วันที่ในแบบMaya Long Count บนฝั่งตะวันออกของ Stela C จากQuirigua แสดงถึงวันสุดท้าย. ซึ่งอ่านว่า 13.0.0.0.0 4 อะเจา 8 ชุมคู และมักจะมีความสัมพันธ์กับวันที่ 11 หรือ 13 สิงหาคม 3114 ก่อนคริสตกาลในProleptic Gregorian calendar . ส่วนวันที่ 13.0.0.0.0 4 อะเจา 3 คันคิน มักจะมีความสัมพันธ์กับวันที่ 21 หรือ 23 ธันวาคม ค.ศ.2012.
ปรากฏการณ์ 2012 ประกอบด้วยขอบเขตความเชื่อทางโลกาวินาศศาสตร์ ว่าจะมีเหตุการณ์อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงหรือวินาศภัยฉับพลันเกิดขึ้นในวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012[ 1] [ 2] [ 3] ซึ่งวันนั้นกล่าวกันว่าเป็นวันสิ้นสุดของวัฏจักรปฏิทินแบบนับยาวเมโสอเมริกา 5,125 ปี[ 4] มีการเสนอข้อสนับสนุนทางดาราศาสตร์และสูตรพยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับวันดังกล่าวออกมาเป็นจำนวนมาก แต่ทั้งหมดล้วนไม่ได้รับการยอมรับจากวิชาการกระแสหลัก
การเปลี่ยนผ่านนี้ ขบวนการยุคใหม่ ตีความว่า วันนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของเวลาซึ่งโลกและพลโลกอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพหรือทางจิตวิญญาณในทางบวก และวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012 อาจเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่[ 5] คนอื่นเสนอว่า วันนั้นเป็นจุดสิ้นสุดของโลกหรือมหันตภัยที่คล้ายกัน มีการเสนอสมมติสภาพการสิ้นสุดของโลกต่าง ๆ ตั้งแต่การมาถถึงของโซลาร์แม็กซิมัม ครั้งถัดไป ปฏิกิริยาระหว่างโลกกับหลุมดำ ณ ใจกลางดาราจักร[ 6] หรือการชนกับดาวเคราะห์ชื่อ "นิบิรุ "
นักวิชาการหลายสาขาไม่สนใจความคิดว่าจะเกิดมหันตภัยใน ค.ศ. 2012 นักวิชาการเรื่องมายาอาชีพกล่าวว่า การคาดคะเนเคราะห์ที่ใกล้เข้ามานั้นไม่เคยถูกพบในบันทึกมายาดั้งเดิมเท่าที่มีอยู่เลย และความคิดที่ว่าปฏิทินแบบนับยาว "สิ้นสุด" ลงใน ค.ศ. 2012 เป็นการตีความประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมมายาที่ผิด[ 3] [ 7] มายาสมัยใหม่ไม่สนใจว่าวันดังกล่าวมีความสำคัญ และแหล่งข้อมูลดั้งเดิมเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวมีน้อยและไม่ลงรอยกัน โดยเสนอว่า มีการตกลงที่เป็นสากลน้อยมากถึงไม่มีเลยในหมู่พวกเขาว่าหากจะมีอะไรเกิดขึ้น วันดังกล่าวน่าจะมีความหมายอย่างไร[ 8] นอกจากนั้น นักดาราศาสตร์ และนักวิทยาศาสตร์อื่น ๆ เห็นว่าการทำนายวันสิ้นโลกเป็นการสรุปผลโดยปราศจากเหตุผล โดยกล่าวว่าเหตุการณ์ที่คาดการณ์ไว้นั้นขัดแย้งกับการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์อย่างง่าย[ 9]
ปฏิทินแบบนับยาวเมโสอเมริกา
เดือนธันวาคม ค.ศ. 2012 เป็นการสิ้นสุดของแบ็กทัน (b'ak'tun) ระยะเวลาในปฏิทินแบบนับยาวเมโสอเมริกาซึ่งถูกใช้ในอเมริกากลางก่อนการมาถึงของชาวยุโรป แม้ปฏิทินดังกล่าวน่าจะคิดค้นขึ้นโดยโอลเมก มากที่สุด[ 10] แต่ได้กลายมามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับอารยธรรมมายา ซึ่งยุคคลาสสิกของมายากินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 250 ถึง 900[ 11] ระบบการเขียนของมายาคลาสสิก ได้ถอดรหัสไว้อย่างชัดเจน[ 12] หมายความว่า รวมเรื่องเขียนของมายาและแผ่นวัตถุที่ได้รับการจารึกอยู่รอดมาได้จากก่อนการยึดครองของชาวยุโรป
