Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

วัดพระแม่สกลสงเคราะห์

วัดพระแม่สกลสงเคราะห์
The Blessed Virgin Mary The Mediatrix of all Graces Church
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่179 หมู่5 ต.โสนลอย อ.บางบัวทอง นนทบุรี 11110
ประเทศไทย ประเทศไทย
นิกายโรมันคาทอลิก
การปกครอง
มุขมณฑลมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯ

วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ (ละติน: Beata Maria Virginis Omnis Gratiae Mediatricis; อังกฤษ: The Blessed Virgin Mary The Mediatrix of all Graces Church) เป็นโบสถ์โรมันคาทอลิก ขนาดใหญ่ที่สุดในเขตอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 179 หมู่ 5 ตำบลโสนลอย บนที่ดินบริเวณหลังตลาดสดเทศบาลเมืองบางบัวทอง ริมคลองขุนพระพิมลราชา ใกล้กับถนนกาญจนาภิเษก มีพิธีเสกวัดเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1927 (พ.ศ. 2470) โดยมีการจัดสร้างอาคารวัดขึ้นใหม่อีก 2 ครั้ง ในรอบ 65 ปี ทั้งนี้ วัดพระแม่สกลสงเคราะห์หลังปัจจุบัน มีพิธีเสกเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) ปัจจุบัน (ตั้งแต่ 13 พฤษภาคม ค.ศ. 2009) มีคุณพ่อยอห์น บัปติสตา บุญเสริม เนื่องพลี ดำรงตำแหน่งอธิการโบสถ์

ประวัติ

วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ บางบัวทอง ถือกำเนิดขึ้น จากดำริของคุณพ่อบรัวซาร์ ที่เห็นว่ามีคริสตัง (คริสต์ศาสนิกชนในนิกายโรมันคาทอลิก) จำนวนหนึ่ง ย้ายถิ่นฐานจากย่านสามเสน ในจังหวัดพระนคร เข้ามาทำงานที่เมืองบางบัวทองแห่งนี้ ซึ่งสถานที่ประกอบศาสนพิธี ก็มีความจำเป็นกับกลุ่มบุคคลเหล่านี้ โดยในช่วงเวลานั้น พวกเขาได้รับศีลล้างบาปจากคุณพ่อแฟร์เลย์ ซึ่งเดินทางเข้ามาที่บางบัวทองอยู่บ้าง และต้องอาศัยการพายเรือไปร่วมศาสนพิธีสำคัญต่าง ๆ ถึงวัดนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ที่สามเสน ที่มีระยะทางไกล และเดินทางยากลำบากอย่างมาก

เมื่อปี ค.ศ. 1924 คุณพ่อบรัวซาร์จึงซื้อที่ดิน แปลงซึ่งเป็นวัดพระแม่สกลสงเคราะห์ในปัจจุบัน พร้อมกับห้องแถวหลังหนึ่ง ในตลาดสดเทศบาลเมืองบางบัวทอง เพื่อใช้เป็นสถานที่ชั่วคราว ในการประกอบศาสนพิธี รวมถึงเป็นสถานที่อบรมวิชาคำสอน ให้แก่เยาวชนคริสตัง จึงนับว่าคุณพ่อบรัวซาร์เป็นอธิการองค์แรกของโบสถ์บางบัวทอง พร้อมกันนั้น คุณพ่อบรัวซาร์ก็ดำเนินการเปิดโรงเรียน ให้ชื่อว่า แม่พระสกลสงเคราะห์ ซึ่งอยู่ในความดูแลของภคินีพระหฤทัย โดยให้เด็กชายเรียนที่ห้องแถว และแยกนักเรียนหญิงมาเรียนในอาคารไม้ ที่สร้างขึ้นเป็นหลังแรกบนที่ดินดังกล่าว นับเป็นโรงเรียนเด็กหญิงแห่งแรกในเมืองบางบัวทอง ต่อมาภายหลัง จึงย้ายนักเรียนชายเข้ามาเรียนในที่ดินของวัดด้วยกัน และในปีต่อมา (ค.ศ. 1925) คุณพ่อบรัวซาร์ก็เตรียมการซื้อไม้สำหรับการสร้างวัดไว้พร้อมแล้ว แต่ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1926 คุณพ่อก็ได้รับคำสั่งให้ย้ายไปเป็นอธิการโบสถ์ที่โบสถ์บ้านปลายนา จึงยังไม่ทันจะดำเนินการจัดสร้างวัดบางบัวทอง

