฟริกา พื้นที่ชนเผ่าและสาธารณะโบเออร์ในแอฟริกาใต้เช่นกัน ในปี 1876 เซอร์เฮนรี บาร์เทิล เฟรียร์ ถูกส่งไปเป็นข้าหลวงใหญ่จักรวรรดิบริติชประจำแอฟริกาใต้เพื่อนำแผนดังกล่าวไปปฏิบัติ หนึ่งในอุปสรรคนั้นคือ การมีรัฐเอกราชสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ราชอาณาจักรแห่งซูลูแลนด์ และกองทัพของสองรัฐ จากความคิดริเริ่มของเฟรียร์ โดยไม่ได้รับคำยินยอมจากรัฐบาลบริติช และด้วยเจตนาเริ่มสงครามกับซูลู ยื่นคำขาดในวันที่ 11 ธันวาคม 1878 ให้กับพระมหากษัตริย์ซูลู เซเตวาโย (Cetshwayo) ซึ่งพระองค์ไม่อาจปฏิบัติตามได้ ที่ข้อตกลงนั้นรวมการปลดประจำการกองทัพและเลิกประเพณีทางวัฒนธรรมสำคัญของตน บาร์เทิล เฟรียร์ ได้ส่งลอร์ดเชล์มฟอร์ดไปบุกครองซูลูแลนด์หลังไม่ยอมปฏิบัติตามคำขาด สงครามนี้ได้เป็นที่รู้จักจากยุทธการนองเลือดเป็นพิเศษหลายครั้ง รวมถึงชัยของซูลูที่ไอแซนด์ลวานา (Isandlwana) ในขั้นแรก ตามมาด้วยความปราชัยของกองทัพซูลูขนาดใหญ่ที่ยุทธการแห่งร็อคส์ดริฟท์ด้วยกำลังบริติชเพียงหยิบมือ สุดท้ายบริเตนชนะและยุติภาวะครอบงำของซูลูในภูมิภาค ประวัติใน ค.ศ 1850 จักรวรรดิบริติช มีอาณานิคมอยู่ทางใต้ของแอฟริกามีอาณาเขตติดต่อกับนิคมที่ดินต่างๆของชาวโบเออร์, อาณาจักรของชาวแอฟริกันต่างๆเช่น อาณาจักรซูลู, และเขตรัฐของชนเผ่าต่างๆ และมีปฏิสัมพันธ์กันและต่อมาด้วยนโยบายการขยายตัวและอาณานิคมเคปได้ก่อตัวขึ้นหลังจากสนธิสัญญา อังกฤษ-ดัตช์ แห่งปี ค.ศ 1814 ได้ยกให้ อาณานิคมดัตช์ของเคปทาวน์ให้กับบริติชและอาณาเขตของมันได้ขยายตัวอย่างมากมายในศตวรรษที่ 19 นาเทาร์ในทางตะวันออกใต้ได้ประกาศเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิบริติซในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ ·1843หลังจากรัฐบาลบริติชได้ยึดครองสาธารณะโบเออร์แห่งนาเทาร์นำมาซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเมื่อบุตรทั้งสามคนและพี่ชายของหัวหน้าเผ่าซูลู ซิราโยได้จัดรวบรวมเข้าปล้นนาเทาร์และได้นำพาผู้หญิงสองคนซึงอยู่ภายใต้การอารักขาบริติช การค้นพบเพชรพลอยใกล้ลำธาร วาออรริฟเวอร์ 550ไมล์(890 กิโลเมตร)ในบางส่วนของเคปทาวทางตะวันออกเฉียงเหนือได้สิ้นสุดการแยกตัวออกภายในชาวโบเออร์และเปลื่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของแอฟริกาใต้ การค้นพบเปนสิ่งกระตุ้นการรีบเร้นค้นหาเพชรซึ่งดึงดูดใจของคนจากทั่วโลกอังซึ่งได้เปลื่ยนคิมเบอร์ลี่กลายเป็นเมืองที่มีประชากร 50000 คนภายใน 5 ปีและดึงดูดความสนใจผลประโยชน์ของจักรวรรดิบริติชในปี ค.