ไม่เหมือนกับโซลคิน (tzolk'in) 260 วันที่ชาวมายายังใช้ในปัจจุบัน ปฏิทินแบบนับยาวเป็นแบบตรงมากกว่าวัฏจักร และรักษาเวลาคร่าว ๆ หน่วยละ 20 คือ 20 คิน (วัน) เป็น 1 อุยนัล, 18 อุยนัล (360 วัน) เป็น 1 ทัน, 20 ทัน เป็น 1 คาทัน และ 20 คาทัน (144,000 วัน) เป็น 1 แบ็กทัน สำหรับวิธีการอ่าน วันที่มายา 8.3.2.10.15 จะหมายถึง 8 แบ็กทัน 3 คาทัน 2 ทัน 10 อุยนัล และ 15 คิน[ 13] [ 14]
วันสิ้นโลก
ในวรรณกรรมมายามีประเพณีเกี่ยวกับ "ยุคสมัยของโลก" อย่างชัดเจน แต่บันทึกได้ถูกบิดเบือนไป ทิ้งให้ความเป็นไปได้หลายประการต้องตีความต่อไป[ 15] ตามโพโพล วูห์ บันทึกตำนานที่รวบรวมรายละเอียดของตำนานสร้างโลกซึ่งเป็นที่รู้จักกันในหมู่มายากีเช แห่งที่สูงยุคอาณานิคม เรากำลังอาศัยอยู่ในโลกที่สี่[ 16] โพโพล วูห์ อธิบายว่า พระเจ้าสร้างโลกที่ล้มแล้วขึ้นมาก่อนสามใบ ตามด้วยโลกที่สี่ที่สัมฤทธิ์ผล ซึ่งมนุษยชาติถูกจัดให้อยู่อาศัย ในปฏิทินแบบนับยาวมายา โลกที่แล้วสิ้นสุดหลัง 13 แบ็กทัน หรือราว 5,125 ปี "วันที่ศูนย์" ของปฏิทินแบบนับยาวเป็นจุดในอดีตที่เป็นจุดสิ้นสุดของโลกที่สามและเป็นจุดเริ่มต้นของโลกปัจจุบัน ซึ่งตรงกับวันที่ 11 หรือ 13 สิงหาคม 3114 ปีก่อนคริสตกาลในปฏิทินก่อนเกรโกเรียน [ 17] นี่หมายความว่าโลกที่สี่จะมาถึงจุดสิ้นสุดของแบ็กทันที่สิบสามเช่นเดียวกัน หรือวันที่มายา 13.0.0.0.0 หรือตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2012[ 1]
ใน ค.ศ. 1957 ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมายาและนักดาราศาสตร์ โม วูสเตอร์ มาเคมสัน เขียนว่า "การครบรอบของวัฎจักรใหญ่นาน 13 แบ็กทันจะมีความสำคัญสูงสุดต่อชาวมายา"[ 18] ใน ค.ศ. 1966 ไมเคิล ดี. โคล เขียนในหนังสือเดอะมายา ว่า:
“
มีข้อเสนอแนะ... ที่ว่าอาร์มาเกดดอนจะตามทันพลโลกที่เสื่อมทรามและการสรรค์สร้างทั้งหลายในวันสุดท้ายของ[แบ็กทัน]ที่สิบสาม ด้วยเหตุนี้ เอกภพ ของเราในปัจจุบันจะถูกทำลาย[ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2012] เมื่อวัฏจักรใหญ่ของปฏิทินแบบนับยาวเวียนมาบรรจบอีกครั้งหนึ่ง[ 19]
”
การคัดค้าน
"ไม่มีคำทำนายใด ๆ ในอารยธรรมมายาหรือแอซเท็คหรือเมโสอเมริกาอื่น ๆ ที่สนับสนุนว่าพวกเขาได้ทำนายการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉียบพลันหรือสำคัญไม่ว่ารูปแบบใดก็ตามใน ค.ศ. 2012 ความคิดที่ว่าวัฏจักรใหญ่จะมาสิ้นสุดลงล้วนแต่เป็นความคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ทั้งสิ้น"
—นักวิชาการเรื่องมายา มาร์ก ฟาน สโตน[ 20]
แม้นักวิชาการคนอื่นกล่าวซ้ำการตีความของโคลช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990[ 21] แต่นักวิจัยภายหลังกล่าวว่า การสิ้นสุดของแบ็กทันที่ 13 อาจเป็นเหตุควรเฉลิมฉลองก็เป็นได้[ 3] และมิได้เป็นจุดจบของปฏิทิน[ 22] ใน ค.ศ. 1990 นักวิชาการเรื่องมายา ลินดา เชอเล และเดวิด ไฟรเดล แย้งว่าอารยธรรมมายา "มิได้เข้าใจว่านี่เป็นจุดจบแห่งการสรรค์สร้างตามที่หลายฝ่ายเสนอมา"[ 23] ซูซาน มิลบราธ ภัณฑารักษ์ของส่วนศิลปะและโบราณคดีละตินอเมริกาที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟลอริดากล่าวว่า "เราไม่มีบันทึกหรือความรู้ว่า [ชาวมายา]จะคิดว่าโลกจะมาถึงกาลสิ้นสุด" ใน ค.