จากนั้น คุณพ่อตาปี อธิการโบสถ์สามเสนในขณะนั้น จึงเข้าดำเนินการจัดสร้างอาคารไม้สองชั้น หันหน้าไปทางทิศตะวันออก พื้นไม้สักยกสูง หล่อเสาปูนขึ้นเพื่อตอกเป็นตอม่อ มีระเบียงสามด้านโดยรอบอาคาร ชั้นล่างเป็นห้องเรียนส่วนขยาย เพิ่มเติมจากอาคารเรียนเดิม ส่วนชั้นบนเป็นวัด โดยมีบันไดทอดอยู่ทางขวาของอาคาร ส่วนหอระฆังตั้งขึ้นต่างหาก บริเวณซ้ายมือของอาคาร จนกระทั่งก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ประกอบพิธีเสกโบสถ์หลังแรกนี้ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1927 โดยมี มุขนายก เรอเน แปร์โร เป็นประธานบาทหลวง และมอบไว้ในความอุปถัมภ์ ของแม่พระสกลสงเคราะห์ ตามที่คุณพ่อบรัวซาร์ อธิการโบสถ์องค์แรก ตั้งความปรารถนาไว้ นอกจากนี้ คุณพ่อตาปี ยังดำเนินการเปลี่ยนชื่อวัดและโรงเรียนเป็น พระแม่สกลสงเคราะห์ ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน จัดสร้างบ้านพักบาทหลวง ตลอดจนซื้อที่นาในบริเวณใกล้เคียงไว้เป็นของโบสถ์ โดยให้คริสตังชาวจีนเช่าทำสวน ส่งผลให้สัตบุรุษ (คริสตัง) ของโบสถ์บางบัวทอง รวมถึงจำนวนนักเรียน ก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในเวลาต่อมา

แต่ทว่า ในกลางดึกคืนหนึ่ง ของเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1931 โบสถ์บางบัวทองหลังแรกนี้ ก็เกิดเหตุเพลิงไหม้จนเสียหายไปทั้งหมด คุณพ่อตาปีจึงกล่าวเปรียบเปรยถึงเหตุการณ์นี้ ตามพระวาจาของพระเจ้าว่า ผู้หว่านข้าวรดนาด้วยน้ำตา พร้อมทั้งจัดสร้างโบสถ์หลังที่สองขึ้น ในปีต่อมา (ค.ศ. 1932) จนเสร็จสมบูรณ์ และประกอบพิธีเสกโบสถ์หลังนี้ ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1933 โดยคุณพ่อตาปี ยังมอบหมายให้ คุณพ่อหลุยส์ สง่า สังขรัตน์ รองอธิการโบสถ์สามเสน มาดูแลแทนในบางโอกาส จนถึงปี ค.ศ. 1940 คุณพ่อตาปีจึงมอบหมายให้คุณพ่อหลุยส์ เข้ารับตำแหน่งอธิการโบสถ์บางบัวทองเป็นการถาวร หลังจากที่คุณพ่อตาปี ดำรงตำแหน่งอยู่ถึง 14 ปี ดังนั้น โบสถ์พระแม่สกลสงเคราะห์ จึงปกครองตนเองอย่างเป็นอิสระ มิได้ขึ้นตรงกับโบสถ์สามเสนนับแต่นั้น โดยคุณพ่อหลุยส์ ดำเนินการจัดสร้างบ้านพักบาทหลวงหลังใหม่ เป็นอาคารไม้สองชั้น บริเวณด้านหน้าโบสถ์

