Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ยุคก่อนประวัติศาสตร์

ลวดลายบนชิ้นเขากวาง

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (อังกฤษ: prehistory) มีอีกชื่อว่า ประวัติศาสตร์ก่อนวรรณกรรม (pre-literary history)[1] เป็นช่วงเวลาในประวัติศาสตร์มนุษย์ระหว่างการใช้เครื่องมือหินครั้งแรกโดยhominin ป. 3.3 ล้านปีก่อนจนถึงจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึก (recorded history) ที่มีการคิดค้นระบบการเขียน การใช้สัญลักษณ์ เครื่องหมาย และภาพปรากฏในกลุ่มมนุษย์ยุคแรก แต่ระบบการเขียนแบบแรกสุดปรากฏขึ้น ป. 5,000 ปีก่อน ต้องใช้เวลาหลายพันปีกว่าระบบการเขียนจะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยกระจายไปเกือบทุกวัฒนธรรมในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังนั้น จุดสิ้นสุดของยุคก่อนประวัติศาสตร์จึงเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกันมากตามพื้นที่ต่าง ๆ และคำนี้มักไม่ค่อยใช้ในการอภิปรายสังคมสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่สิ้นสุดลงเมื่อไม่นานนี้

ในยุคสำริดตอนต้น ซูเมอร์ในเมโสโปเตเมีย อารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ และอียิปต์โบราณเป็นอารยธรรมแแรกที่พัฒนาอักษรของตนเองและบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยที่เพื่อนบ้านตามมาให้หลัง อารยธรรมอื่น ๆ ส่วนใหญ่ถึงจุดสิ้นสุดยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงยุคเหล็ก การแบ่งสามยุคของยุคก่อนประวัติศาสตร์ไปเป็นยุคหิน, ยุคสัมฤทธิ์ และยุคเหล็กยังคงใช้งานในยูเรเชียและแอฟริกาเหนือ แต่ไม่พบในบริเวณที่ปรากฏการทำโลหะหนักอย่างกระทันหันจากการติดต่อกับวัฒนธรรมยูเรเชีย เช่น โอเชียเนีย, ออสตราเลเซีย แอฟริกาใต้สะฮาราส่วนหนึ่ง และบางส่วนของทวีปอเมริกา ยกเว้นอารยธรรมก่อนโคลัมบัสในทวีปอเมริกาที่ไม่ได้พัฒนาระบบการเขียนที่ซับซ้อนก่อนการมาของชาวยูเรเชีย ทำให้ยุคก่อนประวัติศาสตร์เปลี่ยนผ่านไปสู่ยุคล่าสุดอย่างรวดเร็ว เช่น ค.ศ. 1788 มักเป็นจุดสิ้นสุดของยุคก่อนประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย

ส่วนยุคที่มีผู้อื่นเขียนถึงวัฒนธรรมหนึ่ง แต่ยังไม่พัฒนาระบบการเขียนของตนเองมักเรียกว่ายุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรม ตามคำนิยาม[2] ไม่มีบันทึกที่เป็นลายลักษณ์อักษรจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ โดยเราสามารถรู้เฉพาะจากหลักฐานทางโบราณคดีและมานุษยวิทยา: วัตถุยุคก่อนประวัติศาสตร์และสิ่งหลงเหลือของมนุษย์ ตอนแรกเป็นที่เข้าใจด้วยชุดคติชนและอุปมัยกับก่อนรู้หนังสือที่สังเกตได้ในยุคปัจจุบัน กุญแจสู่ความเข้าใจหลักฐานยุคก่อนประวัติศาสตร์คือวันที่ และเทคนิคการหาวันที่ที่เชื่อถือได้ได้พัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19[3] หลักฐานเพิ่มเติมาจากการสร้างภาษาพูดโบราณขึ้นมาใหม่ เทคนิคล่าสุดรวมถึงการวิเคราะห์ทางเคมีในด้านนิติเวชเพื่อเปิดเผยการใช้และที่มาของวัสดุ และการวิเคราะห์ทางพันธุกรรมของกระดูกเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ทางเครือญาติและลักษณะทางกายภาพของคนยุคก่อนประวัติศาสตร์