ศ. 2012[ 24] "สำหรับชาวมายาโบราณ มันเป็นการเฉลิมฉลองครั้งใหญ่ที่เวลาผ่านไปสิ้นสุดทั้งวัฏจักร" แซนดรา โนเบิล ผู้เป็นผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อความคืบหน้าในการศึกษาเมโสอเมริกาในคริสตอลริเวอร์ รัฐฟลอริดา กล่าว และ "การกุเรื่องขึ้นทั้งหมดและเป็นโอกาสทำเงินของคนจำนวนมาก"[ 24] อี. วิลลิส แอนดรูส์ วี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยอเมริกากลางมหาวิทยาลัยทูเลน (MARI) "เรารู้ว่าชาวมายาคิดว่ามีวัฎจักรอันหนึ่งก่อนหน้าวัฏจักรอันนี้ และนั่นสื่อว่าพวกเขารู้สึกสบายใจกับแนวคิดที่ว่าจะมีวัฏจักรต่อจากนี้อีก"[ 25] นักโบราณคดีคนหนึ่งให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับปฏิทินใหม่ที่พบในซุลตัน (Xultún) ว่า "มายาโบราณทำนายว่าโลกจะดำเนินต่อไป ว่า 7,000 ปีนับจากนี้ ทุกสิ่งจะเหมือนเดิมอย่างนี้ เราคอยมองหาจุดจบ ชาวมายากำลังมองหาการประกันว่าทุกสิ่งจะไม่เปลี่ยนแปลง มันเป็นทัศนะที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง"[ 26]
ปัจเจกบุคคลที่โดดเด่นหลายคนผู้เป็นตัวแทนของมายาแห่งกัวเตมาลาประณามการเสนอว่าโลกจะสิ้นสุดในแบ็กทันที่ 13 ริการ์โด กาคัส ประธานกลุ่มองค์การชนพื้นเมืองแห่งกัวเตมาลา (Colectivo de Organizaciones Indígenas de Guatemala) กล่าวว่า วันที่นั้นมิได้เป็นการสิ้นสุดของมนุษยชาติ หรือการเติมเต็มคำทำนายหายนะที่พบในมายาชีลัมบาลัม แต่วัฏจักรใหม่ "สมมุติการเปลี่ยนแปลงในการรับรู้ของมนุษย์" มาร์ติง ซากัลซอลแห่งผู้ตรวจการสิทธิมนุษยชนของกัวเตมาลา กล่าวว่า การสิ้นสุดของปฏิทินไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับจุดจบของโลก หรือ ค.ศ. 2012[ 27]
ความเห็นร่วมก่อนหน้า
ความเห็นร่วมเกี่ยวกับมายากับอวสานวิทยา ของชาวยุโรปสืบย้อนไปได้ถึงยุคคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้รวบรวมผลงานชื่อ Libro de las profecias ระหว่างการเดินทางทางเรือใน ค.ศ. 1502 เมื่อเขาได้ยินเกี่ยวกับ "ไมอา" ครั้งแรกบนกัวนากา เกาะนอกชายฝั่งทางเหนือของฮอนดูรัส [ 28] โดยได้รับอิทธิพลจากงานเขียนของบิชอปปีแยร์ ดิแอลลี โคลัมบัสเชื่อว่าการค้นพบดินแดน "ห่างไกลที่สุด" ของเขา (และยังรวมไปถึงชาวมายาเอง) มีการทำนายไว้แล้วและจะนำมาซึ่งการสิ้นโลก ความกลัวอนันตกาลแพร่ขยายไประหว่างช่วงแรกของการพิชิตของสเปนอันเป็นผลมาจากการทำนายทางโหราศาสตร์ที่ด้รับความนิยมในยุโรปถึงมหาอุทกภัย ที่สองใน ค.ศ. 1524[ 28]
ต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 นักวิชาการชาวเยอรมัน แอร์นสท์ เฟิร์สเทมันน์ ตีความเดรสเดนโคเด็กซ์ หน้าสุดท้ายว่า แสดงจุดจบของโลกในอุทกภัยที่ก่อให้เกิดความหายนะรุนแรง เขาอ้างถึงการทำลายล้างโลกและอะพอคะลิพส์ แม้เขาจะมิได้อ้างถึงแบ็กทันที่ 13 หรือ ค.ศ. 2012 และไม่ชัดเนว่าเขากำลังหมายถึงเหตุการณ์ในอนาคตหรือไม่[ 29] ความคิดของเขาถูกกล่าวซ้ำโดยนักโบราณคดี ซิลวานัส มอร์เลย์[ 30] ผู้ถอดความจากเฟิร์สเทมันน์โดยตรง และเสริมลงไปในรูปของมหาอุทกภัย ความเห็นเหล่านี้ภายหลังถูกกล่าวซ้ำในหนังสือ ดิแอนเชียนมายา ของมอร์เลย์ ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกซึ่งตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1946[ 28]
การกล่าวถึงแบ็กทันที่ 13 ของชาวมายา
"ถ้าผมได้มีโอกาสไปยังชุมชนที่พูดภาษามายันสักแห่งและถามผู้คนที่อยู่ที่นั่นว่าจะเกิดอะไรขึ้นในปี ค.ศ. 2012 พวกเขาก็คงไม่รู้จะตอบอะไรดี ว่าโลกกำลังจะถึงกาลสิ้นสุดอย่างนั้นหรือ พวกเขาไม่เชื่อคุณหรอก พวกเรามีปัญหาจริง ๆ อยู่แล้วในเวลานี้ เช่นฝน"
—โฮเซ อุชง[ 31]
