Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก (ค.ศ. 1879–1884)

สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก

แผนที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอาณาเขตจากสงครามในมหาสมุทรแปซิฟิก แสดงเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างโบลิเวีย - เปรูและโบลิเวีย - อาร์เจนตินา
วันที่5 เมษายน 2422 – 20 ตุลาคม ค.ศ. 1883 (สนธิสัญญาอังคอง) โบลิเวีย-ชิลี พักรบ ใน ค.ศ. 1884; สันติภาพกับโบลิเวีย ในวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1884
สถานที่
ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิของโบลิเวียและเปรู
ผล

ชิลีชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
คู่สงคราม
โบลิเวีย โบลิเวีย
เปรู เปรู
ชิลี ชิลี
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ประธานาธิบดีโบลิเวีย
อีลารีออง ดาซา (ค.ศ. 1876–1879)
เปโดร โคซ โดมิงโก เด เกร์รา (ค.ศ. 1879)
นาร์ซิสโซ กาเปโร (ค.ศ. 1879–1884)

ประธานาธิบดีเปรู
มารีอาโน อินาเซียว ปราโด (ค.ศ. 1876–1879)
ลูซ ลา ปวยร์ตา (ค.ศ. 1879)
นิโกลาซ เด เปียโรลา (ค.ศ. 1879–1881)
ฟรันซิสโก กราเซีย กาเดรอน (ค.ศ. 1881)
ลีซาร์โด มอนเตโร ฟอเรส (ค.ศ. 1881–1883)

มีเกล อีเลสเซียส (ค.ศ. 1882–1885)

ประธานาธิบดีชิลี
อานิบาล ปินโต (ค.ศ. 1876–1881)

โดมิงโก ซานตา มารีอา (ค.ศ. 1881–1886)
กำลัง

ค.ศ. 1879
กองทัพโบลิเวีย: 1,687[1] นาย
กองทัพเปรู: 5,557[2] นาย
กองทัพเรือเปรู:
4 เรือหุ้มเกาะ
7 เรือไม้
2 เรือตอร์ปิโด[3]
(โบลิเวียไม่มีกองทัพเรือ)
ค.ศ. 1880
(โบลิเวียไม่ใช้กำลังทหาร[4])
กองทัพเปรู:
25–35,000 นาย
(Army of Lima)[5]

กองทัพเรือเปรู:
3 เรือหุ้มเกาะ,
7 เรือไม้
2 เรือตอร์ปิโด[3]

ค.ศ. 1879
กองทัพชิลี: 2,440,[6] นาย

กองทัพเรือชิลี:
2 เรือหุ้มเกาะ,
9 เรือไม้
4 เรือตอร์ปิโด[3]

1880
กองทัพชิลี:
27,000 ก่อนที่ ลิมา
8,000 กองทหารมืออาชีพ
6,000 ในแผ่นดินใหญ่[7]

กองทัพเรือชิลี:
3 เรือหุ้มเกาะ,
8 เรือไม้
10 เรือตอร์ปิโด[3]
ความสูญเสีย
ตาย:
12,934–18,213[8]
บาดเจ็บ:
7,891–7,896[8]
ถูกฆ่าในสนามรบและบาดเจ็บ:
4,367–10,467[8]
ตาย:
2,425–2,791[9]
บาดเจ็บ:
6,247–7,193[9]

สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก (อังกฤษ: War of the Pacific, สเปน: Guerra del Pacífico) (ค.ศ. 1879–1884) เป็นสงครามที่มีผลมาจากการเรียกร้องชายแดนของชิลีเหนือดินแดนชายฝั่งทะเลของโบลิเวียในทะเลทรายอาตากามา โบลิเวียเป็นพันธมิตรกับเปรูเพื่อต่อต้านชิลี สงครามในครั้งนี้จบลงโดยที่ชิลีเป็นผ่ายชนะซึ่งทำให้ชิลีได้ครอบครองดินแดนที่มีทรัพยากรจำนวนมากจากเปรูและโบลิเวีย กองทัพชิลีได้ครอบครองและใช้พื้นที่ชายฝั่งที่อุดมไปด้วยไนเตรตของโบลิเวีย ส่วนเปรูพ่ายแพ้ต่อกองทัพเรือของชิลี[10][11]

สงครามครั้งนี้เกิดขึ้นบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก, ทะเลทรายอาตากามาของเปรูและบริเวณเทือกเขาแอนดีส ช่วง 5 เดือนแรกสงครามเกิดขึ้นในรูปแบบของสงครามทางทะเลเนื่องจากทางชิลีพยายามที่จะสร้างการขนส่งทางทะเลสำหรับส่งกองทัพเข้าไปในทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลก

ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1878 โบลิเวียกำหนดจัดเก็บภาษีใหม่กับบริษัทเหมืองแร่ของชิลี (Compañía de Salitres y Ferrocarril de Antofagasta หรือ CSFA) แม้จะมีการรับรองอย่างชัดเจนในสนธิสัญญาเขตแดน ค.ศ. 1874 ว่าทางโบลิเวียจะไม่เพิ่มภาษีกับคนหรืออุตสาหกรรมของชิลีเป็นเวลา 25 ปี ทำให้ชิลีมีการประท้วงและเสนอให้มีการไกล่เกลี่ยแต่ทางโบลิเวียปฏิเสธและถือว่าเป็นกรณีของศาลโบลิเวีย ทำให้ทางชิลีเรียกร้องและแจ้งให้รัฐบาลโบลิเวียทราบว่า ชิลีจะไม่ถือว่าตัวเองถูกผูกมัดด้วยสนธิสัญญาเขตแดน ค.ศ. 1874 ถ้าโบลิเวียยังไม่ระงับการบังคับใช้กฎหมายการขึ้นภาษี เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1879 ขณะที่เจ้าหน้าที่ของโบลิเวียพยายามประมูลทรัพย์สินที่ยึดมาของ CSFA กองกำลังติดอาวุธของชิลีก็เข้าบุกยึดเมืองท่าอันโตฟากัสตา

