Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

กองทัพอากาศบรูไน

กองทัพอากาศบรูไน
Tentera Udara Diraja Brunei
ตรากองทัพอากาศบรูไน
ประจำการ1 ตุลาคม พ.ศ. 2534; 33 ปีก่อน (2534-10-01)
ประเทศ บรูไน
ขึ้นต่อ กองทัพบรูไน
รูปแบบกองทัพอากาศ
บทบาทการสงครามทางอากาศ, ป้องกันภัยทางอากาศ, ลาดตระเวนทางอากาศ, การค้นหาและกู้ภัย
กำลังรบอากาศยาน 20 ลำ[1]
อากาศยานไร้คนขับ 4 ลำ
ขึ้นกับกองทัพบรูไน
กองบัญชาการริมบา, บรูไน-มัวรา, บรูไน
ผู้บังคับบัญชา
ผู้บัญชาการพล.อ.จ. Sharif Ibrahim[2][3]
รองผู้บัญชาการน.อ. Haszahaidi Ahmad Daud
เสนาธิการน.ท. Mohammad Albadii Shahnoel
จ่าสิบเอกพิเศษนายดาบ Suridi Ibrahim
ผบ. สำคัญพล.อ.จ. Mahmud Saidin @ Muhammad Saidin (ชาวบรูไนคนแรกที่มีใบอนุญาตนักบินรบ)
เครื่องหมายสังกัด
เครื่องหมายแพนหางดิ่ง

กองทัพอากาศบรูไน (อังกฤษ: Royal Brunei Air Force: RBAirF มลายู: Tentera Udara Diraja Brunei: TUDB) เป็นกองทัพอากาศของรัฐสุลต่านบรูไนดารุสซาลาม มีกองบัญชาการหลักอยู่ที่ฐานทัพอากาศริมบาภายในท่าอากาศยานนานาชาติบรูไน[4] บทบาทของกองทัพอากาศบรูไนคือการปกป้องน่านฟ้าของประเทศ และการตรวจตรารักษาอธิปไตยเหนือห้วงอากาศและการเฝ้าระวังเขตแดนทางบกและทางทะเล[5] ข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2566 กองทัพอากาศบรูไนมีอากาศยานประจำการอยู่ 20 ลำ[1] และอากาศยานไร้คนขับ (UAV) จำนวน 4 ลำ

กองทัพอากาศบรูไนก่อตั้งขึ้นในฐานะกองทัพอากาศอิสระเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2543 เดิมทีถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2508 ในฐานะกองบินของกรมรอยัลบรูไนมาเลย์ (มลายู: Askar Melayu Diraja Brunei – AMDB) หน่วยบุกเบิกของกองทัพบรูไน (RBAF) กองบินของกองทัพบรูไนมีเฮลิคอปเตอร์ (เบลล์ 205) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2509[4]

ประวัติ

แพทช์กองบินของกรมรอยัลบรูไนมาเลย์ในปี 2515
นักเรียนนักบินเฮลิคอปเตอร์พร้อมด้วยรางวัลนักเรียนโพ้นทะเล ณ วิทยาลัยกองทัพอากาศแครนเวลล์

กองทัพอากาศบรูไนได้รับการสถาปนาขึ้นมาจากกองบินของกรมรอยัลบรูไนมาเลย์เมื่อปี พ.ศ. 2508 โดยกองทัพอากาศได้รับมอบภารกิจในการส่งแพทย์ไปยังพื้นที่ชนบทเป็นครั้งแรกด้วยอากาศยาน ซิคอร์สกี เอส-55 จำนวน 2 ลำ ซึ่งปฏิบัติการบินโดยนักบินจากบริษัทเวิร์ลวายด์เฮลิคอปเตอร์คอมปานี และเปลี่ยนไปปฏิบัติการโดยนักบินอังกฤษ 3 นายและอากาศยาน 3 ลำจากกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร (RAF)[6][7]

ในปี พ.ศ. 2510 หน่วยนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหมวดเฮลิคอปเตอร์ (Helicopter Platoon) และรับมอบเฮลิคอปเตอร์ เบลล์ 206 เจ็ทเรนเจอร์ จำนวน 5 ลำ หลักจากนั้นได้มีการก่อตั้งโรงเรียนฝึกอบรมเทคนิคทางอากาศเมื่อปี พ.ศ. 2523 และในปี พ.ศ. 2524 การมีการก่อตั้งฝูบิน 2 ขึ้นซึ่งประกอบไปด้วยเฮลิคอปเตอร์ Bölkow บีโอ105 จำนวน 6 ลำ