ชาวมายาในปัจจุบันทั้งหมดมิได้ยึดติดกับความสำคัญของแบ็กทันที่ 13 มากนัก ถึงแม้ว่าชนเผ่ามายันบางเผ่าซึ่งอาศัยอยู่บริเวณที่ราบสูงกัวเตมาลาจะยังคงใช้ระบบรอบปฏิทินกันอยู่ แต่ปฏิทินแบบนับยาวเป็นปฏิทินที่ใช้กันเพียงอย่างเดียวในสมัยคลาสสิก แต่ปัจจุบันได้รับการค้นพบเฉพาะการค้นหาของนักโบราณคดีเท่านั้น[ 32] ผู้อาวุโสชาวมายัน อะโปลินาริโอ ชิลี พิกซ์ตัน และนักโบราณคดีชาวเม็กซิกัน กุยเลอโม เบอร์นอล ทั้งสองได้กล่าวว่า "การสิ้นโลก" เป็นแนวคิดตะวันตกซึ่งมีเพียงส่วนน้อยหรือไม่มีส่วนใดเลยที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของชาวมายา เบอร์นอลเชื่อว่าแนวคิดดังกล่าวได้รับการยัดเยียดให้แก่ชาวมายาโดยชาวตะวันตก เนื่องจากตำนานอภินิหารของพวกเขา "ใช้ไปจนหมดแล้ว"[ 31] [ 33]
การให้ความสำคัญต่อแบ็กทันที่ 13 ของชาวมายาสมัยคลาสสิกยังคงไม่เป็นที่ทราบกันแน่ชัด จารึกมายาสมัยคลาสสิกส่วนใหญ่มุ่งเขียนถึงประวัติศาสตร์และไม่ได้เขียนคำนายอะไรไว้เลย[ 34] อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานสองชิ้นในคลังข้อมูลประวัติศาสตร์มายาที่อาจกล่าวถึงจุดสิ้นสุดของแบ็กทันที่ 13: อนุสาวรีย์ทอร์ทูกัวโร 6 และชีลัมบาลัม ซึ่งอาจมีความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน
วันที่หลังแบ็กทันที่ 13
บางครั้ง จารึกมายาได้อ้างถึงเหตุการณ์ที่ถูกทำนายไว้ในอนาคตหรือการระลึกถึงที่จะเกิดขึ้นหลังจากการสิ้นสุดของแบ็กทันที่ 13 การระบุดังกล่าวนี้ส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ "วันที่ระยะห่าง" การระบุแบบนี้จะระบุวันที่ในปฏิทินแบบนับยาว พร้อมกับตัวเลขระยะห่าง ซึ่งเมื่อบวกเพิ่มเข้าไปในวันที่ของปฏิทินแบบนับยาวแล้ว จะทำให้ทราบว่าเหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นเมื่อใดในอนาคตได้ บนแผ่นกระดานด้านตะวันตกที่วิหารแห่งคำจารึก ในปาเลงเก ส่วนหนึ่งของข้อความเสนอเหตุการณ์ในอนาคตถึงการครบรอบปฏิทินที่ 80 ของการขึ้นครองราชย์ของผู้ปกครองปาเลงเก คินิช จานาบ ปากาล (ตรงกับวันที่ 9.9.2.4.8 หรือตรงกับวันที่ 27 กรกฎาคม 615 ศักราชกลาง ในปฏิทินก่อนเกรโกเรียน ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยใช้วันที่ประสูติของปากาลเป็นตัวตั้ง (9.8.9.13.0) บวกเข้ากับตัวเลขระยะห่าง 10.11.10.5.8[ 35] การคำนวณดังกล่าวตรงกับการครบรอบปฏิทินที่ 80 นับตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของปากาล ซึ่งเกิดขึ้นในอนาคตถึง 4,000 ปี หรือตรงกับวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 4772[ 20] [ 35] [ 36]
อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ศิลาจารึก 1 ที่โคบา ซึ่งกล่าวถึงวันที่ในหน่วยยี่สิบเหนือแบ็กทันขึ้นไปอีก โดยกล่าวว่ามันคือปีที่เกิดขึ้นถัดจากนี้ไปอีก 4.134105 × 1028 ปี[ 23] หรือระยะเวลาที่ห่างจากปัจจุบันเท่ากันในอดีต[ 37] แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็ตาม วันที่ดังกล่าวคิดเป็น 1018 เท่าเมื่อเทียบกับอายุปัจจุบันของเอกภพ ซึ่งได้แสดงให้เห็นว่าไม่ใช่ชาวมายันทั้งหมดที่พิจารณาว่าวัฏจักรยาว 5,125 ปีมีความสำคัญที่สุด
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 Sitler 2006
↑ Defesche 2007
↑ 3.0 3.1 3.2 G. Jeffrey MacDonald (March 27, 2007). "Does Maya calendar predict 2012 apocalypse?" . USA Today . สืบค้นเมื่อ 2009-10-14 .