เปรูซึ่งมีสนธิสัญญาป้องกันพันธมิตรกับโบลิเวียได้พยายามเข้ามาไกล่เกลี่ยแต่ในวันที่ 1 มีนาคม ค.ศ. 1879 ทางโบลิเวียประกาศสงครามกับประเทศชิลีและเรียกเปรูมาเป็นพันธมิตรตามสนธิสัญญา ส่วนทางชิลีได้ร้องขอให้เปรูประกาศความเป็นกลาง วันที่ 5 เมษายนหลังเปรูปฏิเสธคำร้องขอจากชิลี ทางชิลีจึงได้ประกาศสงครามกับทั้ง 2 ประเทศ ทำให้วันต่อมาเปรูตอบโต้ด้วยการยอมรับสนธิสัญญาการป้องกันการโจมตีหรือภัยคุกคามพันธมิตรชาติ

ในข้อพิพาท โบลิเวีย–ชิลี–เปรู ในทะเลทรายอะตาคามา ของโรนัล บรูซ เซนต์ จอห์น:

ถึงแม้ว่าสนธิสัญญาเขตแดน ค.ศ. 1874 และการเก็บภาษีเพิ่ม 10 เซ็นต์จะเป็นเหตุแห่งสงคราม แต่ลึก ๆ แล้วยังมีสาเหตุเบื้องต้นมาจากการระบาดของสงครามใน ค.ศ. 1879 อีกมุมหนึ่งชิลีมีทั้งอำนาจ เกียรติภูมิ ความมั่นคง ในขณะที่เปรูและโบลิเวียมีปัญหากับภาวะเศรษฐกิจถดถอยและความไม่ต่อเนื่องทางการเมืองหลังจากได้รับเอกราช ในอีกด้านหนึ่งยังมีการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทางเศรษฐกิจ การเมือง ความเป็นใหญ่ในภูมิภาคอีกทั้งความเกลียดชังลึก ๆ ระหว่างเปรูและชิลี ในสภาพแวดล้อมที่มีความคลุมเครือของเขตแดนระหว่าง 3 ประเทศ การค้นพบของที่มีมูลค่าอย่างปุ๋ยขี้นกหรือไนเตรตบริเวณพื้นที่พิพาทก่อให้เกิดปัญหาทางการทูตที่ไม่สามารถจัดการแบ่งสันปันส่วนได้[12]

ภายหลังการโจมตีทางบกของชิลีสามารถเอาชนะกองทัพโบลิเวียและเปรูได้ วันที่ 26 พฤษภาคม ค.ศ. 1880 โบลิเวียถอนตัวออกจากสงครามหลังยุทธการที่ตักนา ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1881 กองทัพชิลีสามารถยึดครองกรุงลิมาได้ กองทัพเปรูที่เหลืออยู่และทหารที่ไม่ได้อยู่ในประจำการเริ่มทำสงครามแบบกองโจรแต่ก็ไม่สามารเปลี่ยนผลของสงครามได้ เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 1883 ชิลีและเปรูลงนามในสนธิสัญญาอังคอง ส่วนโบลิเวียลงนามในสัญญาการพักรบกับชิลีเมื่อ ค.ศ. 1884

ชิลีได้รับเขตจังหวัดตาราปากาของเปรู เขตจังหวัดลิโทลอของโบลิเวีย (ทำให้โบลิเวียกลายเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล[13]) ครอบครองจังหวัดอริกาและจังหวัดแทกนาเป็นเวลาชั่วคราว ชิลีลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพและมิตรภาพกับโบลิเวียและกำหนดเขตชายแดนที่แน่นอน ใน ค.ศ. 1904 และใน ค.ศ. 1929 ตามการประนีประนอมแทกนา–อริกา ชิลีมอบจังหวัดอริกาและจังหวัดแทกนาคืนแก่เปรู

อ้างอิง

  1. Sater 2007, p. 51 Table 2
  2. Sater 2007, p. 45 Table 1
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 Sater 2007, pp. 113–4 Table 6
  4. Sater 2007, p. 74
  5. Sater 2007, p. 274
  6. Sater 2007, p. 58 Table 3
  7. Sater 2007, p. 263
  8. 8.0 8.1 8.2 Sater, pp. 349 Table 23.
  9. 9.0 9.1 Sater, pp. 348 Table 22. The statistics on battlefield deaths are inaccurate because they do not provide follow up information on those who subsequently died of their wounds.
  10. William F. Sater, “War of the Pacific” in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 5, pp. 438-441. New York: Charles Scribner’s Sons 1996.
  11. Vincent Peloso, “History of Peru” in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 4, p.367. New York: Charles Scribner’s Sons 1996.
  12. St. John, Ronald Bruce; Schofield, Clive (1994). The Bolivia–Chile–Peru Dispute in the Atacama Desert. University of Durham, International Boundaries Research Unit. pp. 12–13. ISBN 1897643144.
  13. http://www.coha.org/boliviachile-pacific-access
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9