ท่าอากาศยานเชียงใหม่ หรือ สนามบินเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai International Airport) (IATA: CNX , ICAO: VTCC) ตั้งอยู่เลขที่ 60 ถนนมหิดล ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ทางตะวันตกเฉียงใต้ ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ 4 กิโลเมตร เป็นท่าอากาศยานที่ให้บริการเที่ยวบินระหว่างประเทศ (International Airport)[1] และเป็นท่าอากาศยานนานาชาติ 1 ใน 6 แห่ง ที่บริหารงานโดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีผู้อำนวยการท่าอากาศยานเชียงใหม่ดูแล เป็นท่าอากาศยานที่สำคัญ เป็นศูนย์กลางทางการบินของภาคเหนือ โดยมีเที่ยวบินเข้าออกหนาแน่นเป็นลำดับสี่ รองจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานภูเก็ต
ข้อมูลทั่วไป
สนามบินเชียงใหม่เดิมชื่อ สนามบินสุเทพ ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2464 การตั้งสนามบินเชียงใหม่เป็นพระดำริของนายพลโทหม่อมเจ้าบวรเดช อุปราชมณฑลพายัพ โดยเลือกพื้นที่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ซึ่งขณะนั้นมีสภาพเป็นป่าไผ่ เมื่อสนามบินสร้างเสร็จได้มอบให้อยู่ในการดูแลของกระทรวงกลาโหม พร้อมกันนั้น ภาคเจ้านายและประชาชนเชียงใหม่ได้รวบรวมเงินเพื่อจัดซื้อเครื่องบินแบบเบร์เก 14 (Bréguet 14) ให้กองทัพไว้ใช้ในราชการฝ่ายเหนือ และมีการตั้งชื่อเครื่องบินนี้ว่า จังหวัดเชียงใหม่ 1
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 มีการเปิดสนามบินอย่างเป็นทางการ เครื่องบินจังหวัดเชียงใหม่ 1 ได้บินมาแตะพื้นรันเวย์สนามบินเชียงใหม่เป็นปฐมฤกษ์ ต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น สนามบินเชียงใหม่ และ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ตามลำดับ
ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่มีพื้นที่กว่า 1,600 ไร่ ปัจจุบันมีอาคารผู้โดยสาร 2 หลัง คือหลังเดิม เป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และหลังใหม่ เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานแห่งนี้สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 8 ล้านคนต่อปี และมีสถิติปริมาณอากาศยานพาณิชย์ขึ้นลง ในปี พ.ศ. 2549 จำนวน 24,469 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2550 จำนวน 26,708 เที่ยวบิน, พ.ศ. 2554 จำนวน 32,445 เที่ยวบิน และล่าสุด พ.ศ. 2555 จำนวนมากกว่า 37,000 เที่ยวบิน ในวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2561 สายการบินวิสดอมแอร์เวย์ทำการบินประจำที่ท่าอากาศยานแห่งนี้โดยทำการบินเที่ยวบินปฐมฤกษ์จากท่าอากาศยานน่านนครมายังท่าอากาศยานเชียงใหม่ด้วยเครื่องบินทะเบียน HS-WIA[2] เส้นทางบินที่ไกลที่สุดของท่าอากาศยานเชียงใหม่ได้แก่ TG922 ทำการบินจากเชียงใหม่แวะกรุงเทพมหานครปลายทางแฟรงเฟิร์ต และ TG923 ทำการบินจากแฟรงเฟิร์ตแวะที่กรุงเทพมหานครปลายทางเชียงใหม่ ซึ่งปัจจุบันได้ยกเลิกไปแล้ว
ท่าอากาศยานเชียงใหม่ สามารถรับเครื่องบิน ชนิด แอร์บัส เอ380 และ โบอิง 747 ได้
โดยวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2550 เครื่องบิน แอร์บัส A380 สายการบินไทย ได้ทำการบินมาลงที่ท่าอากาศยานเชียงใหม่ [3]
โครงสร้าง
ปีกทิศเหนือ
โถงกลางอาคาร
- มีร้านค้าขายสินค้าที่ระลึก ร้านหนังสือ ร้านอาหาร
- บริเวณตรงกลางเป็นห้องรับรองพิเศษของสายการบินการบินไทย บางกอกแอร์เวย์
- ด่านตรวจสัตว์น้ำท่าอากาศยานเชียงใหม่
- ศุลกากร
- ร้านไอศกรีม Dairy Queen
- เป็นที่ตั้งของไปรษณีย์ไทย สาขาท่าอากาศยานเชียงใหม่
- ตำรวจท่องเที่ยว ประจำท่าอากาศยานเชียงใหม่
- มีประตูทางออกจากอาคาร
ปีกทิศใต้
อาคารผู้โดยสารชั้นที่ 2
ปีกทิศเหนือ ก่อนเข้าประตู (Gate) อาคารผู้โดยสารภายประเทศ
- ร้าน ภัตตาคารการบินไทย
- ร้าน วนัสนันท์
- จุดตรวจความปลอดภัย วัตถุอันตราย DRG
- ร้านสินค้าปลอดภาษี King Power
โถงกลางอาคาร
- ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานเชียงใหม่
- ร้าน Mcdonald's
- ร้าน Burger King
- ร้าน Starbucks
ปีกทิศใต้ ก่อนเข้าประตู (Gate) อาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศ
สายการบิน
สายการบินที่ให้บริการ
สายการบิน
|
จุดหมายปลายทาง
|
หมายเหตุ
|
การบินไทย |
กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ |
ภายในประเทศ
|
บางกอกแอร์เวย์ส |
กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, กระบี่, เกาะสมุย, ภูเก็ต |
ภายในประเทศ
|
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ |
กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, ภูเก็ต |
ภายในประเทศ
|
ไทยแอร์เอเชีย |
กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ, กระบี่, ขอนแก่น, ภูเก็ต, สุราษฎร์ธานี, หัวหิน, หาดใหญ่ |
ภายในประเทศ
|
ไทยไลอ้อนแอร์ |
กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, อู่ตะเภา |
ภายในประเทศ
|
นกแอร์ |
กรุงเทพฯ–ดอนเมือง, อุดรธานี |
ภายในประเทศ
|
โคเรียนแอร์ |
โซล–อินช็อน |
ระหว่างประเทศ
|
เชจูแอร์ |
โซล–อินช็อน |
ระหว่างประเทศ
|
เอเชียนาแอร์ไลน์
|
โซล–อินช็อน |
ระหว่างประเทศ
|
จินแอร์
|
โซล–อินช็อน |
ระหว่างประเทศ
|
อีสสตาร์เจ็ท
|
โซล–อินช็อน, ปูซาน |
ระหว่างประเทศ
|
ไทยเวียดเจ็ทแอร์ |
โอซากา |
ระหว่างประเทศ
|
อีวีเอแอร์ |
ไทเป |
ระหว่างประเทศ
|
ไชนาแอร์ไลน์
|
ไทเป |
ระหว่างประเทศ
|
สตาร์ลักซ์แอร์ไลน์
|
ไทเป |
ระหว่างประเทศ
|
เอชเคเอ็กซ์เพรส |
ฮ่องกง |
ระหว่างประเทศ
|
ฮ่องกงแอร์ไลน์
|
ฮ่องกง |
ระหว่างประเทศ
|
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ |
กว่างโจว[4] |
ระหว่างประเทศ
|
สปริงแอร์ไลน์ |
กว่างโจว, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง, ซีอาน |
ระหว่างประเทศ
|
ไลอ้อนแอร์ |
เฉิงตู |
ระหว่างประเทศ
|
แอร์เอเชีย |
กัวลาลัมเปอร์ |
ระหว่างประเทศ
|
ไทยแอร์เอเชีย |
ไทเป, ฮ่องกง, ฮานอย, ปักกิ่ง เฉพาะฤดูกาล: สิงคโปร์ ระงับชั่วคราว: ดานัง |
ระหว่างประเทศ
|
มาเลเซียแอร์ไลน์ |
กัวลาลัมเปอร์ |
ระหว่างประเทศ
|
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์ |
คุนหมิง, เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง |
ระหว่างประเทศ
|
จูนเหยาแอร์ไลน์ |
