Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

ความถี่เชิงมุม

ความถี่เชิงมุม ω (เรเดียนต่อวินาที), มีขนาดที่ใหญ่กว่าความถี่ ν (ในหน่วยรอบต่อวินาที หรือเรียกอีกอย่างว่า Hz) ส่วนด้วย 2π โดยในรูปนี้ใช้สัญลักษณ์ ν แทน f เพื่อแสดงความถี่
ภาพทรงกลมหมุนรอบแกน แสดงจุดที่อยู่ห่างจากแกนจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น สอดคล้องกับ ω = v / r.

ในทางฟิสิกส์ ความถี่เชิงมุม (อังกฤษ: Angular frequency, สัญลักษณ์: ω) รวมถึง ความเร็วเชิงมุม (อังกฤษ: Angular speed) เป็นปริมาณสเกลาร์ของอัตราการหมุน โดยมีความหมายคือ การกระจัดเชิงมุมต่อหนึ่งหน่วยเวลา (เช่น การหมุน) หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของเฟสในคลื่นรูปไซน์ (เช่น การแกว่งและคลื่น) หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของอาร์กิวเมนต์ของฟังก์ชันไซน์[1]

หนึ่งรอบการหมุนนั้นเท่ากับ 2π เรเดียน ฉะนั้น[1][2]

เมื่อ :

หน่วย

ในหน่วย SI โดยปกติแล้วความถี่เชิงมุมจะมีหน่วยเป็น เรเดียนต่อวินาที แม้บางครั้งจะไม่แสดงค่าของการหมุนก็ตาม หากมองในมุมมองของการวิเคราะห์เชิงมิติแล้วนั้น การใช้หน่วยเป็น เฮิรตซ์ (Hz) ก็ถือว่าถูกต้องเช่นกัน หากแต่ตามธรรมเนียม Hz จะใช้กับความถี่ f เท่านั้นและแทบจะไม่ใช้กับความถี่เชิงมุม ω เลย โดยที่คงไว้แบบนี้ก็เพื่อป้องกันการสับสน[3]เมื่อนำมาใช้กับความถี่หรือค่าคงตัวของพลังค์ เพราะว่าหน่วยของการวัดเชิงมุม (รอบหรือเรเดียน) นั้นถูกละเว้นในระบบ SI นั่นเอง[4][5]

ในการประมวลผลสัญญาณดิจิทัล ความถี่เชิงมุมนั้นอาจถูกทำให้เป็นมาตรฐานโดยอัตราการสุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ได้ผลเป็นความถี่ปกติ

ตัวอย่าง

การเคลื่อนที่แบบวงกลม

ในการหมุนหรือการโคจรของวัตถุ จะมีค่าความสัมพันธ์ระหว่าง ระยะห่างจากแกน (), ความเร็วในแนวสัมผัส () และ ความถี่เชิงมุมของการหมุน ในระหว่าง 1 คาบ () วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลมได้ระยะทาง ซึ่งระยะทางนั้นจะเท่ากับเส้นรอบวงที่ถูกพาดผ่านโดยวัตถุนั้น () ทำให้ปริมาณสองปริมาณนั้นมีค่าเท่ากัน เมื่อนำความสัมพันธ์ของคาบกับความถี่เชิงมุมมาคิด เราจะได้:

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Cummings, Karen; Halliday, David (2007). Understanding physics. New Delhi: John Wiley & Sons Inc., authorized reprint to Wiley – India. pp. 449, 484, 485, 487. ISBN 978-81-265-0882-2.(UP1)
  2. Holzner, Steven (2006). Physics for Dummies. Hoboken, New Jersey: Wiley Publishing Inc. pp. 201. ISBN 978-0-7645-5433-9. angular frequency.
  3. Lerner, Lawrence S. (1996-01-01). Physics for scientists and engineers. p. 145. ISBN 978-0-86720-479-7.
  4. Mohr, J. C.; Phillips, W. D. (2015). "Dimensionless Units in the SI". Metrologia. 52 (1): 40–47. arXiv:1409.2794. Bibcode:2015Metro..52...40M. doi:10.1088/0026-1394/52/1/40. S2CID 3328342.
  5. "SI units need reform to avoid confusion". Editorial. Nature. 548 (7666): 135. 7 August 2011. doi:10.1038/548135b. PMID 28796224.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9