ฝูงบิน 3 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเป็นฝูงบินที่ประจำการของอากาศยานเอสเอฟ-260 โดยในวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2526 กองบิน 2 ถูกก่อตั้งขึ้นบริเวณที่เคยเป็นกองร้อยป้องกันภัยทางอากาศ เมื่อบรูไนได้รับภารกิจในการป้องกันตนเองมาจากสหราชอาณาจักรในปี พ.ศ. 2527 กองบินได้ขยายขีดความสามารถของตัวเองออกไป จนกระทั่งวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 องค์สุลต่านได้อนุญาตและอนุมัติให้กองบินเปลี่ยนชื่อเป็นกองทัพอากาศบรูไน[6] กองร้อยป้องกันภัยทางอากาศได้ถูกย้ายไปยังกองทัพอากาศบรูไนเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2538 และตั้งชื่อใหม่ว่า ฝูงบินป้องกันภัยทางอากาศ (Air Defence Squadron)

ฝูงบิน 4 ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 และนำเฮลิคอปเตอร์ เอส-70เอ แบล็กฮอว์ก มาประจำการยังฝูงบินนี้ ฝูงบิน 5 ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2540 เช่นเดียวกันและประจำการอากาศยานปีกตรึง ซีเอ็น-235 และฝูงบินป้องกันฐานทัพ ในปีเดียวกัน ฝูงบิน 3 ได้รับมอบอากาศยานฝึก Pilatus PC-7 Mk.II ต่อมาฝูงบิน 38 ได้ถูกก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2542 และประจำการขีปนาวุธพื้นสู่อากาศ Mistral หลังจากการเข้าซื้อลิขสิทธิ์ของระบบ Mistral[6] และในปีเดียวกัน การป้องกันภาคพื้นของสนามบินถูกย้ายการบังคับบัญชาจากส่วนบริหารกองทัพอากาศบรูไนไปยังกรมทหารอากาศ

กองบินล่าสุดทีก่อตั้งขึ้นมาชื่อว่ากองบิน 3 เปิดตัวเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559[8] ในปี พ.ศ. 2562 กองทัพอากาศบรูไนได้เปิดตัวลายพรางดิจิทัลสีเทาเนื่องในโอกาศครบรอบ 58 ปีที่ค่ายโบลเกียห์[9]

ในปี พ.ศ. 2563 กองทัพอากาศบรูไนได้สั่งซื้ออากาศยานไร้คนขับ Boeing Insitu RQ-21 Blackjack จำนวน 5 ลำจากสหรัฐในปี พ.ศ. 2564[10] เพื่อปฏิบัติการ การข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน (ISR) โดยรอบน่านน้ำบรูไนในทะเลจีนใต้[11] ซึ่งได้รับการเปิดเผยครั้งแรกโดยสมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านฮัสซานัล โบลเกียห์ สุลต่านแห่งบรูไนภายในงานครบรอบ 60 ปีของกองทัพบรูไน[11]

กองทัพอากาศบรูไนได้มีความร่วมมือกันกับกองทัพอากาศฟิลิปปินส์ (PAF) เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดยนักบินจากฟิลิปปินส์จะทำการฝึกด้วยเครื่องจำลองการบินเอส-70 แบล็กฮอว์ก ณ ศูนย์ฝึกอบรมอเนกประสงค์บรูไน (BMPTC) ของบริษัแคนาเดียนเอวิชันอิเล็คทรอนิกส์ (CAE)[12]

พิธีปลดประจำการอากาศยานฝูงบิน Bölkow BO105 จัดขึ้น ณ ศูนย์การเคลื่อนที่ทางอากาศ (Air Movement Centre: AMC) ภายในฐานทัพอากาศริมบาในวันที่ 5 กุมภาาพันธ์ พ.ศ. 2565 โดยเฮลิคอปเตอร์ทั้ง 6 ลำเข้าประจำการในฝูงบินครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ซึ่งควบคุมการซ่อมบำรุงโดยหน่วยวิศวกรไฟฟ้าและเครื่องกลของสหราชอาณาจักร (REME) และยุติลงในปี พ.ศ. 2536 จุงยุติการให้บริการอากาศยานประเภทนี้ และถูกแทนที่โดยกองบิน 1 กองบินปฏิบัติการ[13]

การจัดกำลัง

กองทัพอากาศบรูไน แบ่งออกเป็น 7 กองบิน ได้แก่[14][15]

อากาศยาน ซีเอ็น-235 ของฝูงบิน 15 ณ ฐาทัพอากาศริมบา

กองบินปฏฺบัติการ

กองบินปฏฺบัติการ (Operation Wing) ประกอบไปด้วย 4 กองบินและ 3 หน่วยเพิ่มเติม ได้แก่