เซี่ยงไฮ้–ผู่ตง |
ระหว่างประเทศ
|
รุ่ยลี่แอร์ไลน์ |
คุนหมิง, เชียงรุ่ง |
ระหว่างประเทศ
|
สกู๊ต |
สิงคโปร์ |
ระหว่างประเทศ
|
แอร์ไชนา |
ปักกิ่ง[5] |
ระหว่างประเทศ
|
ไห่หนานแอร์ไลน์ |
เชินเจิ้น |
ระหว่างประเทศ
|
การบินลาว |
หลวงพระบาง |
ระหว่างประเทศ
|
เมียนมาร์แนชนัลแอร์ไลน์
|
ย่างกุ้ง |
ระหว่างประเทศ
|
เมียนมาร์แอร์เวย์อินเตอร์แนชนัล
|
ย่างกุ้ง, มัณฑะเลย์ (เริ่ม 10 ก.พ. 2025) |
ระหว่างประเทศ
|
เซบูแปซิฟิค
|
มะนิลา |
ระหว่างประเทศ
|
เอทิฮัด |
อาบูดาบี (เริ่ม 3 พ.ย. 2025)[6] |
ระหว่างประเทศ
|
สายการบินที่เคยทำการบิน
สายการบิน
|
จุดหมายปลายทาง
|
ไทยสมายล์ |
ภูเก็ต, กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, นครศรีธรรมราช, เกาะสมุย, กรุงเทพฯ–สุวรรณภูมิ
|
การบินไทย |
แม่ฮ่องสอน, กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, หาดใหญ่, เชียงราย
|
กานต์แอร์
|
กรุงเทพฯ-ดอนเมือง, แม่ฮ่องสอน, ปาย, แม่สะเรียง, แม่สอด, น่าน, พิษณุโลก, เชียงราย, พัทยา, หัวหิน, ขอนแก่น, นครราชสีมา, อุบลราชธานี
|
นกแอร์ |
หาดใหญ่, แม่ฮ่องสอน, ขอนแก่น, อู่ตะเภา, อุบลราชธานี, หนานหนิง
|
กาตาร์แอร์เวย์ |
โดฮา
|
ไทยไลอ้อนแอร์ |
หาดใหญ่
|
บางกอกแอร์เวย์ส |
แม่ฮ่องสอน, มัณฑะเลย์, ย่างกุ้ง, หลวงพระบาง, อุดรธานี
|
การบินลาว
|
เวียงจันทร์
|
ไชนาเซาเทิร์นแอร์ไลน์ |
กว่างโจ
|
คาเธ่ย์ ดรากอน
|
ฮ่องกง
|
จุนเหยาแอร์ไลน์
|
เซี่ยงไฮ้ ผู่ตง
|
ซานตงแอร์ไลน์
|
จี่หนาน, ฉงชิ่ง
|
ไชนาอีสเทิร์นแอร์ไลน์
|
ปักกิ่ง
|
ไทยไลอ้อนแอร์
|
กว่างโจว
|
ทีเวย์แอร์
|
โซล-อินซ็อน
|
ไทยแอร์เอเชีย
|
ฉางชา, เฉวียนโจว, ซานย่า, เซินเจิ้น, ดานัง, มาเก๊า, หนานซาง
|
ลัคกี้แอร์
|
คุณหมิง
|
เวียดเจ็ตแอร์
|
นครโฮจิมินห์
|
เสฉวนแอร์ไลน์
|
เฉิงตู, ซีอาน
|
แอร์ไชน่า
|
อู่ฮั่น
|
ข้อมูลการจราจรในแต่ละปี
ที่มา: บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)[7]
ปีปฏิทิน |
ผู้ใช้บริการ (คน) |
เปลี่ยนแปลง |
เที่ยวบิน
|
2551
|
3,062,909 |
— |
—
|
2552
|
3,081,645 |
0.61% |
—
|
2553
|
3,178,941 |
3.15% |
27,485
|
2554
|
3,880,037 |
22.05% |
32,445
|
2555
|
4,491,331 |
15.75% |
36,981
|
2556
|
5,172,753 |
15.17% |
43,366
|
2557
|
6,630,624 |
28.18% |
52,642
|
2558
|
8,365,851 |
26.17% |
63,843
|
2559
|
9,446,320
|
12.91%
|
69,202
|
2560
|
10,230,280
|
8.29%
|
71,994
|
2561
|
10,989,869
|
7.42%
|
78,210
|
2562
|
11,333,548
|
3.13%
|
80,751
|
2563
|
4,851,475
|
57.19%
|
35,058
|
ต.ค. 2564
|
1,092,046
|
77.49
|
10,858
|
2565
|
3,532,064
|
|
26,757
|
2566
|
5,870,929
|
66.71%
|
40,412
|
ม.ค-ก.พ 2567
|
1,691,254
|
14.73%
|
10,349
|
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
กรุงเทพและปริมณฑล | |
---|
ภาคเหนือ | |
---|
ภาคใต้ | |
---|
|
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | คมนาคม | |
---|
การท่องเที่ยว | |
---|
ธุรกิจ | |
---|
อุตสาหกรรม | |
---|
|
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
เหตุการณ์ | |
---|
|
---|
|
|