Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วิทยา เลาหกุล

วิทยา เลาหกุล
วิทยา เลาหกุล ใน พ.ศ. 2561
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม วิทยา เลาหกุล
วันเกิด 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 (70 ปี)
สถานที่เกิด จังหวัดลำพูน
ส่วนสูง 1.81 เมตร (5 ฟุต 11 นิ้ว)
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
ชลบุรี (ประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิค)
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
2516-2517 ฮากกา
2518-2519 ราชประชา 97 (28)
2520-2521 ยันมาร์ดีเซล 33 (14)
2522-2524 แฮร์ทา เบเอ็สเซ 33 (1)
2525-2527 เอฟเซ ซาร์บรึคเคิน 54 (7)
2527-2528 ราชประชา 24 (5)
2529-2530 มัตสึชิตะ (กัมบะ โอซากะ) 32 (6)
ทีมชาติ
2518-2528 ไทย 61 (18)
จัดการทีม
2531-2538 มัตสึชิตะ (กัมบะ โอซากะ)
2539-2540 ธนาคารกรุงเทพ
2540 ทีมชาติไทย
2543 ไทย อายุไม่เกิน 16 ปี
2545-2546 เซมบาวัง เรนเจอร์ส (ชุดเยาวชน)
2547 เซมบาวัง เรนเจอร์ส
2547-2549 ชลบุรี
2550-2552 ไกนาเร ทตโตริ
2552-2559 ชลบุรี
2559-2562 ทีมชาติไทย (ประธานพัฒนาเทคนิค)
2562-2563 สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ (อุปนายก)
2566-2567 ชลบุรี (รักษาการ)
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

วิทยา เลาหกุล (ชื่อเล่น ยา​)​ (1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 — ) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ โค้ชเฮง เป็นผู้ฝึกสอนและอดีตนักฟุตบอลชาวไทย ปัจจุบันเป็นประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิคให้กับสโมสรฟุตบอลชลบุรี ใน ไทยลีก 2 เขาเคยเป็นกัปตันทีมชาติไทย และเป็นนักฟุตบอลคนแรกของไทยที่เล่นในลีกยุโรป โดยเล่นให้กับแฮร์ทา เบเอ็สเซ ในบุนเดิสลีกา และเคยทำหน้าที่คุมทีมไกนาเร ทตโตริ ในดิวิชัน 3 ของญี่ปุ่น หลังจากนั้นได้กลับมาดำรงตำแหน่งประธานพัฒนาเทคนิคของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นอดีตอุปนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย

ประวัติ

วิทยา เลาหกุล เกิดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 ที่จังหวัดลำพูน มีพี่น้องทั้งหมด 14 คน ปี พ.ศ. 2516 ได้เข้าร่วมแข่งขันกีฬาเขตแห่งประเทศไทยครั้งที่ 7 ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ให้กับทีมฟุตบอลเขต 5 จังหวัดลำพูน จนได้รับเหรียญรางวัลชนะเลิศพร้อมตำแหน่งผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำรายการ

ต่อมาได้เริ่มเล่นฟุตบอลสโมสรให้กับสโมสรฟุตบอลฮากกา และสโมสรฟุตบอลราชประชา ติดทีมชาติชุดใหญ่ครั้งแรกในรายการเอเซียนคัพในวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งทีมชาติไทยชนะทีมชาติอินโดนีเซีย 3-1

ปี พ.ศ. 2519 วิทยา เลาหกุลได้เล่นฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลควีนสคัพ ซึ่งในครั้งนั้นสโมสรฟุตบอลยันมาร์ดีเซลจากประเทศญี่ปุ่นได้มาแข่งขันและคว้าชัยชนะไป และได้ติดต่อซื้อตัววิทยาจากสโมสรฟุตบอลราชประชา ให้ไปเล่นกับสโมสร ชีวิตการค้าแข้งของวิทยาที่ญี่ปุ่นถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เคยได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในนักฟุตบอลยอดเยี่ยมประจำฤดูกาลและเคยเป็นผู้ที่ทำประตูสูงสุดในถ้วย F.A.Cup ของญี่ปุ่นที่จำนวน 6 ประตู โดยยิงประตูในลีกของญี่ปุ่นได้ทั้งสิ้น 14 ประตู

ในปี 2522 ได้ย้ายไปเล่นให้กับสโมสรในเยอรมันคือ แฮร์ทา เบเอ็สเซ และ เอฟเซ ซาร์บรึคเคิน เป็นเวลารวมหกปีได้รับคำยกย่องจากสื่อในเยอรมันว่า "ไทย บูม" (THAI BOOM) และได้กลับมาประเทศไทย

ภายหลังจากที่ได้เลิกเล่นฟุตบอล ได้มาเป็นผู้ฝึกสอนให้กับมัตสึชิตะในประเทศญี่ปุ่น (สโมสรกัมบะ โอซากะปัจจุบัน) ซึ่งในปี 2535 ทีมมัตสึชิตะได้ชนะเลิศควีนสคัพในประเทศไทย หลังจากนั้นได้คุมทีมสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพจนชนะเลิศการแข่งขันไทยลีก ซึ่งต่อมาได้คุมทีมชาติไทยชนะเลิศซีเกมส์ในปี 2540 และได้คุมทีมสโมสรฟุตบอลชลบุรีจากโปรลีกจนได้เข้ามาเล่นไทยแลนด์พรีเมียร์ลีกเป็นครั้งแรกของสโมสร

ปี พ.ศ. 2548 วิทยา เคยเสนอตัวเข้ารับการชิงตำแหน่งนายกสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากสมาชิกที่ประชุมและไม่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกสมาคมในครั้งนี้ โดยตำแหน่งเป็นของวิจิตร เกตุแก้ว ด้วยคะแนนเสียงจากสมาชิกในที่ประชุมอย่างท้วมท้น 118 ต่อ 16 คะแนน มีบัตรเสีย 1 ใบ

ปี พ.ศ. 2550 วิทยา ได้ลาออกจากสโมสรฟุตบอลชลบุรี ทั้งที่เพิ่งพาทีมเลื่อนชั้นมาได้เพียงปีเดียว ก่อนย้ายไปคุมทีมไกนาเร ทตโตริ ในลีกดิวิชัน 3 ของญี่ปุ่น พร้อมทั้งซื้อตัวอดุล หละโสะ นักเตะไทยชุดซีเกมส์จากสโมสรฟุตบอลชลบุรีไปร่วมทีม

ปี พ.ศ. 2552 วิทยา กลับมารับตำแหน่งประธานฝ่ายพัฒนาเทคนิคของสโมสรชลบุรีเอฟซี และรับตำแหน่งผู้จัดการทีม ในฤดูกาล 2554

ปี พ.ศ. 2559 วิทยา ได้รับตำแหน่งอุปนายกฝ่ายพัฒนาเทคนิคของสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ

รางวัลในฐานะนักเตะ

รางวัลส่วนบุคคล

รางวัลร่วมกับทีม

  • แชมป์ซีเกมส์: ปี 2520 (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์)
  • แชมป์ซีเกมส์ (กัปตันทีม) : ปี 2528 (ทีมชาติไทยชุดซีเกมส์)
  • แชมป์ลีก Oberliga Südwest เยอรมัน : ปี 2526 (สโมสรซาร์บรุ๊คเคน)

รางวัลในฐานะผู้จัดการทีม

รางวัลส่วนบุคคล

รางวัลร่วมกับทีม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9