  • กองบิน 1 ประกอบไปด้วย 4 ฝูงบิน แต่ละฝูงบินมีภารกิจในการปฏิบัติการเฉพาะด้านสำหรับการลาดตระเวนทางทะเลและตระเวนชายแดน[16]
    • ฝูงบิน 11 (เดิมคือฝูงบิน 1) ประกอบไปด้วยเฮลิคอปเตอร์แบบ เบลล์ 214เอสที โดยก่อนหน้านี้ฝูงบิน 1 เคยใช้แบบ เบลล์ 212 ก่อนที่จะถูกปลดประจำการในปี พ.ศ. 2556[17] บทบาทหลักของฝูงบินนี้คือขนส่งกำลังทหาร การอพยพผู้บาดเจ็บ การอพยพทางการแพทย์ การดับเพลิง การเป็นพาหนะให้ VVIP และการค้นหาและกู้ภัย[18]
    • ฝูงบิน 12 (เดิมคือฝูงบิน 2) ก่อนหน้านี้ประจำการเฮลิคอปเตอร์ Bölkow BO105 บทบาทหลักของฝูงบินคือการให้บริการทางการแพทย์ทางอากาศ การลาดตระเวน การเฝ้าระวัง การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด การเป็นพาหนะให้ VVIP และการบินค้นหาและระบุตำแหน่ง[18]
    • ฝูงบิน 14 (เดิมคือฝูงบิน 4) ประกอบไปด้วยเฮลิคอปเตอร์แบบ เอส-70 แบล็กฮอว์ก บทบาทหลักคือการเป็นฝูงบินร่วมปฏิบัติการพิเศษ ขนส่งกำลังทหาร การอพยพผู้บาดเจ็บ การอพยพทางการแพทย์ การดับเพลิง การเป็นพาหนะให้ VVIP และการค้นหาและกู้ภัย[18]
    • ฝูงบิน 15 (เดิมคือฝูงบิน 5) ประกอบไปด้วยอากาศยาน ซีเอ็น-235 บทบาทหลักคือการจัดเตรียมกำลังเพื่อขนส่งทางอากาศ การเฝ้าระวัง และความสามารถในการค้นหาและระบุตำแหน่ง[18]
  • ทหารจากฝูงบิน 236 ในเครื่องแต่งกายพร้อมปฏิบัติการ
    กองบิน 2 เดิมชื่อว่ากรมทหารอากาศ (Air Regiment) มีภารกิจในการป้องกันฐานทัพอากาศบรูไนและน่านฟ้าของบรูไนจากภัยคุกคามทางอากาศ[19]
    • ฝูงบิน 233 (เดิมคือฝูงบิน 33 และกองร้อยอากาศ) ประกอบไปด้วยเครื่องยิงขีปนาวุธ Rapier FSB1[20] โดยฐานปฏิบัติการแห่งแรกคือค่ายปนันจง ซึ่ง Rapier FSB1 เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2550 ได้มีการยุติการใช้งานระบบนี้ โดยบทบาทนอกจากการเตรียมพร้อมระบบป้องกันภัยทางอากาศใหม่แล้ว ฝูงบินนี้ยังเป็นหน่วยปฏิบัติการสนับสนุนฝูงบิน 238 อีกด้วย[19]
    • ฝูงบิน 236 (เดิมคือฝูงบินป้องกันฐานทัพ) มีภารกิจในการปกป้องฐานทัพอากาศบรูไนและฐานปฏิบัติการส่วนหน้า[20]
    • ฝูงบิน 238 (เดิมคือฝูงบิน 38) ประกอบไปด้วยระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้มาก คือเครื่อยิงขีปนาวุธ Mistral ณ ฐานในค่ายเบรากัส[20][19]
    • ฝูงบินช่างอากาศยาน ตั้งอยู่ในค่ายเบรากัส ผ่านการซ่อมบำรุง ฝูงบินนี้จะช่วยรับรองความพร้อมในการปฏิบัติการของฝูงบินป้องกันภัยทางอากาศ[19]
  • กองบิน 3 มีภารกิจในการช่วยเหลือกลุ่มปฏิบัติการในการปฏิบัติภารกิจและบรรลุภารกิจ[8]
    หน่วยพลร่มยุทธวิธีส่งทางอากาศในงานครบรอบกองทัพอากาศบรูไน 2552
    • หน่วยพลร่มยุทธวิธีส่งทางอากาศ (Parachute Airborne Tactical Delivery Unit: PATDU) มีภารกิจในการกู้ภัยในป่า สายการการสนับสนุนภายในป่า และการโรยตัว โดยหน่วยยังมีส่วนร่วมในการแข่งขันร่มชูชีพระดับภูมิภาคและในระดับนานาชาติ[20]
    • กองดับเพลิง (เดิมคือหน่วยดับเพลิง) มีภารกิจในการป้องกันการเกิดอัคคีภัยและการกู้ภัยให้กับอากาศยานทุกลำเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน[20]
    • หน่วยควบคุมการบินเคลื่อนที่ทางอากาศ (Air Movement Flight) มีหน้าที่ดูแลอากาศยานทุกลำที่เข้าออกจากฐานบินรวมไปถึงอากาศยานขนส่งสินค้า[8]
