Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ภาษี

รายได้รวมจากภาษีทางตรงและทางอ้อมเป็นส่วนแบ่งของจีดีพี ในปี 2017[1]

ภาษี (อังกฤษ: tax) เป็นเงินหรือทรัพย์สิน ที่เรียกเก็บจากประชาชนโดยองค์กรรัฐบาล เพื่อนำไปเป็นทุนในการใช้จ่ายของรัฐบาล และรายจ่ายสาธารณะต่างๆ และเป็นภาระหน้าที่สำหรับพลเมืองที่จะต้องเสียภาษีอากรในประเทศไทย และมีบทลงโทษสำหรับผู้หลีกเลี่ยงภาษี

วัตถุประสงค์หลักของภาษี คือ เพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการใช้จ่ายสาธารณะ เช่น การก่อสร้างระบบโครงสร้างพื้นฐาน การให้บริการด้านสาธารณสุข การศึกษา ความปลอดภัยและความมั่นคงของประชาชน รวมถึงระบบคุ้มครองทางสังคม ( การเกษียณอายุ สวัสดิการ การว่างงาน ความทุพพลภาพ ) ฯลฯ

ประวัติ

สมัยโบราณและสมัยโบราณ

รูปแบบภาษีที่เก่าแก่ที่สุดที่มนุษย์ค้นพบหลักฐาน มาจากยุคเมโสโปเตเมียโบราณและอียิปต์โบราณ โดยหลุมฝังศพของราชวงศ์ทางตอนใต้ของอียิปต์ ค้นพบว่ามีการพบแผ่นจารึกที่มีสัญลักษณ์ คล้ายอักษรอียิปต์โบราณ ซึ่งมีรายการผ้าลินินและน้ำมันที่ส่งไปเป็นเครื่องบรรณาการแด่กษัตริย์ Skorpion ซึ่งการถวายบรรณาการเป็นรูปแบบการเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง โดยแผ่นจารึกนี้มีอายุที่วัดค่า C-14 ได้คือ ตั้งแต่ 3300 ถึง 3200 ปีก่อนคริสตกาล[2]

ในสมัยกรีกโบราณ ระบบภาษีสำหรับชาวกรีกไม่ว่าจะเป็นพลเมืองกรีกหรือคนต่างด้าวที่มีถิ่นพำนักอาศัยในนครรัฐ สามารถทำงานบริการสาธารณะที่จัดตั้งขึ้นโดยนครรัฐ โดยสามารถเสนอบริการแก่นครรัฐกรีกได้ตามฐานะ โดยอาจเป็นการบริการอะไรก็ได้ ตั้งแต่นักแสดง นักดนตรีข้างถนน ไปจนถึงการสร้างเรือรบ[3] ซึ่งจัดเป็นการเสียภาษีรูปแบบหนึ่ง และนอกจากนี้ ยังมีภาษีทรัพย์สินพิเศษในช่วงสงครามที่เรียกว่า Eisphora[4] ในศตวรรษที่ 5 และ 4 ก่อนคริสต์ศักราช ในอัตราภาษี 1% ของทรัพย์สินทั้งหมด

ในสาธารณรัฐโรมันภาษีเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐ ในช่วง 200-150 ปีก่อนคริสตกาล ภาษีของประชาชนคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 10% ของรายได้ของรัฐทั้งหมด ภาษีในจังหวัดประมาณ 20% และรายได้ภาษีอื่นๆ ประมาณ 7% โดยขนาดของภาษีขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจของสงคราม เมื่อสาธารณรัฐโรมันสามารถพิชิตมาซิโดเนียและปล้นสะดม ชนเผ่าเอพิรุสในปี 167 ก่อนคริสตกาล สาธารณรัฐโรมันได้รับรายได้จำนวนมาก จนชาวโรมันได้รับการยกเว้นภาษีนานถึง 143 ปี จนเปลี่ยนผ่านยุคสาธารณรัฐโรมันสู่จักรวรรดิโรมัน[5]

ในยุคถัดมา มีการอธิบายไว้ในพระคัมภีร์ไบเบิลด้วย ในปฐมกาล 47:24 โยเซฟบอกผู้คนว่า: "จากพืชผลนั้นเจ้าจงถวายหนึ่งในห้าแก่ฟาโรห์ สี่ในห้านั้นเจ้าจงมีไว้สำหรับเมล็ดพันธุ์และอาหารสำหรับตัวเจ้า ครัวเรือนและลูก ๆ ของเจ้า"[6] ซึ่งตีความว่า ผลผลิต 20% ต้องส่งแก่กษัตริย์อียิปต์ อีก 80% เก็บไว้

ยุคกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1763 - พ.ศ. 1893)

ภาษียุคนั้นเรียกว่า จังกอบ หรือ ขนอน เป็นภาษีผ่านด่าน โดยมีลักษณะการเก็บ คือ มีของผ่านด่าน 10 ชิ้นชักออก 1 ชิ้น (อัตราภาษี 10%)[7] โดยเป็นการเก็บจากการขายสัตว์หรือสินค้าที่นำไปขายที่ต่างๆ หรือนำเข้ามา และการเก็บนั้นมิได้เก็บเป็นเงินตราเสมอไป หรืออาจเก็บเป็นสิ่งของแทนตัวเงิน หรือเก็บตามขนาดพื้นที่ขนาดหรือความยาวของเรือ

ยุคกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)

การจัดเก็บภาษีอากร โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเก็บคือ กรมคลัง ในระบบจตุสดมภ์ (ระบบการปกครองส่วนกลางภายในกรุงศรีอยุธยาสมัยอยุธยาตอนต้น) มี 4 ประเภท คือ จังกอบ อากร ส่วย และฤชา[8]

  • จังกอบ คือ ภาษีผ่านด่าน ที่เรียกเก็บจากการชักส่วนสินค้า
  • อากร คือ ภาษีรายได้ ที่เรียกเก็บจากการประกอบอาชีพ หรือ จากทรัพย์สินที่มีอยู่ เช่น อากรไร่ อากรที่ดิน[9] อากรสวน ฯลฯ
  • ส่วย มีหลายความหมาย อาจหมายถึง เครื่องราชบรรณาการที่เรียกจากเมืองประเทศราช การริบทรัพย์ และ ส่วยแทนแรงงาน (การส่งเงินหรือส่งของแทนการมาทำงานให้รัฐ)
  • ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่ทางราชการเรียกเก็บจากราษฎร จากการบริการของรัฐ เช่น ออกโฉนด ฯลฯ

ภาพรวม

นิยามทางกฎหมายและเศรษฐกิจของภาษีแตกต่างกันตรงที่นักเศรษฐศาสตร์ไม่พิจารณาว่าการเคลื่อนย้ายทรัพยากรหลายอย่างไปยังรัฐบาลเป็นภาษี ตัวอย่างเช่น ทรัพยากรบางอย่างเคลื่อนย้ายไปยังภาครัฐบาลนั้นเทียบได้กับราคา เช่น ค่าเล่าเรียนที่มหาวิทยาลัยของรัฐและค่าธรรมเนียมซึ่งจัดหาให้โดยรัฐบาลท้องถิ่น รัฐบาลยังได้ทรัพยากรมาโดยการผลิตเงิน (เช่น การพิมพ์ธนบัตรและผลิตเหรียญกษาปณ์), ผ่านของกำนัลโดยสมัครใจ (เช่น การอุดหนุนมหาวิทยาลัยและพิพิธภัณฑ์ของรัฐ), โดยการกำหนดบทลงโทษ (เช่น ค่าปรับจราจร), โดยการกู้ยืม และโดยการยึดทรัพย์สิน จากมุมมองของนักเศรษฐศาสตร์ ภาษีนั้นไม่เกี่ยวกับการลงโทษตามกฎหมาย แต่กระนั้น การบังคับเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากเอกชนไปยังภาครัฐบาลก็ยังเรียกเก็บจากพื้นฐานของเกณฑ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าและโดยไม่อ้างอิงถึงประโยชน์ที่ได้รับโดยเฉพาะ

ในระบบการเก็บภาษีสมัยใหม่ ภาษีจะเก็บในรูปตัวเงิน แต่ภาษีอย่างเดียวกัน (in-kind) และแรงงานเกณฑ์ (corvée) เป็นลักษณะของการจัดเก็บภาษีในรัฐและท้องถิ่นโบราณหรือก่อนทุนนิยม วิธีการจัดเก็บภาษีและการใช้จ่ายเงินภาษีของรัฐบาลมักเป็นหัวข้อถกเถียงกันอย่างมากในการเมืองและเศรษฐศาสตร์ กรมสรรพกรซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐ เป็นผู้จัดเก็บภาษี หากไม่จ่ายภาษีเต็มจำนวน อาจมีการกำหนดบทลงโทษทางแพ่ง (เช่น การปรับหรือการริบทรัพย์) หรือทางอาญา (เช่น การกักขัง) ต่อปัจเจกบุคคลหรือนิติบุคคลนั้น

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "Total tax revenues". Our World in Data. สืบค้นเมื่อ 7 March 2020.
  2. Håland, Randi og Gunnar Håland (2000): «I begynnelsen», Aschehougs verdenshistorie bind 1, Oslo: Aschehoug (ISBN 8203224547), s. 84
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Liturgy_(ancient_Greece)
  4. The Evolution of the Eisphora in Classical Athens
  5. ^ Bruun, Patrick (1983): Asia møter Europa. Aschehougs verdenshistorie Bind 3, Oslo: Aschehoug. (ISBN 8252520189), side 148
  6. เยเนซิศ 47:24
  7. การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงสุโขทัย (พ.ศ. 1763 - พ.ศ. 1893)
  8. การจัดเก็บภาษีอากรในสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310)
  9. "ถ้าได้คุณได้มรดกเป็นบ้านหรือที่ดิน คุณต้องเสียภาษีมรดกเท่าไร". เพื่อนแท้เงินด่วน. 2023-04-04.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9