↑ 2012 Maya Calendar Mystery and Math, Surviving Yucatan
↑ Benjamin Anastas (1 July 2007). "The Final Days" (reproduced online, at KSU ) . The New York Times Magazine . New York. p. Section 6, p. 48. สืบค้นเมื่อ 18 May 2009 .
↑ "2012: Shadow of the Dark Rift" . NASA. 2011. สืบค้นเมื่อ 28 October 2012 .
↑ David Webster (September 25, 2007). "The Uses and Abuses of the Ancient Maya" (PDF) . The Emergence of the Modern World Conference, Otzenhausen, Germany: Penn State University . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf) เมื่อ 2009-11-09. สืบค้นเมื่อ 2009-10-14 . ;
↑ Aveni 2009 , 32–33, 48–51
↑ "2012: Beginning of the End or Why the World Won't End?" . NASA .
↑ Jorge Pérez de Lara and John Justeson (2006). "Photographic Documentation of Monuments with Epi-Olmec Script/Imagery" (PDF) . Foundation for the Advancement of Mesoamerican Studies. สืบค้นเมื่อ 2009-11-03 .
↑ Andrew K. Scherer (2007). "Population structure of the classic period Maya" . American Journal of Physical Anthropology . 132 (3): 367–380. doi :10.1002/ajpa.20535 . PMID 17205548 .
↑ Marcus, Joyce (1976). "The Origins of Mesoamerican Writing". Annual Review of Anthropology . 5 : 25–67. doi :10.1146/annurev.an.05.100176.000343 . JSTOR 2949303 .
↑ Schele and Freidel 1990 , p. 246
↑ Vincent H. Malmström (March 19, 2003). "The Astronomical Insignificance of Maya Date 13.0.0.0.0" (PDF) . Dartmouth College . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (pdf) เมื่อ 2009-06-11. สืบค้นเมื่อ 2009-05-26 . ;
↑ Gregory M. Severin. "The Paris Codex: Decoding an Astronomical Ephemeris". In Transactions of the American Philosophical Society , New Series, Vol. 71, No. 5 (1981). p. 75.
↑ Schele and Freidel 1990 , pp.429–430
↑ Michael Finley (2003). "The Correlation Question" . The Real Maya Prophecies: Astronomy in the Inscriptions and Codices . Maya Astronomy. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-12-07. สืบค้นเมื่อ 2007-05-11 .
↑ Makemson, Maude Worcester (June 1957). "The miscellaneous dates of the Dresden Codex". Publications of the Vassar College Observatory . 6 : i. Bibcode :1957PVasO...6....1M .
↑ Coe 1966 , p. 149
↑ 20.0 20.1 Mark Van Stone. "2012 FAQ (Frequently Asked Questions)" . FAMSI. สืบค้นเมื่อ 2010-03-02 .
↑ Carrasco 1990 , p. 39; Gossen and Leventhal 1993 , p. 191.
↑ Milbrath 1999 , p. 4
↑ 23.0 23.1 Schele and Freidel 1990 , pp. 81–82, 430–431
↑ 24.0 24.1 Susan Milbrath, Curator of Latin American Art and Archaeology, Florida Museum of Natural History, quoted in USA Today , Wednesday, March 28, 2007, p. 11D
↑ "The Sky Is Not Falling" เก็บถาวร 2011-04-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน New Wave , Tulane University, June 25, 2008.
↑ Vance, Eric (10 May 2012). "Unprecedented Maya Mural Found, Contradicts 2012 "Doomsday" Myth" . National Geographic . สืบค้นเมื่อ 11 May 2012 .
↑ Àngels Maso (2010). "La controversia detrás de la profecía del 2012" . Prensa Libre. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 10 January 2012. สืบค้นเมื่อ 1 January 2012 . ; ;
↑ 28.0 28.1 28.2 Hoopes 2011
↑ Förstemann 1906: 264
↑ Morley 1915: 32
↑ 31.0 31.1 Mark Stevenson (2009). "Next apocalypse? Mayan year 2012 stirs doomsayers" . Associated Press. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2011-04-16. สืบค้นเมื่อ 2009-10-12 .
↑ David Stuart (October 11, 2009). "Q & A about 2012" . Maya Decipherment . สืบค้นเมื่อ 2009-10-14 .
↑ The end of time: Maya calendar runs out soon, but don't panic , Rory Carroll, The Guardian , 13 October 2009, retrieved 22 October 2009
↑ Houston and Stuart 1996
↑ 35.0 35.1 Schele (1992, pp.93–95)
↑ Schele and Freidel (1990, p.430)
↑ Aveni 2009 , 49
บรรณานุกรม
Argüelles, José (1992). The Transformative Vision: Reflections on the Nature and History of Human Expression (1st ed.). Flagstaff, AZ: Light Technology Publications. ISBN 978-0-9631750-0-7 .
Argüelles, José (1987). The Mayan Factor: Path Beyond Technology . Rochester, VT: Inner Traditions/Bear and Company. ISBN 978-0-939680-38-2 .