    • หน่วยควบคุมพื้นที่ทางอากาศ (Air Space Control) ช่วยเหลือการปฏิบัติงานของกรมการบินพลเรือน (DCA) ในการควบคุมอากาศยานที่บินผ่านในพื้นที่ของกองทัพอากาศ และมีเป้าหมายในการค้นหาผู้ควบคุมการจราจรทางอากาศ (ATC)[8]
  • กองบิน 4 หรือเรียกกันว่า กองบัญชาการพลาธิการ (Supply Headquarter) อยู่ภายใต้การควบคุมของผู้บัญชาการกลุ่มสนับสนุนการรบ[21]
    • ฝูงบินพลาธิการภายในประเทศ (Domestic Supply Squadron: DSS) มีภารกิจในการสนับสนุนด้านการส่งกำลังบำรุงและยุทโธปกรณ์ประจำตัวทหาร[21]
    • หน่วยบินควบคุมบัญชีพลาธิการ (Supply Control and Accounting Flight: SCAF) ประกอบด้วย 5 ส่วนหลักได้แก่ ส่วนควบคุมบัญชี (CAC) ส่วนบัญชีพลาธิการ (SAC) ส่วนควบคุมพลาธิการ (SCC) ส่วนรับและจัดส่ง (R&D) และส่วนติดตั้งฐานเก็บเชื้อเพลิง[21]
    • ฝูงบินพลาธิการทางเทคนิค (Technical Supply Squadron: TSS) เดิมมีชื่อว่า หน่วยบินพลาธิการทางเทคนิค (Technical Supply Flight) มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคให้กับกองทัพอากาศบรูไน ซึ่งเป็นหน่วยส่วนหน้าและหน่วยหลักในการเก็บชิ้นส่วนอากาศยาน โดยอาคารหลักของกองบิน 4 เป็นที่ตั้งของโรงซ่อมหลัก และโรงซ่อมบำรุงส่วนหน้า ปัจจุบันตั้งอยู่ภายในโรงเก็บเครื่องบิน A และโรงเก็บเครื่องบิน B และฝูงบิน 28[21]
    • ฐานกักเก็บเชื้อเพลิง (Bulk Fuel Installation)[21]
  • กองบิน 5 รู้จักกันในชื่อ กองบินซ่อมบำรุง เป็นกองบินที่คอยตรวจสอบให้มั่นใจได้ว่าอากาศยานนั้นผ่านตามมาตรฐานข้อกำหนดด้านการปฏิบัติการและการฝึกเกี่ยวกับอากาศยานจะได้รับการตรวจสอบรับรอง รวมไปถึงการควบคุมให้เป็นไปตามวงรอบในการซ่อมบำรุงให้กับ เอส-70 แบล็กฮอว์ก, บีโอ-105, เบลล์ 206 เจทเรนเจอร์, เอส70เอ แบล็กฮอว์ก และ ซีเอ็น235 เป็นส่วนหนึ่งของฝูงบินช่างอากาศ 51, 52, 53, 54 และ 55 ที่มีหน้าที่ในการซ่อมบำรุงโดยตรง ครอบคลุมไปถึงการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ ระบบอำนวยการบิน โครงสร้างเครื่องบิน และส่วนประกอบอื่น ๆ[22]
    • ส่วนวิศวกรรมทั่วไป (Standard Engineering Cell) เป็นส่วนในการจัดเตรียมด้านเอกสาร พลาธิการและซ่อมบำรุงของฝูงบินและกรมของกองบิน 5[22]
    • ส่วนควบคุมและวางแผนทางวิศวกรรม (Engineering Control & Planning: EC & P) เป็นส่วนที่ตรวจสอบกิจกรรมการซ่อมบำรุงทุกอย่างว่าได้รับการซ่อมบำรุงตามเอกสารและปรับปรุงให้ถูกต้องที่สุด[22]
    • ส่วนจัดการทรัพยากรการวางแผนซ่อมบำรุง (Maintenance Planning Resources Management: MPRM) เป็นส่วนในการประมาณการปฏิบัติการและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงทั้งหมด[22]
    • กรมบำรุงรักษาอุปกรณ์ทางเทคนิค (Technical Equipment Maintenance Department: TEMD) เป็นหน่วยงานพลเรือนที่ได้รับมอบหมายให้ซ่อมบำรุงอากาศยาน[23]
    • ฝูงบิน 51
    • ฝูงบิน 52
    • ฝูงบิน 53
    • ฝูงบิน 54
    • ฝูงบิน 55
    • ส่วนบินสนับสนุนด้านวิศวกรรม (Engineering Support Flight) เป็นส่วนในการให้ความช่วยเหลือกับฝูงบิน โดยเจ้าหน้าที่อุปกรณ์สนับสนุนภาคพื้นดิน (Ground Support Equipment: GSE) มีหน้าที่ในการจัดหาอุปกรณ์ทั้งหมดสำหรับการบำรุงรักษาอากาศยาน เจ้าหน้าที่กลศาสตร์เส้นทางบิน (Flight Line Mechanics: FLM) มีหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายอากาศยานบนพื้นโรงเก็บอากาศยานหรือบริเวณลานจอด และเจ้าหน้าที่ส่วนอุปกรณ์เอาชีวิตรอด (Survival Equipment Section: SES) มีหน้าที่ในการจัดหาและบำรุงรักษาอุปกรณ์ยังชีพในอากาศยาน[22]
