ศิลปินแห่งชาติ
ศิลปินแห่งชาติ ของประเทศไทย หมายถึงศิลปินผู้มีความสามารถ มีผลงานสร้างสรรค์และพัฒนาเป็นที่ยอมรับของวงการ และมีผลงานเป็นประโยชน์ต่อสังคม ศิลปินแห่งชาตินับเป็นทรัพยากรบุคคลสำคัญทางด้านศิลปะ ที่ได้สืบสานงานศิลปะของชาติจากอดีตถึงปัจจุบันและดำรงสืบไปในอนาคต นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ (พ.ศ. 2528) ถึงประกาศรายชื่อศิลปินแห่งชาติประจำปี พ.ศ. 2566 มีการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติรวมทั้งสิ้น 367 คน เสียชีวิตแล้ว 183 คน และมีชีวิตอยู่ 184 คน[1] ประวัติชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี อดีตประธานรัฐสภาและประธานสภาผู้แทนราษฎร เมื่อครั้งที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้เห็นถึงความสำคัญของศิลปิน ผู้รังสรรค์ผลงานด้านศิลปะ ทั้งด้านทัศนศิลป์ ศิลปะการแสดง และวรรณศิลป์ให้แก่ประเทศชาติ ทำให้ประเทศไทยได้รับการยกย่องสรรเสริญจากนานาชาติว่า มีวัฒนธรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของชาติ จึงสมควรแก่การยกย่องเชิดชูเกียรติ ส่งเสริมสนับสนุน และให้กำลังใจแก่ศิลปิน ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ อันเป็นภูมิปัญญา ของแผ่นดินจากศิลปินรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง เพื่อเป็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ในการรักษามรดกวัฒนธรรมให้คงอยู่ และสืบทอดต่อไป โดยในช่วงเวลานั้นมีศิลปินจำนวนมากที่ได้สร้างคุณูปการทางด้านศิลปะสาขาต่าง ๆ ให้แก่ประเทศชาติ แต่เมื่อศิลปินเหล่านั้นเสียชีวิต ทางราชการก็ไม่ได้มีโครงการช่วยเหลือใด ๆ ดังนั้น ชวน หลีกภัย จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งในเวลานั้นสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปัจจุบันหน่วยงานนี้คือ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม) จัดตั้ง "โครงการศิลปินแห่งชาติ" ใน พ.ศ. 2527 ซึ่งโครงการนี้ ได้รับการยกย่องจากสำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้เป็นโครงการดีเด่นของชาติใน พ.ศ. 2535 ใน พ.ศ. 2554 ชวน หลีกภัย ในฐานะผู้ริเริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติ ก็ได้รับยกย่องให้เป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อโครงการศิลปินแห่งชาติ[2] คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การคัดเลือกคุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ที่สำคัญต่อการพิจารณาเชิดชูเกียรติบุคคลด้านศิลปะ 8 ประการ ได้แก่
หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นคุณสมบัติที่ศิลปินแห่งชาติพึงระลึกและปฏิบัติ ไว้เสมอว่า ท่านข้อหนึ่งข้อใดตามหลักเกณฑ์ จนได้รับคัดเลือก หลักของความดี ความงาม ความถูกต้อง ซึ่งจะแสดงออกมาโดยการกระทำ ทางกาย วาจาและจิตใจของแต่ละบุคคลโดยไม่ส่งให้ผู้อื่นได้รับความเสียหายจากผลของการกระทำที่ไร้ซึ่งคุณธรรม ซึ่งเป็นหลักประจำใจที่ ศิลปินแห่งชาติ พึงประพฤติปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยตั้งแต่เล็กจนถึงปัจจุบัน และจะกระทำต่อไปจนวันสุดท้ายของชีวิต ซึ่งหลักคุณธรรมนั้นเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากทั้งต่อตนเอง ต่อผู้อื่น และต่อสังคมประเทศชาติ เพื่อก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคี - สมานฉันท์ ความใกล้ชิดอบอุ่นสนิทสนม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ และส่งผลให้มีความมั่นคงในชีวิต สังคม บ้านเมือง และประเทศชาติ และสามารถที่จะแบ่งปันให้ผู้ที่อยู่รอบข้างในระดับนานาชาติ เมื่อได้ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ใดเป็นศิลปินแห่งชาติแล้ว หากปรากฏว่าศิลปินแห่งชาติผู้นั้นมีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่ในความผิดอันได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ คณะกรรมการโดยมติด้วยคะแนนเสียงอย่างน้อยสองในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่อาจยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติได้ เมื่อได้ยกเลิกการยกย่องเชิดชูเกียรติผู้ใดเป็นศิลปินแห่งชาติ ให้งดการจ่ายประโยชน์ ตอบแทนตั้งแต่วันที่คณะกรรมการมีมติ สาขาของศิลปินแห่งชาติมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกจำแนกศิลปินแห่งชาติออกเป็นสาขาศิลปะ 4 ด้านสาขาหลัก คือ[3] สาขาทัศนศิลป์หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา จะเป็นศิลปะสองมิติ หรือสามมิติ ซึ่งได้แก่ ผลงานศิลปกรรมประเภทต่าง ๆ ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของผู้สร้างสรรค์ และมีเอกลักษณ์โดดเด่น ดังต่อไปนี้