Aveni, Anthony ; Hartung, H. (2000). "Water, Mountain, Sky: The Evolution of Site Orientations in Southeastern Mesoamerica". ใน Keber, E. Quiñones (บ.ก.). Precious Greenstone Precious Feather . Lancaster, CA: Labyrinthos.
Aveni, Anthony (2009). The End of Time: The Maya Mystery of 2012 . Boulder, Colorado: University Press of Colorado. ISBN 978-0-87081-961-2 .
Barkun, Michael (2006). A Culture of Conspiracy: Apocalyptic Visions in Contemporary America . Comparative studies in religion and society series, no. 15 (1st pbk print ed.). Berkeley: University of California Press. ISBN 978-0-520-24812-0 . OCLC 255948700 .
Boone, Elizabeth H. (1982). Zelia Nuttall (บ.ก.). The Book of the Life of the Ancient Mexicans, Containing an Account of Their Rites and Superstitions: An Anonymous Hispano-Mexican Manuscript Preserved at the Biblioteca Nazionale Centrale, Florence, Italy (Reprint of 1903 edition with additional commentary) . Berkeley.: University of California Press.
Callaway, Carl (2011). "Cosmogony and Prophecy: Maya Era Day Cosmology in the Context of the 2012 Prophecy" . Proceedings of the International Astronomical Union . 7 : 192–202. Bibcode :2011IAUS..278..192C . doi :10.1017/S1743921311012622 .
Campion, Nicholas (2011). "The 2012 Mayan Calendar Prophecies in the Context of the Western Millenarian Tradition" . Proceedings of the International Astronomical Union . 7 : 249–254. Bibcode :2011IAUS..278..249C . doi :10.1017/S1743921311012671 .
Carrasco, David (1990). Religions of Mesoamerica: Cosmovision and Ceremonial Centers . Religious traditions of the world [series]. San Francisco, California: Harper and Row . ISBN 978-0-06-061325-9 . OCLC 20996347 .
Carlson, John B. (2011). "Lord of the Maya Creations on His Jaguar Throne: The Eternal Return of Elder Brother God L to Preside Over the 21 December 2012 Transformation" . Proceedings of the International Astronomical Union . 7 : 203–213. Bibcode :2011IAUS..278..203C . doi :10.1017/S1743921311012634 .
Carlson, John S.; Mark Van Stone (2011). "The 2012 Phenomenon: Maya Calendar, Astronomy, and Apocalypticism in the Worlds of Scholarship and Global Popular Culture" . Proceedings of the International Astronomical Union . 7 : 178–185. Bibcode :2011IAUS..278..178C . doi :10.1017/S1743921311012609 .
Coe, Michael D. (1966). The Maya . Ancient peoples and places series, no. 52 (1st ed.). London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05061-3 . OCLC 318157568 .
Coe, Michael D. (1980). The Maya . Ancient peoples and places series, no. 10 (2nd ed.). London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05061-3 .
Coe, Michael D. (1984). The Maya . Ancient peoples and places series (3rd ed.). London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05061-3 .
Coe, Michael D. (1992). Breaking the Maya Code . London: Thames and Hudson. ISBN 978-0-500-05061-3 . OCLC 26605966 .
Coe, Michael D. (1999). The Maya . Ancient peoples and places series (6th, fully revised and expanded ed.). London and New York: Thames and Hudson . ISBN 978-0-500-28066-9 . OCLC 59432778 .
Jorge Pérez de Lara; John Justeson (2006). "Photographic Documentation of Monuments with Epi-Olmec Script/Imagery" (PDF) . Foundation for the Advancement of Mesoamerican Studies. สืบค้นเมื่อ 3 November 2009 .
Eberl, Markus; Christian Prager (2005). "Bʼolon Yokteʼ Kʼuh: Maya conceptions of war, conflict, and the underworld". ใน Peter Eeckhout; Geneviève Le Fort (บ.ก.). Wars and Conflicts in Prehispanic Mesoamerica and the Andes: Selected Proceedings of the Conference Organized by the Société des Américanistes de Belgique with the Collaboration of Wayeb (European Association of Mayanists), Brussels, 16–17 November 2002 . British Archaeological Reports International Series, no. 1385 . Oxford, UK: John and Erika Hedges Ltd. pp. 28–36. ISBN 978-1-84171-706-7 . OCLC 254728446 .
Edmonson, Munro S. (1982). The Ancient Future of the Itza: The Book of Chilam Balam of Tizimin . The Texas Pan American series (Text of Chilam Balam de Tizimín MS. translated and annotated by Munro S. Edmonson; 1st English trans. ed.). Austin: University of Texas Press. ISBN 978-0-292-70353-7 . OCLC 11318551 . (ในภาษามายายูกาตันและอังกฤษ)
Edmonson, Munro S. (1988). The Book of the Year: Middle American Calendrical Systems . Salt Lake City: University of Utah Press . ISBN 978-0-87480-288-7 . OCLC 17650412 .