  • สมาชิกของกองดับเพลิง กองทัพอากาศบรูไน (คนแรกจากซ้าย)
    กองบิน 6 มีชื่อเดิมว่า กองบินบริหาร[24] (Administration Wing) มีหน้าที่ในการดูแลสวัสดิการของบุคลากรตลอดจนข้อกังวลต่าง ๆ ในส่วนของการบริหาร และการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับฐานทัพของกองทัพอากาศบรูไน[25]
    • กองร้อยตำรวจ (Regimental Police Fleet: RP Flt) เป็นหน่วยที่ได้รับมอบหมายให้ป้องกันการเข้าถึงพื้นที่หวงห้ามโดยไม่ได้รับอนุญาต[25]
    • กองค่าจ้าง (Pay Fleet) ปกป้องผลประโยชน์ด้านสวัสดิการของบุคลากรในกองทัพอากาศบรูไนทุกคน ตามขั้นตอนการปฏิบัติที่เหมาะสมในการรับค่าจ้างและผลประโยชน์ส่วนบุคคลตามคู่มือและระเบียบทางการเงิน[25]
    • หน่วยบำรุงรักษาฐาน (Base Maintenance: Base Maint) เป็นหน่วยที่คอยตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกหน่วยปฏิบัติตามระเบียบที่ได้กำหนดไว้ตามขั้นตอนและข้อกำหนด[25]
    • หน่วยบำรุงรักษาทรัพย์สิน (Estate Maintenance Service: EMS) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ในการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในฐานทัพอากาศริมบา[25]
    • หน่วยบริการตอบรับทางการแพทย์ (Medical Reception Service: MRS) เป็นหน่วยที่มีหน้าที่ในการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ให้กับบุคลากรของกองทัพอากาศบรูไน[25]
    • หน่วยช่วยเหลือขนาดเบา (Light Aid Detachment: LAD) เป็นหน่วยที่ได้รับมอบหมายให้ซ่อมบำรุงอุปกรณ์ยานยนต์ขนส่งของกองทัพอากาศให้มีสภาพพร้อมใช้งาน[25]
    • กองทหารขนส่ง (Military Transport Fleet: Mt Flt) เป็นหน่วยที่ดูแลการขนส่งทางบกของกองทัพอากาศบรูไน[25]
    • หน่วยทันตกรรม (Dental) ให้บริการด้านทันตกรรมให้กับสมาชิกของกองทัพอากาศบรูไน[25]
  • กองบิน 7 มีชื่อเดิมว่า กองบินฝึก (Training Wing) มีหน้าที่ในการบริหารจัดการเกี่ยวกับการฝึก รวมถึงยังมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการฝึกอบรมด้านอื่น ๆ เพื่อให้บุคลากรเป็นไปตามข้อกำหนดของกองทัพอากาศ[26]
    • ฝูงบิน 73 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ โรงเรียนฝึกการบิน (Flying Training School: FTS) และเป็นอดีตฝูงบิน 3 และ 63 มีหน้าที่ในการฝึกนักบินขั้นพื้นฐานทั้งอากาศยานปีกตรึงและอากาศยานปีกหมด (เฮลิคอปเตอร์) โดยนอกจากฝึกอบรมให้กับนักบินของกองทัพอากาศล้ว ยังฝึกอบรมให้กับลูกเรือการบินด้วย โดยเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักบินและลูกเรือในกองทัพอากาศบรูไน[26] มีเฮลิคอปเตอร์เบลล์ 206 และอากาศยาน Pilatus PC-7 Mk.II ประจำการในฝูงบินนี้สำหรับการฝึกบิน[23]
    • ฝูงบิน 75 หรือที่รู้จักกันในชื่อของ โรงเรียนฝึกเทนนิคทางอากาศ (Air Technical Training School: ATTS) ให้การฝึกอบรมด้านเทคนิคขั้นพื้นฐานและขั้นสูงให้กับช่างเทคนิคของกองทัพอากาศบรูไน เพื่อสร้างทักษะและตอบสนองต่อความต้องการในการปฏิบัติงาน[26]
    • ฝูงบิน 77 ประจำการอยู่ที่ค่ายเบรากัส และสั่งการภายในกองทัพอากาศและกองบิน 2 ในการป้องกันภัยทางอากาศ[26]
    • ให้การฝึกด้านกายภาพกับกองกำลังกองทัพอากาศบรูไน[26]