สาขาศิลปะการแสดงหมายถึง ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งแบบดั้งเดิมหรือพัฒนาขึ้นใหม่ ได้แก่ การดนตรี, นาฏศิลป์ และภาพยนตร์และละคร
ด้านศิลปะการแสดงสาขาการแสดง แบ่งออกเป็นสาขาการแสดงภาพยนตร์และสาขาการแสดงละคร
สาขาวรรณศิลป์หมายถึง บทประพันธ์ที่ทำให้เกิดจินตนาการ เห็นเป็นภาพมโนคติ ภาพลักษณ์ ความเพลิดเพลิน และเกิดอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ตามเจตนารมณ์ของผู้ประพันธ์ ได้แก่ กวีนิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น บันเทิงคดีสำหรับเด็กและเยาวชน อาทิ วรรณกรรมเยาวชน หนังสือเด็กที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่อย่างกว้างขวาง สาขาศิลปะสถาปัตยกรรมหมายถึง งานออกแบบหรืองานออกแบบและงานก่อสร้างอาคารสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะ และมีวิทยาการ ซึ่งแสดงภูมิปัญญาของผู้ออกแบบอย่างโดดเด่น ได้แก่ สถาปัตยกรรมไทยและสถาปัตยกรรมร่วมสมัย รายชื่อศิลปินแห่งชาติสิทธิประโยชน์ และตอบแทนที่ได้รับจากทางราชการผู้ที่ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติจะได้รับสิทธิประโยชน์ตอบแทนจากกองทุนส่งเสริมวัฒนธรรม [11] ได้แก่
วันศิลปินแห่งชาติวันศิลปินแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ซึ่งนับถือกันว่า ทรงมีพระปรีชาสามารถในศิลปกรรม ทรงอุปถัมภ์บำรุงศิลปกรรมแขนงต่าง ๆ ตลอดจนทรงส่งเสริมเชิดชูศิลปินผู้มีฝีมือมาตลอดรัชสมัยพระองค์ เพื่อรำลึกถึงพระองค์ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 ให้วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุกปีเป็นวันศิลปินแห่งชาติ การมีวันศิลปินแห่งชาตินั้น สืบเนื่องจากคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ต้องการให้นานาอารยประเทศยอมรับการมีชื่อเสียงเป็นที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยมีอารยธรรม วัฒนธรรมเทียบเท่ากับนานาอารยประเทศ จึงจัดให้มีโครงการประกาศศิลปินแห่งชาติขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2527 เพื่อจัดทำเนียบศิลปินทุกแขนงทั่วประเทศ และสรรหาบุคคลผู้สร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะด้วยความอุตสาหะ และมีผลงานปรากฏต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องยาวนาน แล้วยกย่องเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ จะนำศิลปินแห่งชาติ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้แทนพระองค์ เพื่อรับพระราชทานเข็มและโล่เชิดชูเกียรติ ในวันศิลปินแห่งชาติ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ของทุก ๆ ปี อนึ่ง ในวันศิลปินแห่งชาติ ทางราชการยังจัดงานนิทรรศการเกี่ยวกับศิลปินแห่งชาติและศิลปะพื้นบ้านขึ้นทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในจังหวัดที่มีศิลปินแห่งชาติสังกัดอยู่ โดยให้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัด รับผิดชอบดำเนินการ โดยจัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2528 หออัครศิลปิน กรมส่งเสริมวัฒนธรรมห้องศิลปินแห่งชาติ เป็นห้องที่จัดแสดงนิทรรศการประวัติศิลปินแห่งชาติทุกแขนงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อเติมเต็มองค์ความรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษาและประชาชนผู้ที่สนใจ[12]
หออัครศิลปิน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ตั้งอยู่ที่ ถนนเลียบคลองห้า ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เปิดเข้าชม วันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 09.30 - 16.00 น. เข็มศิลปินแห่งชาติลักษณะของเข็มลักษณะของเข็มศิลปินแห่งชาติ เป็นเหรียญกลม ภายในจัดองค์ประกอบเป็นภาพดอกบัวเรียงกันสามดอก มีแพรแถบรองรับต่อเนื่องอ้อมรัดแถบริ้วธงชาติไทยตามแนวโค้งขอบเหรียญ ภายในผ้าจารึกคำว่า “ศิลปินแห่งชาติ” และได้อัญเชิญพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี ประดิษฐานไว้เหนือกลมโดยมีผ้าโบพันรอบคทาไม้ชัยพฤกษ์ หัวเม็ดทรงมัณฑ์เชื่อมประสานระหว่างกัน ความหมายของเข็มความหมายของเข็มศิลปินแห่งชาติแสดงถึงความเป็นปราชญ์ในทางความรู้ ความสามารถของศิลปินที่ได้อุตสาหะ อุทิศตน สร้างสรรค์ผลงานในด้านศิลปะไว้มากมาย จนเป็นมรดกอันล้ำค่าทางวัฒนธรรมของชาติ ทั้งในสาขาทัศนศิลป์ ศิลปะ สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์และศิลปะการแสดง ซึ่งได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศิลปินแห่งชาติเข้ารับพระราชทานเข็ม เพื่อความเป็นสิริมงคลยิ่งแก่ตนเองและวงศ์ตระกูลสืบไป อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|