Freidel, David; Schele, Linda; Parker, Joy (1993). Maya Cosmos: Three thousand years on the shaman's path . New York: William Morrow . ISBN 978-0-688-10081-0 . OCLC 27430287 .
Gelfer, Joseph, บ.ก. (2011). 2012: Decoding the Counterculture Apocalypse . London: Equinox Publishing . ISBN 978-1-84553-639-8 .
Gossen, Gary; Richard M. Leventhal (1993). "The topography of ancient Maya religious pluralism: a dialogue with the present" . ใน Jeremy A. Sabloff; John S. Henderson (บ.ก.). Lowland Maya Civilization in the Eighth Century A.D.: A Symposium at Dumbarton Oaks, 7th and 8 October 1989 . Washington, D.C.: Dumbarton Oaks Research Library and Collection . pp. 185–217 . ISBN 978-0-88402-206-0 . OCLC 25547151 .
Grofe, Michael (2011). "Measuring Deep Time: The Sidereal Year and the Tropical Year in Maya Inscriptions" . Proceedings of the International Astronomical Union . 7 : 214–230. Bibcode :2011IAUS..278..214G . doi :10.1017/S1743921311012646 .
Gronemeyer, Sven; MacLeod, Barbara (2010). "What Could Happen in 2012: A Re-Analysis of the 13-Bakʼtun Prophecy on Tortuguero Monument 6" (PDF) . Wayeb Notes . 34 : 1–68. ISSN 1379-8286 . OCLC 298471525 .
Hancock, Graham (1995). Fingerprints of the Gods . New York: Crown Publishers, Inc. ISBN 978-0-517-59348-6 .
Hanegraaff, Wouter (1996). New Age Religion and Western Culture: Esotericism in the Mirror of Secular Thought . Studies in the histories of religions series, no. 72 . Leiden, Netherlands: Brill . ISBN 978-90-04-10695-6 . ISSN 0169-8834 . OCLC 35229227 .
Hoopes, John W. (2009). "Review – The End of Time: The Maya Mystery of 2012 , by Anthony Aveni and 2012: Science and Prophecy of the Ancient Maya , by Mark Van Stone" (PDF) . Archaeoastronomy: The Journal of Astronomy in Culture . 22 : 139–145. ISSN 0190-9940 .
Hoopes, John W. (2011a). "A Critical History of 2012 Mythology" (PDF) . Proceedings of the International Astronomical Union . 7 : 240–248. Bibcode :2011IAUS..278..240H . doi :10.1017/S174392131101266X .
Hoopes, John W. (2011b). "Mayanism Comes of (New) Age". ใน Joseph Gelfer (บ.ก.). 2012: Decoding the Counterculture Apocalypse . London: Equinox Publishing. pp. 38–59. ISBN 978-1-84553-639-8 .
Hoopes, John W. (2011c). "New Age Sympathies and Scholarly Complicities: The History and Promotion of 2012 Mythology". Archaeoastronomy: The Journal of Astronomy in Culture . 24 : 180–201. ISSN 0190-9940 .
Hoopes, John W. (30 December 2011). "What You Should Know About 2012: Answers to 13 Questions" . Psychology Today .
Hoopes, John W. (2012). "The Hidden History of 2012". Fortean Times . 285 : 40–43.
Jenkins, John Major (1998). Maya Cosmogenesis 2012: The True Meaning of the Maya Calendar End-Date . Rochester, VT: Bear and Company . ISBN 978-1-879181-48-9 .
Jenkins, John Major (2009). The 2012 Story: The Myths, Fallacies, and Truth Behind the Most Intriguing Date in History . Los Angeles, CA: Tarcher. ISBN 978-1-58542-766-6 .
Luxton, Richard N. (1996). The Book of Chumayel: The Counsel Book of the Yucatec Maya, 1539–1638 . Walnut Creek, CA: Agaean Park Press. ISBN 978-0-89412-244-6 .
MacLeod, Barbara (2011). "The God's Grand Costume Ball: A Classic Maya Prophecy for the Close of the Thirteenth Bakʼtun" . Proceedings of the International Astronomical Union . 7 : 231–239. Bibcode :2011IAUS..278..231M . doi :10.1017/S1743921311012658 .
Makemson, Maude Worcester (1951). The Book of the Jaguar Priest: a translation of the Book of Chilam Balam of Tizimin, with commentary . New York: H. Schuman. OCLC 537810 .
Makemson, Maude Worcester (June 1957). "The miscellaneous dates of the Dresden Codex". Publications of the Vassar College Observatory . 6 : i. Bibcode :1957PVasO...6....1M .
McKenna, Terence and Dennis (1975). The Invisible Landscape: Mind, Hallucinogens, and the I Ching (1st ed.). Seabury. ISBN 978-0-8164-9249-7 .
McKenna, Terence and Dennis (1993). The Invisible Landscape: Mind, Hallucinogens, and the I Ching . HarperCollins. ISBN 978-0-06-250635-1 .
Meeus, Jean (1997). Ecliptic and galactic equator . Mathematical Astronomy Morsels. Richmond, VA: Willmann-Bell. ISBN 978-0-943396-51-4 . OCLC 36126686 .