คำนิยาม

เสาหินขนาดยักษ์ที่เกิกเบกลีเทเพในภาคตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมโดยประชากรในยุคหินใหม่ตอนต้นเมื่อ 11,000 ปีก่อน
ภาพสเก็ชจินตนาการถึงผู้ใหญ่และเด็กยุคก่อนประวัติศาสตร์กำลังสร้างเครื่องมือหิน
แนวคิดมนุษย์ยุคแรกในถิ่นทุรกันดาร เมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19

เริ่มต้น

คำว่า "ก่อนประวัติศาสตร์" สามารถสื่อถึงช่วงเวลาที่ยาวนานตั้งแต่จุดเริ่มต้นของเอกภพหรือโลก แต่ส่วนใหญ่มักสื่อถึงสมัยตั้งแต่เกิดชีวิตบนโลก หรือนับตั้งแต่สิ่งมีชีวิตคล้ายมนุษย์กลุ่มแรกปรากฏขึ้น[4][5]

สิ้นสุด

จุดสิ้นสุดของยุคก่อนประวัติศาสตร์มักกำหนดที่การคิดค้นประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึก[6][7] ทำให้วันที่แตกต่างกันไปตามภูมิภาค ขึ้นอยู่กับวันที่บันทึกที่เกี่ยวข้องกลายเป็นแหล่งข้อมูลทางวิชาการที่เป็นประโยชน์[8] เช่น โดยทั่วไปยอมรับว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์ของอียิปต์สิ้นสุดประมาณ 3100 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในขณะที่นิวกินีสิ้นสุดที่คริสต์ทศวรรษ 1870

ช่วงเวลา

ในการแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ในยูเรเชีย นักประวัติศาสตร์มักใช้ระบบสามยุค (three-age system) ในขณะที่นักวิชาการด้านสมัยก่อนมนุษย์มักใช้บันทึกทางธรณีวิทยาและชั้นฐานในธรณีกาล ระบบสามยุคเป็นการกำหนดระยะเวลายุคก่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ออกเป็น 3 ช่วง ตามเทคโนโลยีผลิตเครื่องมือที่โดดเด่นของพวกเขา:

ยุคหิน

ยุคหิน (Stone Age) แบ่งออกเป็นยุคย่อย ๆ 3 ยุค คือ ยุคหินเก่า ยุคหินกลาง และยุคหินใหม่

ยุคหินเก่า

ยุคหินเก่า (Paleolithic Periode หรือ Old Stone Age) ประมาณ 5,000,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้เริ่มทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยหินอ่อนอย่างง่ายก่อน เมื่อเวลาผ่านไปก็สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน เครื่องมือหินอ่อน มนุษย์ใช้

วัสดุจำพวกหินไฟ ซึ่งในยุคนี้สามารถแบ่งเครื่องมือสมัยเก่าออกเป็น 3 ช่วงได้แก่

หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนต้น ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยนั้น เครื่องสังคโลก ในทวีปยุโรปมีการค้นพบมนุษย์ไฮดรา (Hydra) มนุษย์อมิรา (Amira) ในทวีปเอเชียมีการค้นพบมนุษย์ชวา (Java Man) และมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ในทวีปแอฟริกามีการค้นพบมนุษย์ Homo erectus มนุษย์กินมนุษย์ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโครงกระดูกของสัตว์ที่มนุษย์กินเป็นอาหาร ซึ่งสามารถบอกให้เราทราบถึงสภาพแวดล้อมของมนุษย์ในขณะนั้นซึ่งยังมีความเป็นสัตว์อยู่มากเนื่องจากกระดูกสันหลังยังคงเหมือนลิงอยู่ และหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินมีลักษณะเป็นขวาน ดาบ มีด ค้อน กระเทาะแบบกำปั้น

  • หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนกลาง ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น เช่น โครงกระดูกมนุษย์นีแอนเดอร์ทาลในประเทศรัสเซีย นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะแหลมคมมากขึ้น มีด้ามยาวมากขึ้นและมีประโยชน์ในการใช้สอยมากขึ้น และยังมีหลักฐานพฤติกรรมทางสังคม เช่น หลักฐานการประกอบพิธีฝังศพ
  • หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนปลาย ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ที่ค้นพบในยุโรป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โครมันยอง (Cro-Magnons) มนุษย์อัลติ (Alti) และมนุษย์ชานเซอเลต (Chanceled) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะหลายประเภทกว่ายุคก่อน ได้แก่ หลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินและกระดูกสัตว์โดยการแกะสลัก เช่น เข็มเย็บผ้า เครื่องประดับหินอ่อน ฉมวก หัวลูกศร คันเบ็ด และเครื่องประดับทำด้วยเปลือกไม้ และกระดูกสัตว์

ยุคโลหะ

โลหะชนิดแรกที่มนุษย์รู้จักนำมาหลอมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้คือ ทองแดง ปรากฏหลักฐานในบริเวณลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรทีส นำทองแดงมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เมื่อประมาณ 4,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช

ยุคโลหะ (Metal Age) แบ่งออกเป็น 3 ยุคย่อยคือ ยุคทองแดง ยุคสำริด และยุคเหล็ก

ยุคทองแดง

ยุคทองแดง (Chalcolithic Age) มนุษย์ยุคนี้ได้มีการนำทองแดงมาทำอาวุธ สิ่งของเครื่องใช้และเครื่องประดับแต่ก็ยังคงมีเครื่องมือหินขัดใช้อยู่

ยุคสำริด

ยุคสำริดเริ่มต้นในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลกไม่พร้อมกัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วแหล่งถิ่นฐานส่วนใหญ่สามารถถลุงสำริดได้เมื่อประมาณ 5,000 ปี มาแล้ว สำริดเป็นโลหะผสมระหว่างทองแดงกับดีบุก กรรมวิธีการทำสำริดค่อนข้างยุ่งยาก ตั้งแต่การหาแหล่งแร่ การเตรียม การถลุงแร่ และการผสมแร่ในเบ้าหลอม จากนั้นจึงเป็นการขึ้นรูปทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยการตีหรือการหล่อในแม่พิมพ์หินทราย หรือแม่พิมพ์ดินเผา

เครื่องมือเครื่องใช้ในยุคสำริดที่พบตามแหล่งต่าง ๆ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก นอกจากทำด้วยสำริดแล้วยังพบเครื่องมือเครื่องใช้ทำจากดินเผา หิน และแร่ ในบางแหล่งมีการใช้สำริดต่อเนื่องมาจนถึงยุคเหล็กเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากสำริดมีขวาน หอก ภาชนะ กำไล ตุ้มหู ลูกปัด เป็นต้น

ในยุคนี้ความเป็นอยู่ของมนุษย์เปลี่ยนไปมากทั้งด้านการเมืองและสังคม ชุมชนเกษตรกรรมขยายตัวจนกลายเป็นชุมชนเมือง จึงมีการจัดแบ่งความสัมพันธ์ตามความสามารถ เช่น กลุ่มอาชีพ มีการจัดระเบียบสังคมเป็นกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ซึ่งเอื้ออำนวยต่อการผลิตอันนำไปสู่ความมั่นคงด้านปัจจัยพื้นฐานและความมั่งคั่งแก่สังคม มนุษย์จึงมีความมั่นคงปลอดภัยกว่าเดิมและมีความสะดวกสบายมากขึ้น นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมสู่ความเป็นรัฐในเวลาต่อมา

