กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน
กองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน (อังกฤษ: Protection and Crowds Control Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจนครบาล มีหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยในการชุมนุมเรียกร้องของกลุ่มมวลชน พร้อมกับการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และอารักขาบุคคลสำคัญตามแต่ละโอกาส มีหน่วยงานอยู่ในสังกัด 4 กองกำกับการ กองบังคับการก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ผู้บังคับการกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนคนปัจจุบัน คือ พลตำรวจตรี ชัยกฤต โพธิ์อ๊ะ ประวัติกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน เป็นกองบังคับการในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจนครบาล เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2552 ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 มีภารกิจควบคุมฝูงชน พร้อมกับการถวายความปลอดภัยแด่องค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ และอารักขาบุคคลสำคัญ[1] ปฏิบัติการกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชน ในส่วนของกองกำกับควบคุมฝูงชน 1 และ 2 ได้ปฏิบัติภารกิจในช่วงวิกฤตการณ์ทางการเมืองต่าง ๆ ทั้งการใช้กำลังของหน่วยเอง และสนับสนุนกองร้อยควบคุมฝูงชนที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้ร้องขอกำลังจากตำรวจภูธร[2] และตำรวจตระเวนชายแดน[3] ในด้านการบังคับบัญชา และการใช้อุปกรณ์ควบคุมฝูงชน วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 มีการจัดกำลังเพื่อควบคุมฝูงชนทั่วกรุงเทพมหานคร ในการชุมนุมที่แยกผ่านฟ้า เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 มีการใช้อาวุธปืน และลูกระเบิดเอ็ม 79 ส่งผลให้ตำรวจที่เข้ามาเพื่อควบคุมพื้นที่ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตจากการใช้ความรุนแรงในครั้งนั้น[4][5] การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564การประท้วงในประเทศไทย พ.ศ. 2563–2564 มีการตรึงกำลังเป็นรายวันทั่วพื้นที่กรุงเทพมหานคร จนเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ในการชุมนุมที่แยกปทุมวัน ได้เกิดการสลายการชุมนุมขึ้น ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 6 คน และมีผู้ถูกจับกุมกว่า 100 คน จากการใช้รถฉีดน้ำแรงดันสูงผสมสารแก๊สน้ำตา[6] ในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2564 มีการตั้งข้อสังเกตว่ามีการยกระดับการใช้ความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชน ซึ่งมีตำรวจสังกัดกองบังคับการอารักขาและควบคุมฝูงชนเป็นกำลังหลักในการใช้อาวุธ คือกระสุนยาง แก๊สน้ำตา และใช้กำลังเกินกว่าเหตุในการปฏิบัติหน้าที่[7] ในการชุมนุมวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564 ส.ต.ต.เดชวิทย์ เล็ทเทนสัน ผบ.หมู่ กองกำกับการอารักขา 1 กองบังคับการหน่วยอารักขาและควบคุมฝูงชน (บก.อคฝ.) ถูกยิงด้วยอาวุธปืนไม่ทราบขนาด ทะลุหมวกกันน็อคได้รับบาดเจ็บสาหัส[8]ภายในซอยดินแดง 1 ขณะปฏิบัติงานบริเวณแยกดินแดงโดยกล่าวหาว่ากระสุนมาจากฝั่งผู้ชุมนุม ในขณะที่ผู้ชุมนุมถูกจับกุมทั้งสิ้น 73 คน เป็นเยาวชน 21 คน และผู้ใหญ่ 52 คน[8] โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าจะออกหมายจับผู้ก่อเหตุการยิงเจ้าหน้าที่ดังกล่าว[9] ในขณะที่กองบัญชาการตำรวจนครบาลออกประกาศผู้ชนะการเสนอราคาจ้างซ่อมแซมรถฉีดน้ำแรงดันสูง จำนวน 5 คัน ซึ่งถูกทำลายได้รับความเสียหายจากการชุมนุมในระหว่างปี 2563 - 2564 ความเสียหายมูลค่าสูงกว่า 30 ล้านบาท[10] ภารกิจ
หน่วยงานในสังกัด[11]
ยุทโธปกรณ์อาวุธปืน
รถยนต์
ดูเพิ่มอ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น |