Milbrath, Susan (1999). Star Gods of the Maya: Astronomy in Art, Folklore, and Calendars . The Linda Schele series in Maya and pre-Columbian studies. Austin: University of Texas Press. ISBN 978-0-292-75225-2 . OCLC 40848420 .
Miller, Mary ; Karl Taube (1993). The Gods and Symbols of Ancient Mexico and the Maya: An Illustrated Dictionary of Mesoamerican Religion . London: Thames & Hudson . ISBN 978-0-500-05068-2 . OCLC 27667317 .
Morley, Sylvanus (1983). The Ancient Maya (4th ed.). Palo Alto, CA: Stanford University Press. ISBN 978-0-8047-1288-0 .
Nuttall, Zelia, บ.ก. (1903). The Book of the Life of the Ancient Mexicans, Containing an Account of Their Rites and Superstitions: An Anonymous Hispano-Mexican Manuscript Preserved at the Biblioteca Nazionale Centrale, Florence, Italy . Berkeley, CA: University of California.
Pinchbeck, Daniel (2006). 2012: The Return of Quetzalcoatl . New York: Tarcher . ISBN 978-1-58542-483-2 . OCLC 62421298 .
Roys, Ralph (1967). The Book of Chilam Balam of Chuyamel . Charleston, South Carolina: Forgotten Books. ISBN 978-1-60506-858-9 .
Rice, Prudence M. (2007). Maya calendar origins: monuments, mythistory, and the materialization of time . Austin: University of Texas Press. ISBN 978-0-292-71692-6 .
Schele, Linda (1992). "A New Look at the Dynastic History of Palenque". ใน Victoria R. Bricker (Volume), with Patricia A. Andrews (บ.ก.). Supplement to the Handbook of Middle American Indians, Vol. 5: Epigraphy . Austin: University of Texas Press. pp. 82–109. ISBN 978-0-292-77650-0 . OCLC 23693597 .
Schele, Linda ; Freidel, David (1990). A Forest of Kings: The Untold Story of the Ancient Maya (pbk reprint ed.). New York: Harper Perennial . ISBN 978-0-688-11204-2 . OCLC 145324300 .
Severin, Gregory M. (1981). "The Paris Codex: Decoding an Astronomical Ephemeris" . Transactions of the American Philosophical Society . 71 (5): 1–101. doi :10.2307/1006397 . JSTOR 1006397 .
Schilling, Govert (2008). The Hunt For Planet X: New Worlds and the Fate of Pluto . Springer. ISBN 978-0-387-77804-4 .
Matthew J. Sharps; Schuyler W. Liao; Megan R. Herrera (January–February 2013). "It's the End of the World and They Don't Feel Fine: The Psychology of December 21, 2012" . Skeptical Inquirer . 37 (1).
South, Stephanie (2009). 2012: Biography of a Time Traveler, The Journey of José Argüelles . Franklin Lakes, New Jersey: New Page Books. ISBN 978-1-60163-065-0 .
Spencer, Neil (2000). "Love Shall Steer the Stars – The Long Dawning of the Age of Aquarius". True as the Stars Above . ISBN 978-0-575-06769-1 .
Van Stone, Mark (2008). "It's Not the End of the World: What the Ancient Maya Tell Us About 2012" . FAMSI.
Van Stone, Mark (2011). "It's Not the End of the World: Emic Evidence for Local Diversity in the Maya Long Count" . Proceedings of the International Astronomical Union . 7 : 186–191. Bibcode :2011IAUS..278..186V . doi :10.1017/S1743921311012610 .
Voss, Alexander (2006). "Astronomy and Mathematics". ใน Nikolai Grube (บ.ก.). Maya: Divine Kings of the Rain Forest . Eva Eggebrecht and Matthias Seidel (assistant eds.). Cologne: Könemann. pp. 130 –143. ISBN 978-3-8331-1957-6 . OCLC 71165439 .
Wagner, Elizabeth (2006). "Maya Creation Myths and Cosmography". ใน Nikolai Grube (บ.ก.). Maya: Divine Kings of the Rain Forest . Eva Eggebrecht and Matthias Seidel (assistant eds.). Cologne: Könemann. pp. 280 –293. ISBN 978-3-8331-1957-6 . OCLC 71165439 .
Waters, Frank (1975). Mexico Mystique: The Coming Sixth World of Consciousness . Chicago, Illinois: Sage Books/Swallow Press . ISBN 978-0-8040-0663-7 . OCLC 1364766 .
Whitesides, Kevin; John W. Hoopes (2012). "Seventies Dreams and 21st Century Realities: The Emergence of 2012 Mythology". Zeitschrift für Anomalistik . 12 : 50–74.
Wright, Ronald (2005). Stolen Continents: 500 Years of Conquest and Resistance in the Americas . Mariner. pp. 165 –166. ISBN 978-0-618-49240-4 .
York, Michael (1995). The Emerging Network: A Sociology of the New Age and Neo-Pagan Movements . Lanham, MD: Rowman & Littlefield . ISBN 978-0-8476-8000-9 . OCLC 31604796 .