ศ 1870 บริติชได้ยึดครองกรีครัวแลนด์ตะวันตกเป็นสถานที่ค้นพบเพชรของเมืองคิมเบอร์ลี่ ใน ค.ศ 1874 ลอร์ด คายร์นาร์วอน รัฐมนตรีกองการแห่งอาณานิคมได้เบิกสหพันธ์ในแคนนาดาอย่างสำเร็จ ก็มีแนวคิดว่าอุบายที่คล้าย ครึงกันอาจใช้งานได้ผลที่แอฟริกาใต้ อุบายของชาวแอฟริกาใต้ที่ร้องเรียกให้ชนกลุ่มน้อยคนผิวขาวที่อยู่เหนือคนผิวดำหมู่มากอันที่อยากจะจัดหาการรวมกำลังแรงงานราคาถูกขนาดใหญู่ให้กับไร่น้ำตาลและเหมืองแร่ของบริติช ลอร์ด คายร์นาร์วอน ได้พยายามในระหว่างแผ่ขยายอิทธิพลของบริติช ใน ค.ศ 1875 เข้าหารัฐโบเออร์แห่งออเร้นฟรีสเตดส์และสาธารณะทรานส์วาลและพยายามที่จะจัดตั้งเครือรัฐแห่งบริตัชและอาณาเขตโบเออร์แต่ว่าผู้นำโบเออร์ได้ปฏิเสธเขา ใน ค.ศ 1877 เชอร์ บาร์เทิล เฟรียร์ ได้แต่งตั้งเป็นข้าหลวงใหญ่สำหรับแอฟริกาทางตอนใต้โดย ลอร์ด คายร์นาร์วอน คายร์นาร์วอนแต่งตั้งเฟรีย์ในตำแหน่งที่เข้าใจว่าเขาจะทำงานเพื่อดำเนินแผนสมาพันธ์ของลอร์ด คายร์นาร์วอน และ ในทางกลับกัน เฟรียร์สามารถเป็นผู้ว่าการแห่งสหพันรรัฐแอฟริกาตอนใต้คนแรกได้ เฟรียร์ได้ถูกส่งไปที่แอฟริกาใต้ในฐานะข้าหลวงใหญ่ เพื่อนำแผนนี้ไปใช้ หนึ่งในหลายๆอุปสรรคต่อแผนอุบายคือ การทีมีรัฐเอกราชของของสาธารณรัฐแอฟริกาใต้รู้จักอย่างไม่เป็นการว่า สาธารณทรานส์วาลและอาณาจักรแห่งซูลูแลนด์. บาร์เทิลเฟรียร์ไม่เสียเวลาในการวางอุบายต่อไปข่างหน้า และสร้างเหตุผลพอเพียงในการทำสงครามต่อซูลูด้วยดารทำให้ความสำคัญของจำนวนของอุบัติการณ์เกินความจริง
โดย ค.ศ 1877 เชอร์ ธีโอพีช เชพสโตน กระทรวงต่างประเทศอังกฤษแห่งนาเทาร์ได้, ยึดสาธารณทรานส์วาลเพื่อจักรวรดิบริติชโดยใช้หมายพิเศษ ชาวโบเออร์ในทรานส์วาลได้คัดค้านแต่ตราบใดที่ภัยคุกคามจากซูลูยังคงอยู่ ต้องอยู่ท่ามกลางระหว่างภัยคุกคามทั้งสอง และได้เกรงกลัวว่าหากถ้าได้นำอาวุธมาต่อต้านการยึกครองของบริติช พระมหากษัตริย์เชเตวาโยและซนเผ่าซูลูได้ถือโอกาสเข้าโจมตีแต่ อย่างไรก็ตามการยึดครองของจักรติวรรชบริติชที่สำเร็จ และโดยเฉพาะการยึดครองกรีคัวร์แลนด์ตะวันตกได้สร้างความไม่สงบให้กับสาธารณโบเออร์
อ้างอิง
|