ตราสัญลักษณ์ของโรงเรียนฯ ในปัจจุบัน

ในปี ค.ศ. 1950 คุณพ่อยอห์น บัปติสตา กิมฮั้ง แซ่เล้า ดำรงตำแหน่งอธิการโบสถ์องค์ต่อมา โดยดำเนินการจัดสร้างอาคารเรียนสองชั้น ปรับปรุงบริเวณที่ดินของโบสถ์ เพื่อปลูกต้นไม้ต่างๆ อาทิ มะม่วง และมะพร้าว เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ คุณพ่อยอห์น บัปติสตา ยังส่งเสริมให้ลูกๆ ในวัด มีโอกาสฝึกขับร้องเพลงเกรกอเรียน อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ระหว่างบทเทศน์ในพิธีมิสซา โดยมีทั้งบทร้องภาษาไทย และภาษาจีน คุณพ่อยอห์น บัปติสตา เป็นอธิการโบสถ์อยู่ถึง 18 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ. 1965 ก็ต้องย้ายไปประจำที่โบสถ์อื่น โดยมีคุณพ่อกาเบรียล โรเชอโร เข้ารับตำแหน่งสืบแทน ขณะนั้น อาคารเรียนในโรงเรียนของโบสถ์ มีเพียงอาคารไม้สองชั้นเพียงหลังเดียว มีห้องเรียนที่ใช้การได้เพียง 8 ห้องเท่านั้น คุณพ่อโรเชอโรจึงระดมทุนสนับสนุน เพื่อดำเนินการต่อเติมอาคารไม้เดิม ให้แล้วเสร็จอีก 2 ห้องเรียน พร้อมทั้งจัดสร้างอาคารชั้นเดียว แนวขนานกับโบสถ์ทางทิศเหนือ อีก 5 ห้องเรียน รวมถึงมีคำขอเข้าอยู่ภายใต้การดูแลของภคินีคณะเซนต์ปอล เดอ ชาตร์ด้วย เป็นผลให้มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี

คุณพ่อโรเชอโรยังขอเจรจา ให้ผู้เช่าที่ดินของวัดหลายราย ย้ายออกจากพื้นที่ เพื่อจัดสร้างถนนคอนกรีตมาตรฐาน ขนาด 8 เมตร จากตลาดสดเทศบาลเมืองบางบัวทอง เข้ามาถึงบริเวณโบสถ์ ซึ่งนำความเจริญเข้ามาสู่วัดเป็นอันมาก แต่ทว่าเหลืองบที่เพียงพอสำหรับการสร้างเพียงครึ่งเดียวเท่านั้น ซ้ำร้ายคุณพ่อโรเชอโรยังประสบอุบัติเหตุ ตกจากหน้าต่างห้องนอนลงมาที่ชั้นล่าง จนถึงแก่มรณกรรม ที่โรงพยาบาลเซนต์หลุยส์ เมื่อปี ค.ศ. 1971 คุณพ่อมิกาแอล อดุลย์ คูรัตน์ จึงเข้ารับตำแหน่งอธิการโบสถ์บางบัวทองต่อมา ท่านมีดำริในการส่งเสริม ให้เด็กและเยาวชนคริสตังของโบสถ์ เข้าร่วมกิจกรรมปรับปรุงบริเวณโบสถ์และโรงเรียน ให้สะอาดและสวยงามยิ่งขึ้น รวมถึงดำเนินการจัดสร้างกำแพงคอนกรีตหน้าโบสถ์ เพื่อทดแทนรั้วไม้ของเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม ตลอดจนความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว และตรงไปตรงมา ของคุณพ่อมิกาแอล ซึ่งเป็นที่ยกย่องนับถืออย่างยิ่ง ของสัตบุรุษชาววัดบางบัวทอง นอกจากนี้ ยังฝึกหัดให้เด็กๆ ขับร้องเพลงให้ไพเราะด้วย

ต่อมา คุณพ่อยอแซฟ วิจิตร ลิขิตธรรม ก็เข้ารับตำแหน่งอธิการโบสถ์ ต่อจากคุณพ่อมิกาแอล เมื่อปี ค.ศ. 1973 โดยคุณพ่อยอแซฟ เป็นผู้นำให้วัดมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอก เช่นสัตบุรุษต่างวัด หรือพี่น้องต่างศาสนา ที่กว้างไกลยิ่งขึ้น รวมถึงสนับสนุนการสร้างแผ่นคอนกรีต สำหรับปูถนนผ่านบ้านพักคริสตัง และสวนผักต่างๆ รอบบริเวณโบสถ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าร่วมพิธีมิสซา แก่เหล่าสัตบุรุษวัดบางบัวทองทั้งหลาย ต่อมาในวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 มีพิธีวางศิลาฤกษ์ ศาลาแม่พระ ซึ่งคุณพ่อปอล ถาวร กิจสกุล เจ้าอาวาสองค์ที่ 11 มีดำริให้จัดสร้างขึ้น เพื่อเป็นที่สวดศพ ตลอดจนเป็นสถานที่จัดกิจกรรมต่างๆ ของโบสถ์และโรงเรียน ซึ่งแล้วเสร็จในสมัยของ คุณพ่อยอแซฟ บรรจบ โสภณ เป็นอธิการโบสถ์ เมื่อวันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน ท่านเป็นผู้วางกำหนดเขตโบสถ์ให้ชัดเจน และเตรียมการสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ จากนั้น เมื่อคุณพ่อยอห์น ไพริน เกิดสมุทร เป็นอธิการโบสถ์ ราวปี ค.ศ. 1986 ท่านมีดำริให้ฟื้นพิธีแห่แม่พระ ในทุกวันเสาร์ต้นเดือนขึ้นอีกครั้ง รวมทั้งดำเนินการปรับปรุงบริเวณโบสถ์ให้สวยงามมากขึ้น

