Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ธนบัตร

ธนบัตรสกุลต่าง ๆ

ธนบัตร หรือเรียกกันโดยทั่วไปว่า แบงค์ เป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยน ซึ่งสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย ธนบัตรจะใช้ควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์ แต่โดยทั่วไปแล้วธนบัตรมักใช้สำหรับเงินจำนวนมาก ส่วนเหรียญกษาปณ์ใช้กับเงินจำนวนน้อย หรือเศษสตางค์

ในสมัยก่อน ค่าของเงินจะวัดโดยวัตถุที่นำมาใช้เป็นเงิน เช่น เบี้ย, เงิน หรือ ทอง แต่การถือวัตถุมีค่าเหล่านี้ออกไปจำนวนมากย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สะดวกและเป็นอันตราย จึงใช้ธนบัตรเพื่อเป็นสื่อแลกเปลี่ยนแทน ธนบัตรเป็นเหมือนสัญญาว่าจะให้เงินไปจำนวนหนึ่ง ซึ่งภายหลังสามารถนำไปแลกคืนเป็นเงินหรือทองได้ ภายหลังจึงเป็นการแลกเปลี่ยนเพื่อสิ่งของและบริการ ไม่ต้องแลกเป็นเงินหรือทองอีก

การใช้ธนบัตรแทนเงินแท่งและทองคำ ธนบัตรฉบับแรกในประวัติศาสตร์การเงินของโลก ฮ่องเต้ซ่งไท่จู่หรือจ้าวกวนยิ่น 宋太祖趙匡胤 ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ซ่งเหนือ 北宋(ค.ศ.927-976)มีรับสั่งให้เรียกคืนเงินตราโลหะ เงินและทองคำ แล้วให้ผลิตเงินตราที่ทำด้วยเหล็กหล่อทดแทน และทรงห้ามนำเข้าเงินตราประเภททองแดง เงินโลหะเหล็ก กลายเป็นสิ่งที่ซื้อขายแลกเปลื่ยนสินค้าในตลาดได้ แต่เงินตราเหล็กหล่อดังกล่าวมีน้ำหนักมากและมีอัตราแลกเปลื่ยน 1000 เหวิน ต่อ น้ำหนักโลหะเหล็ก 25 กก. แต่พกติดตัวไม่สะดวก ในการซื้อขายสิ้นค้าถึงกับต้องใช้รถม้าบรรทุก จึงเกิดสำนักงาน รับฝากเงินตราโลหะที่เรียกว่าเจี้ยวจื่อปู้ “交子铺" ขึ้น เพื่อบริการบรรดาพ่อค้าที่ต้องพกพาเงินจำนวนมาก ๆ ที่รับฝากนี้จะออกใบรับฝากเงินให้ที่เรียกว่า ตั๋วเงิน ตั๋วเงินนี้ แรกเริ่มเป็นเอกสารรับฝากเงิน โดยระบุจำนวนเงินฝากไว้บนหน้าตั๋วเมื่อผู้ทรงตั๋วเงินมาเบิกเงินจะถูกคิดค่าธรรมนเนียมฝากเงินอัตราร้อยละ 3. ที่เมืองเฉินตู เมืองหลวงของมณฑลเสฉวน ปรากฏมีการใช้ธนบัตรกระดาษขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเงินตราโลก มีชื่อเรียกว่าเจียวจื่อ (交子, jiāozǐ) ในขณะที่ระบบซื้อขายกันในตลาด ยังมีการใช้ เงินตรา ที่เป็นโลหะอยู่ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักสะสมเงินตรายอมรับและถือว่าเจียวจื่อ (交子) นี้เป็นธนบัตรกระดาษรุ่นแรกที่สุดในประวัติศาสตร์เงินตรา ภายหลังจากที่ราชสำนักซ่งได้ก่อตั้งหน่วยงานเจียวจื่อ (交子)ขึ้นแล้ว ก็มีการออกธนบัตรใช้เหมือนกัน ธนบัตรเจี้ยวจื่อจึงมี 2 ประเภทคือ ธนบัตรราชการ “官交子” เป็นธนบัตรที่พิมพ์ออกใช้โดยราชสำนักซ่ง ภายใต้การกำกับของหน่วยงานจัดการธนบัตรในราชสำนัก และ อีกชนิดหนึ่งคือ ธนบัตรเอกชน “私交子”เป็นธนบัตรที่นิยมใช้ในหมู่ราษฎร

ประวัติ

ประเทศไทยนำธนบัตรออกใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2445 ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยามรัตนโกสินทร ศก 121 โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (กระทรวงการคลัง ในปัจจุบัน) เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล การสั่งพิมพ์และนำออกใช้ธนบัตรภายในประเทศ จนกระทั่ง มีการจัดตั้งธนาคารแห่งประเทศไทยขึ้นเมื่อพ.ศ. 2485 กิจการทั้งปวงและอำนาจในการดำเนินการเกี่ยวกับธนบัตร จึงถูกโอนมาอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อพ.ศ. 2512 ธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถจัดตั้งโรงพิมพ์ธนบัตรขึ้นเป็นผลสำเร็จ จึงได้พิมพ์ธนบัตรขึ้นใช้เองภายในประเทศ ได้แก่ ธนบัตรแบบ 11 รวมทั้งแบบอื่น ๆ เป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน

ก่อนที่จะมีการนำธนบัตรเข้ามาใช้ร่วมกับเงินตราชนิดอื่น ๆ ในระบบการเงินของประเทศ ชนชาติไทยได้ใช้หอยเบี้ย ประกับ (ดินเผาที่มีตราประทับ) เงินพดด้วง ปี้กระเบื้อง และเหรียญกษาปณ์เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน จนกระทั่งในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติและเปิดเสรีทางการค้า ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จนไม่สามารถผลิตเงินพดด้วงซึ่งเป็นเงินตราหลักในขณะนั้นได้ทันต่อความต้องการ ทั้งยังมีผู้ทำเงินพดด้วงปลอมออกใช้ปะปนในท้องตลาด จนเป็นปัญหาเดือดร้อนกันทั่วไป ในพ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดแรกขึ้นใช้ในระบบเงินตราของประเทศ เรียกว่า หมาย

ต่อมาระหว่างพ.ศ. 2415 - 2416 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดปัญหาเหรียญกษาปณ์ชนิดราคาต่ำซึ่งเป็นเงินปลีกที่ทำจากดีบุกและทองแดงขาดแคลน ประกอบกับมีการนำ ปี้ ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ใช้แทนเงินในบ่อนการพนันมาใช้แทนเงินตรา ในพ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้จัดทำเงินกระดาษชนิดราคาต่ำเรียกว่า อัฐกระดาษ ให้ราษฎรได้ใช้จ่ายแทนเงินเหรียญที่ขาดแคลน แต่อัฐกระดาษก็ไม่เป็นที่นิยมใช้เช่นเดียวกับหมาย

เงินกระดาษชนิดต่อมา คือ บัตรธนาคาร ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศสามธนาคารที่เข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทย ได้แก่ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ ธนาคารชาร์เตอร์แห่งอินเดีย ออสเตรเลีย และจีน และธนาคารแห่งอินโดจีน ได้ขออนุญาตนำบัตรธนาคารออกใช้ เมื่อพ.ศ. 2432, 2441, และ 2442 ตามลำดับ เนื่องจากในช่วงเวลานั้นรัฐบาลประสบปัญหาไม่สามารถผลิตเหรียญกษาปณ์ได้ทันต่อการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ

บัตรธนาคาร มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดหนึ่งที่ใช้อำนวยความสะดวกในการชำระหนี้ระหว่างธนาคารกับลูกค้า ดังนั้น การหมุนเวียนของบัตรธนาคารจึงจำกัดอยู่ในวงแคบเฉพาะบุคคลที่มีความจำเป็นต้องติดต่อธุรกิจกับธนาคารดังกล่าวเท่านั้น อย่างไรก็ดี บัตรธนาคารมีส่วนช่วยให้ประชาชนรู้จักคุ้นเคยกับเงินที่เป็นกระดาษมากขึ้น และเนื่องจากมีระยะเวลาการนำออกใช้นานกว่า 13 ปี (พ.ศ. 2432 - 2445) ทำให้การเรียกบัตรธนาคารทับศัพท์ว่า แบงก์โน้ต หรือ แบงก์ ในขณะนั้น สร้างความเคยชินให้คนไทยเรียกธนบัตรของรัฐบาลที่ออกใช้ในภายหลังว่า แบงก์ จนติดปากมาถึงทุกวันนี้

ขณะเดียวกันรัฐบาลในสมัยนั้นได้พิจารณาเห็นว่าบัตรธนาคารที่สาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศออกใช้อยู่ในขณะนั้น มีลักษณะคล้ายกับเงินตราที่รัฐบาลควรจัดทำเสียเอง ในพ.ศ. 2433 จึงได้เตรียมการออกตั๋วเงินของกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เรียกว่า เงินกระดาษหลวง โดยสั่งพิมพ์จากห้างกีเชคเก้ แอนด์ เดวรีเอ้นท์ ประเทศเยอรมนี จำนวน 8 ชนิดราคา เงินกระดาษหลวงได้ส่งมาถึงกรุงเทพฯ เมื่อพ.ศ. 2435 แต่เนื่องจากความไม่พร้อมของทางการในการบริหาร จึงมิได้นำเงินกระดาษหลวงออกใช้

จนกระทั่งพ.ศ. 2445 จึงเข้าสู่วาระสำคัญในการออกธนบัตร กล่าวคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระบรมราชโองการให้ตรา พระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 ขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2445 อีกทั้งโปรดให้จัดตั้ง กรมธนบัตร ในสังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เพื่อทำหน้าที่ออกธนบัตรและรับจ่ายเงินขึ้นธนบัตร และเปิดให้ประชาชนนำเงินตราโลหะมาแลกเปลี่ยนเป็นธนบัตรตั้งแต่วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2445 จึงนับว่าธนบัตรได้เข้ามามีบทบาทในระบบการเงินของไทยอย่างจริงจังนับแต่นั้นมา

ธนบัตรที่นำออกใช้ตามพระราชบัญญัติธนบัตรสยาม รัตนโกสินทรศก 121 นั้น มีลักษณะเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินของรัฐบาลที่สัญญาจะจ่ายเงินตราให้แก่ผู้นำธนบัตรมายื่นโดยทันที ต่อมา ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2471 ซึ่งกำหนดให้เงินตราของประเทศประกอบด้วยธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ ตลอดจนให้ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย จึงเป็นการเปลี่ยนลักษณะของธนบัตรจากตั๋วสัญญาใช้เงินมาเป็นเงินตราอย่างสมบูรณ์

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9