ผู้บัญชาการ

ลำดับ ภาพ ชื่อ

(เกิด–เสียชีวิต)

สมัยดำรงตำแแหน่ง อ้างอิง
เข้ารับตำแหน่ง ออกจากตำแหน่ง ระยะเวลา
? พลอากาศจัตวา
Ibrahim Mohammed
? ? [27]
10 พลอากาศจัตวา
Mahmud Saidin
? 20 สิงหาคม 2552 [28]
11 พลอากาศจัตวา
Jofri Abdullah
20 สิงหาคม 2552 7 ธันวาคม 2555 3 ปี 109 วัน [29]
12 พลอากาศจัตวา
Wardi Abdul Latip
7 ธันวาคม 2555 26 กันยายน 2558 2 ปี 293 วัน [30]
13 พลอากาศจัตวา
Shahril Anwar
26 กันยายน 2558 18 สิงหาคม 2561 2 ปี 326 วัน [31]
14 พลอากาศตรี
Hamzah Sahat
18 สิงหาคม 2561 28 สิงหาคม 2563 2 ปี 10 วัน [32]
15 พลอากาศจัตวา
Sharif Ibrahim
28 สิงหาคม 2563 อยู่ในตำแหน่ง 4 ปี 152 วัน [33]

โครงสร้างชั้นยศ

เรืออากาศโทกองทัพอากาศบรูไนในวันชาติ ปี 2566

นายทหารชั้นสัญญาบัตร

เครื่องหมายยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรของกองทัพอากาศบรูไน

กลุ่มชั้นยศ นายพล / นายทหารชั้นนายพล นายทหารสัญญาบัตรอาวุโส นายทหารสัญญาบัตร นักเรียนนายร้อย
ธงของกองทัพอากาศบรูไน กองทัพอากาศบรูไน
Marsyal udara Jeneral (udara) Leftenan jeneral (udara) Mejar jeneral (udara) Brigedier jeneral (udara) Kolonel (udara) Leftenan kolonel (udara) Mejar (udara) Kapten (udara) Leftenan (udara) Leftenan muda (udara) Pegawai kadet (udara)
จอมพลอากาศ พลอากาศเอก พลอากาศโท พลอากาศตรี นาวาอากาศเอกพิเศษ นาวาอากาศเอก นาวาอากาศโท นาวาอากาศตรี เรืออากาศเอก เรืออากาศโท เรืออากาศตรี นักเรียนนายเรืออากาศ
Marshal of the Air Force General Lieutenant general Major general Brigadier general Colonel Lieutenant colonel Major Captain Lieutenant Junior lieutenant Officer cadet

นายทหารชั้นประทวน

บรูไนต่างจากกองกำลังติดอาวุธอื่นในเครือจักรภพส่วนใหญ่ โดยยังคงตำแหน่งในยศนายดาบ 4 ตำแหน่งอยู่เหมือนเดิม ซึ่งใช้ร่วมกับมาตรฐานของทหารชั้นประทวนของเครือจักรภพ รวมไปถึงกำลังพลและชั้นยศ

กลุ่มชั้นยศ นายทหารประทวนอาวุโส นายทหารประทวน พลสมัคร
และพลทหาร
ธงของกองทัพอากาศบรูไน กองทัพอากาศบรูไน

ไม่มีเครื่องหมายยศ
Sarjan mejar
(Jawatan)
Pegawai waran 1 (udara) Pegawai waran 2 (udara) Staf sarjan (udara) Sarjan (udara) Koperal (udara) Lans koperal (udara) Prebet/Soldadu (udara)
พันจ่าอากาศเอกพิเศษ พันจ่าอากาศเอก พันจ่าอากาศโท พันจ่าอากาศตรี จ่าอากาศเอก จ่าอากาศโท จ่าอากาศตรี พลทหาร
Sergeant major Warrant officer Warrant officer Staff sergeant Sergeant Corporal Lance corporal Private