ยุคพัฒนาโบสถ์และโรงเรียนอย่างเต็มรูปแบบ เกิดขึ้นในสมัยที่ คุณพ่อเปโตร สุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ เข้ามาเป็นอธิการโบสถ์ เมื่อปี ค.ศ. 1987 โดยท่านมีโครงการจัดสร้างอาคารเรียนประถมศึกษา-มัธยมศึกษา 1 หลัง และอาคารเรียนระดับอนุบาลอีก 1 หลัง โรงอาหาร พัฒนาโบสถ์ สุสาน ศาลาสวดศพ ตลอดจนจัดสร้างโรงเลี้ยงขึ้นที่ข้างศาลาสวดศพอีกด้วย ซึ่งเริ่มจากถมที่ดิน ขุดบ่อน้ำ จัดร่องสวน ในบริเวณโดยรอบโบสถ์และโรงเรียน แล้วจึงเริ่มดำเนินการจัดสร้าง อาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็กหลังแรกของโรงเรียน สูง 5 ชั้น สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1989 จนกระทั่งแล้วเสร็จ เปิดใช้อย่างไม่เป็นทางการ ในปีการศึกษา 2533 (ค.ศ. 1990) จากนั้นจึงเริ่มดำเนินการจัดสร้างสุสานขึ้นใหม่ ในราวปลายปีเดียวกัน พร้อมกันนั้น ได้ดำเนินการสร้างเขื่อนริมคลองขุนพระพิมลราชา ตั้งแต่บริเวณหน้าวัด ไปจรดกับที่ดิน ซึ่งมาสเตอร์สะอาด ธรรมภิรักษ์เช่าไว้ จนเสร็จสิ้นในยุคนี้เช่นกัน

ช่วงเวลาใกล้เคียงกันนี้ บรรดาผู้เช่าที่ดินบริเวณหลังโบสถ์เพื่อทำสวน ต่างก็คืนสิทธิการเช่ากลับคืนแก่ทางโบสถ์ เพื่อดำเนินการถมที่ดิน ปรับปรุงเป็นหมู่บ้านคริสตัง โดยราวกลางเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 มีการประชุมกับผู้เช่าเหล่านั้น ซึ่งส่วนมากเป็นลูกโบสถ์ ที่จำเป็นต้องย้ายออกจากที่เช่าเดิม ไปยังที่ดินซึ่งจัดเตรียมไว้ จากนั้น ราวต้นเดือนมีนาคม ปีเดียวกัน จึงเริ่มการรื้อถอนเพื่อนำไปปลูกบนที่ดินซึ่งได้รับการจัดสรร ต่อมา เมื่อเดือนเมษายน ก็เริ่มดำเนินการย้ายสุสานเดิม ซึ่งอยู่บริเวณหลังโบสถ์ ไปยังสุสานแห่งใหม่ บริเวณติดกับหมู่บ้านคริสตัง โดยบริเวณเดิมปรับปรุงเป็นสนามบาสเกตบอล ถัดจากนั้น จึงเริ่มจัดสร้างอาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 4 ชั้น เป็นรูปเกือกม้า บริเวณถัดจากอาคารโรงอาหาร สำหรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล

สืบเนื่องจากพิธีฉลองโบสถ์พระแม่สกลสงเคราะห์ ในโอกาสครบรอบ 50 ปี เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1990 ซึ่งอาร์ชบิชอป เรนาโต มาร์ตีโน ผู้แทนถาวรแห่งสันตะสำนักประจำสหประชาชาติในขณะนั้น เดินทางมาร่วมงาน พร้อมทั้งแสดงความปรารถนากับ พระคาร์ดินัล ไมเกิ้ล มีชัย กิจบุญชู ว่าสมควรดำเนินการจัดสร้างโบสถ์หลังใหม่ ให้แก่คริสตังชาวบางบัวทอง ดังนั้น เมื่อมีพิธีวางศิลาฤกษ์โบสถ์หลังใหม่ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 อาร์ชบิชอป เรนาโต มาร์ตีโน จึงให้เกียรติเดินทางมาเป็นประธานบาทหลวง เพื่อร่วมขอบพระคุณพระเป็นเจ้า ในวโรกาสดังกล่าว พร้อมกันนี้ ท่านให้เกียรติประกอบพิธีเปิดอาคารเรียน ระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา อย่างเป็นทางการด้วย ทั้งนี้ ในปีนั้นเอง คุณพ่อเปโตร ก็หมดวาระในตำแหน่งที่โบสถ์บางบัวทองลง และมี คุณพ่อยอแซฟ ทวีศักดิ์ กิจเจริญ ซึ่งเพิ่งจบการศึกษาจากประเทศอิตาลี เข้ารับเป็นอธิการโบสถ์สืบมา และเริ่มการพัฒนาวัดและโรงเรียน ต่อเนื่องจากที่คุณพ่อเปโตรดำเนินการไว้ทันที รวมถึงบ้านพักบาทหลวง และภคินี จนกระทั่งเสร็จสมบูรณ์ครบถ้วน ในราวกลางปี ค.ศ. 1992 พร้อมทั้งได้มีพิธีเสกวัดหลังปัจจุบัน เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม ปีเดียวกัน

รายนามอธิการโบสถ์

  1. คุณพ่อบรัวซาร์ (ค.ศ. 1924-ค.ศ. 1926)
  2. คุณพ่อตาปี (ค.ศ. 1926-ค.ศ. 1940)
  3. คุณพ่อหลุยส์ สง่า สังขรัตน์ (ค.ศ. 1940-ค.ศ. 1945)
  4. คุณพ่อปอล สวัสดิ์ กฤษเจริญ (ค.ศ. 1945-ค.ศ. 1946)
  5. คุณพ่อวิกเตอร์ ลาร์เก (มกราคม-มิถุนายน ค.ศ. 1947)
  6. คุณพ่อยอห์น บัปติสตา กิมฮั้ง แซ่เล้า (ค.ศ. 1947-ค.ศ. 1965)
  7. คุณพ่อกาเบรียล โรเชอโร (ค.ศ.1965-ค.ศ. 1970)
  8. คุณพ่อมิกาแอล อดุลย์ คูรัตน์ (ค.ศ. 1971-ค.ศ. 1973)
  9. คุณพ่อยอแซฟ วิจิตร ลิขิตธรรม (ค.ศ. 1973-ค.ศ. 1976)
  10. คุณพ่อเปโตร สานิจ สถะวีระวงส์ (ค.ศ. 1976-ค.ศ. 1979)
  11. คุณพ่อปอล ถาวร กิจสกุล (ค.ศ. 1979-ค.ศ. 1981)
  12. คุณพ่อยอแซฟ บรรจบ โสภณ (ค.ศ. 1981-ค.ศ. 1986)
  13. คุณพ่อยอห์น ไพริน เกิดสมุทร (ค.ศ. 1986-ค.ศ. 1987)
  14. คุณพ่อเปโตร สุรสิทธิ์ ชุ่มศรีพันธุ์ (ค.ศ. 1987-ค.ศ. 1991)
  15. คุณพ่อยอแซฟ ทวีศักดิ์ กิจเจริญ (ค.ศ. 1991-ค.ศ. 1996)
  16. คุณพ่อยอห์น วิชชุกรณ์ เกตุภาพ (ค.ศ. 1996-ค.ศ. 1999)
  17. คุณพ่อยอห์น สุเทพ พงษ์วิรัชไชย (ค.ศ. 1999-ค.ศ. 2004)
  18. คุณพ่อเปาโล พจนารถ นิรมลทินวงศ์ (ค.ศ. 2004-ค.ศ. 2009)
  19. คุณพ่อยอห์น บัปติสตา บุญเสริม เนื่องพลี (ค.ศ. 2009-ค.ศ.2014)
  20. บาทหลวงบัณฑิตย์ ประจงกิจ (ค.ศ.2014-ปัจจุบัน)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9