ตำบลท่าฉลอมท่าฉลอม เป็นตำบลในอำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร และยังเป็นชื่อของพื้นที่โดยรอบด้วย ประวัติท่าฉลอมมีประวัติสื่อถึงสมัยอยุธยาตอนกลางในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิที่พระองค์สถาปนา "บ้านท่าจีน" เป็นเมือง ท่าฉลอมและมหาชัยในเวลานั้นเป็นชุมชนชาวจีน โดยมีท่าเรือจีนหลายแห่งทั้งสองฝั่งแม่น้ำท่าจีน ทำให้แม่น้ำนี้มีชื่อเรียกว่า ท่าจีน[1][2][3] ท่าฉลอมเป็นสุขาภิบาลแห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งสถาปนาโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2448 หลังทอดพระเนตรเห็นความสกปรกของนครเขื่อนขันธ์ (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ) และเทียบว่า "โสโครกเหมือนกับตลาดท่าจีน"[4] ดังนั้น กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย จึงทำความสะอาดเมืองและสร้างถนนใหม่ให้แก่กษัตริย์ เมื่อมีการสร้างถนนหนึ่งเสร็จ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นประธานในพิธีเปิดถนนอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2448 และพระราชทานนามว่า "ถนนถวาย"[2][5] คำว่า "ฉลอม" ใน "ท่าฉลอม" หมายถึงเรือขายของประเภทหนึ่งที่คล้ายกับสำเภา[1] ท่าฉลอมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นเมืองหลักของจังหวัดและเจริญกว่าฝั่งมหาชัย[6] ภูมิศาสตร์ท่าฉลอมตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางฝั่งตะวันตกของอำเภอเมืองสมุทรสาคร ภูมิประเทศเป็นรูปกระเพาะหมูที่เกิดจากทางคดเคี้ยวในแม่น้ำท่าจีน ฝั่งตรงข้ามของแม่น้ำคือใจกลางสมุทรสาคร หรือที่เรียกกันว่า มหาชัย ท่าฉลอมติดกับพื้นที่ตำบลดังนี้ (ทิศเหนือตามเข็มนาฬิกา): มหาชัยกับบางหญ้าแพรก ท่าจีน อ่าวกรุงเทพ (ข้างบนอ่าวไทย) และโกรกกราก ตามลำดับ[7] แม่น้ำท่าจีนเป็นแม่น้ำสายหลักที่มีต้นน้ำอยู่ในจังหวัดชัยนาท ไหลผ่านพื้นที่นี้ลงไปยังอ่าวไทย[1][6] เขตบริหารท่าฉลอมเป็นส่วนหนึ่งของเทศบาลนครสมุทรสาคร การเดินทางปัจจุบัน พลเมืองท่าฉลอมยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม อาคารเก่าที่มีกราฟฟิตีเก๋ ๆ ยังคงพบเห็นได้ตามท้องถนน และมีสามล้อถีบบริการในพื้นที่[8][6] ท่าฉลองยังเป็นที่ตั้งของสถานีรถไฟบ้านแหลม ซึ่งเป็นต้นกำเนิดทางรถไฟสายแม่กลอง (ส่วนที่สอง) ซึ่งเริ่มต้นจากวงเวียนใหญ่ในกรุงเทพและสิ้นสุดที่จังหวัดสมุทรสงคราม การเดินทางระหว่างท่าฉลองกับมหาชัยโดยหลักพึ่งพาเรือข้ามฟากท่าจีน[8][3] เศรษฐกิจชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพประมง ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของพื้นที่ได้แก่เรือประมงจำลองขนาดเล็กและอาหารทะเลแห้ง[7] วัฒนธรรมร่วมสมัยท่าฉลอมเป็นฉากในเพลงลูกทุ่งไทยชื่อ 'ท่าฉลอม' ซึ่งขับร้องโดยชรินทร์ นันทนาครใน พ.ศ. 2504[5] อ้างอิง
|