เหตุการณ์สำคัญ

เครื่องบิน เบล 212 ของกองทัพอากาศบรูไนเกิดอุบัติเหตุตกในกัวลาเบอไลต์เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 12 นายจากทั้งหมด 14 นาย[34] โดยยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด[35] ซึ่งอุบัติเหตุดังกล่าวเป็นอุบัติเหตุทางการบินที่เลวร้ายที่สุดของประวัติศาสตร์บรูไน

ยุทโธปกรณ์

ซิคอร์สกี เอส-70ไอ ในปี 2565

อาวุธยุทโธปกรณ์สำหรับอากาศยานประกอบไปด้วย เอ็ม134 มินิกัน ขีปนาวุธ FZ และขีปนาวุธ SURA[36][13][37] มีแผนที่จะรักษาความพร้อมของเครื่องบินรบด้วยการจัดซื้ออากาศยาน บีเออี ฮ็อค อีกหลายลำ แต่แผนเกิดความล่าช้าหลายครั้ง[38] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 ทำเนียบขาวได้ประกาศว่า ซิคอร์สกีได้ทำข้อตกลงในการขายยูเอช-60เอส จำนวน 12 ลำ ให้กับกองทัพอากาศบรูไน

กองทัพอากาศบรูไนได้รับมอบ อากาศยาน ซีเอ็น235-220 จำนวน 3 ลำในปี พ.ศ. 2561 สำหรับการปฏิบัติการทางทะเล[39] พร้อมกับ ซี-130เจ ซูเปอร์เฮอร์คิวลิส ที่จะส่งมอบในปีเดียวกัน โดยพลอากาศจัตว Wardi Abdul Latip ได้เปิดเผยว่ากองทัพอากาศบรูไนได้ทำข้อตกลงกับล็อกฮีด มาร์ตินในการจัดซื้อเครื่องบินขนส่งทางทหารเพื่อปฏิบัติการรักษาความปลอดภัยจากการโจมตีโมโรในมาเลเซียและแทนที่ยุทโธปกรณ์เก่า ด้วยการโอนอากาศยานเอส-70เอ แบล็กฮอว์ก ให้กับกองทัพอากาศมาเลเซีย[40][41] และมีการปลดประจำการเฮลิคอปเตอร์ เบล 212 จำนวน 8 ลำอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2557[17][42]