แหล่งอารยธรรมที่สำคัญ ๆ ของโลกล้วนมีการพัฒนาการสังคมจากช่วงเวลาสมัยหินใหม่และสมัยสำริด แหล่งอารยธรรมของโลกที่สำคัญและแหล่งวัฒนธรรมบางแห่ง เช่น แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียในภูมิภาคเอเชียตะวันตก แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในอียิปต์ แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุในอินเดีย แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำฮวงโหของจีน และแหล่งวัฒนธรรมบ้านเชียงในประเทศไทย

ยุคเหล็ก

ช่วงเวลานี้เริ่มต้นจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีการผลิตโลหะของมนุษย์สามารถหลอมโลหะประเภทเหล็กขึ้นมาทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ได้ ซึ่งการผลิตเหล็กต้องใช้อุณหภูมิสูงมีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก แต่ถึงอย่างไรเหล็กก็มีความแข็งแกร่งคงทนกว่าโลหะสำริดมาก

สังคมที่สามารถพัฒนาการผลิตเหล็ก จะสามารถพัฒนาสู่ความเป็นรัฐ เพราะการผลิตเหล็กทำให้สังคมสามารถผลิตอาวุธได้ง่ายและแข็งแกร่งขึ้น จนสามารถขยายกองทัพได้ และมีเครื่องมือที่เหมาะสมต่อการทำเกษตรที่มีความคงทนกว่า

แหล่งอารยธรรมแห่งแรกที่สามารถผลิตเหล็กได้คือ แหล่งอารยธรรมเมโสโปเตเมียหรือก็คืออาณาจักรฮิตไทต์ เมื่อ 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช หรือประมาณ 3,200 ปีมาแล้ว

โดยสรุปแล้ว ยุคเหล็กมีความแตกต่างจากยุคสำริดหลายประการ คือ การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเหล็กทำให้เกิดการเพิ่มผลผลิต การผลิตเหล็กทำให้กองทัพมีอาวุธที่แข็งแกร่ง นำไปสู่พัฒนาการทางสังคมจนกลายเป็นรัฐที่มีกำลังทหารที่แข็งแกร่งเข้ายึดครองสังคมอื่น ๆ ขยายเป็นอาณาจักรในเวลาต่อมารวมรัฐไทยด้วย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. McCall, Daniel F.; Struever, Stuart; Van Der Merwe, Nicolaas J.; Roe, Derek (1973). "Prehistory as a Kind of History". The Journal of Interdisciplinary History. 3 (4): 733–739. doi:10.2307/202691. ISSN 0022-1953. JSTOR 202691.
  2. "Dictionary Entry". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2017. สืบค้นเมื่อ 8 August 2017.
  3. Graslund, Bo. 1987. The birth of prehistoric chronology. Cambridge:Cambridge University Press.
  4. Fagan, Brian. 2007. World Prehistory: A brief introduction New York: Prentice-Hall, Seventh Edition, Chapter One
  5. Renfrew, Colin. 2008. Prehistory: The Making of the Human Mind. New York: Modern Library
  6. Fagan, Brian (2017). World prehistory: a brief introduction (Ninth ed.). London: Routledge. p. 8. ISBN 978-1-317-27910-5. OCLC 958480847.
  7. Forsythe, Gary (2005). A critical history of early Rome : from prehistory to the first Punic War. Berkeley: University of California Press. pp. 12. ISBN 978-0-520-94029-1. OCLC 70728478.
  8. Connah, Graham (2007-05-11). "Historical Archaeology in Africa: An Appropriate Concept?". African Archaeological Review. 24 (1–2): 35–40. doi:10.1007/s10437-007-9014-9. ISSN 0263-0338. S2CID 161120240.
  9. Matthew Daniel Eddy, บ.ก. (2011). Prehistoric Minds: Human Origins as a Cultural Artefact. Royal Society of London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-01. สืบค้นเมื่อ 2014-09-19.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9