ในระหว่างการฉลองครบรอบของกองทัพบรูไนในปี พ.ศ. 2564 สุลตานแห่งบรูไนได้เปิดตัวโครงการอากาศยานไร้คนขับ (UAS) และอากาศยานไร้คนขับรุ่นแบล็คแจ็ก อาร์คิว-21 จากการเปิดเผยของบริษัทอเมริกา โดยมีภารกิจตรวจการณ์และรักษาความมั่นคงทางทะเล[43] ซึ่งมีแผนจะติดตั้งปืนมินิกัน เอ็ม134ดี ซึ่งคาดว่าจะได้รับมอบในปี พ.ศ. 2565[44]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "World Air Forces 2023". FlightGlobal.com. Flightglobal International. 2023. สืบค้นเมื่อ 6 February 2023.
  2. "Commander of the Royal Brunei Air Force". MinDef.gov.bn. Defence Information Technology Unit, Ministry of Defence, Brunei Darussalam. 2020. สืบค้นเมื่อ 28 October 2022.
  3. Fadley Faisal (25 June 2022). "Call to remain flexible, adaptable and professional". BorneoBulletin.com.bn. Borneo Bulletin Online. สืบค้นเมื่อ 30 October 2022.
  4. 4.0 4.1 Introduction Royal Brunei Air Force เก็บถาวร 2 เมษายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Retrieved 21 April 2007
  5. Roles Royal Brunei Air Force เก็บถาวร 20 กุมภาพันธ์ 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Retrieved 21 April 2007
  6. 6.0 6.1 6.2 History Royal Brunei Air Force เก็บถาวร 20 กุมภาพันธ์ 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Retrieved 21 April 2007
  7. "HISTORY". Ministry of Defence.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 "No. 3 Wing". Royal Brunei Air Force.
  9. "RBAF debuts new military uniforms". BorneoBulletin.com.bn. Borneo Bulletin Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2022.
  10. "s10.png – Transfers of major weapons: deals with deliveries or orders made for 2021 to 2021". servimg.com. Servimg.com – Free image hosting service. สืบค้นเมื่อ 2 February 2023.
  11. 11.0 11.1 Dominguez, Gabriel; Giovanzanti, Alessandra (6 July 2021). "Royal Brunei Air Force acquires Insitu Integrator unmanned aerial system". Janes.com. สืบค้นเมื่อ 2 February 2023.
  12. "Black Hawk training in Brunei for Philippine Air Force launched". BruneiPE.dfa.gov.ph. Bandar Seri Begawan: Embassy of the Philippines. 3 December 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-10-23. สืบค้นเมื่อ 2 February 2023.
  13. 13.0 13.1 "Air Force retires Bolkow 105 helicopters". BorneoBulletin.com.bn. Borneo Bulletin Online. 5 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2 February 2023.
  14. https://mindef.gov.bn/airforce/_layouts/15/start.aspx#/SitePages/About%20Us.aspx
  15. Organisation Royal Brunei Air Force เก็บถาวร 20 กุมภาพันธ์ 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Retrieved 21 April 2007
  16. "No. 1 Wing". Royal Brunei Air Force.
  17. 17.0 17.1 Lt (U) Mohd Hazwan (2020). Lt Col (U) Don Giovanni (บ.ก.). "The Bell 212: the era of the juggernauts" (PDF). Keris Terbang (Flying Dagger). No. 1. Royal Brunei Air Force, Defence Information Technology Unit, Ministry of Defence, Brunei Darussalam. pp. 20–21. สืบค้นเมื่อ 5 February 2023.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Operation Wing Squadrons เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Retrieved 21 April 2007
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 "No. 2 Wing". Royal Brunei Air Force.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Air Regiment Squadrons เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Retrieved 21 April 2007
  21. 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 "No. 4 Wing". Royal Brunei Air Force.
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 "No. 5 Wing". Royal Brunei Air Force.
  23. 23.0 23.1 Logistics and Training Wing Royal Brunei Air Force เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Retrieved 21 July 2007
  24. Administration Wing Royal Brunei Air Force เก็บถาวร 27 กันยายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Retrieved 21 July 2007
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 25.5 25.6 25.7 25.8 "No. 6 Wing". Royal Brunei Air Force.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 26.4 "No. 7 Wing". Royal Brunei Air Force.
  27. "THE COMMANDER OF THE ROYAL BRUNEI AIR FORCE, COLONEL (COL) …". www.nas.gov.sg. สืบค้นเมื่อ 2023-04-15.
  28. "Official Visit By Commander In-Chief, Royal Thai Air Force". Royal Brunei Air Force. 2007-02-02.
  29. "Jofri Abdullah TUDB - Google Search". www.google.com. สืบค้นเมื่อ 2023-04-15.
  30. "News_Test – Royal Brunei Air Force Gets New Commander..." www.mindef.gov.bn. สืบค้นเมื่อ 2022-12-17.
  31. "News Headlines - ROYAL BRUNEI AIR FORCE WELCOMES NEW COMMANDER..." mindef.gov.bn. สืบค้นเมื่อ 2022-10-23.
  32. "Commander RBAF - Major General (U) Dato Seri Pahlawan Haji Hamzah bin Haji Sahat, Royal Brunei Armed Forces Commander". MinDef12.rssing.com. www.rssing.com. สืบค้นเมื่อ 2 February 2023.
  33. "Upacara Serah Terima Tugas Pemerintah TUDB" [RBAirF government handover ceremony]. BruDirect.com (ภาษามาเลย์). Brunei's No. 1 News Website. 29 August 2020. สืบค้นเมื่อ 2 February 2023.
  34. AFP (21 July 2012). "Brunei helicopter crash kills 12: air force". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 July 2012. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.
  35. CNN Wire Staff. "12 killed in Brunei helicopter crash". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 July 2012. สืบค้นเมื่อ 21 July 2012.
  36. "News Headline". mindef.gov.bn. สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  37. Wilson, Gwen (2022-02-08). "Royal Brunei Air Force retires Bo105 fleet". HeliHub.com (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2022-09-10.
  38. British Aerospace Hawk Still Leads the Pack Flug Revue Online เก็บถาวร 23 เมษายน 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน - Retrieved 21 April 2007
  39. "Janes | Latest defence and security news". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 February 2014. สืบค้นเมื่อ 15 February 2014.
  40. Marcel Burger (23 January 2015). "Brunei gives four Black Hawks as present to Malaysia". AIRheads. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2015. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
  41. "Brunei transfers S-70A Blackhawks to Malaysian Armed Forces". Borneo Bulletin. 29 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 March 2016. สืบค้นเมื่อ 19 April 2016.
  42. "Bell 212 choppers decommissioned". Brunei Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 July 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-05-27.
  43. Shareen Han (31 May 2021). "RBAF to use drones for maritime security surveillance". The Scoop.
  44. "News Headline". MinDef.gov.bn. Defence Information Technology Unit, Ministry of Defence, Brunei Darussalam. สืบค้นเมื่อ 2022-10-23.
Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9