Share to: share facebook share twitter share wa share telegram print page

 

กรมการศาสนา

กรมการศาสนา
Department of Religious Affairs
เครื่องหมายราชการ
ภาพรวมกรม
ก่อตั้ง20 สิงหาคม พ.ศ. 2484; 83 ปีก่อน (2484-08-20)
กรมก่อนหน้า
  • กรมธรรมการ
ประเภทส่วนราชการ
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่เลขที่ 10 ถนนเทียมร่วมมิตร แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
บุคลากร112 คน (พ.ศ. 2566)[1]
งบประมาณต่อปี382,835,100 บาท
(พ.ศ. 2568)[2]
ฝ่ายบริหารกรม
  • ชัยพล สุขเอี่ยม, อธิบดี
  • ธีทัต พิมพา, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกรมกระทรวงวัฒนธรรม
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

กรมการศาสนา (อังกฤษ: Department of Religious Affairs) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่การดำเนินงานของรัฐด้านศาสนา โดยการทำนุบำรุงส่งเสริมและให้ความอุปถัมภ์คุ้มครองกิจการศาสนาพุทธและศาสนาอื่น ๆ ที่ทางราชการรับรอง (ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์) ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาความรู้คู่คุณธรรม ส่งเสริมความเข้าใจอันดี และสร้างความสมานฉันท์ระหว่างศาสนิกชนของทุกศาสนา รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้คนไทยนำหลักธรรมของศาสนามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดีมีคุณธรรม

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2432 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกรมที่เกี่ยวกับการศาสนา และการศึกษามาอยู่กรมเดียวกัน มีชื่อว่า "กรมธรรมการ" และได้รับการสถาปนาเป็น "กระทรวงธรรมการ" ในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435

ในปี พ.ศ. 2462 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริว่า "ราชการของกระทรวงธรรมการและกรมศึกษาธิการนั้นต่างชนิดกันทีเดียว ยากที่จะเจ้ากระทรวงผู้สามารถบัญชาการได้ดีทั้ง 2 กรม คงได้ทางหนึ่งเสียทางหนึ่ง" มีพระบรมราชประสงค์จะให้ราชการเป็นไปสะดวก ทั้งจะให้สมแก่ทรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภกโดยตรง จึงมีพระบรมราชโองการให้ย้ายกรมธรรมการ มารวมอยู่ในพระราชสำนักตามประเพณีเดิม ส่วนกระทรวงธรรมการให้เรียก "กระทรวงศึกษาธิการ" มีหน้าที่จัดการศึกษา ในปี พ.ศ. 2469 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า "การศึกษาไม่ควรจะแยกจากวัด" และได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการ เป็น กระทรวงธรรมการ โดยได้งานด้านพระศาสนามาไว้ในกระทรวงธรรมการ

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวงทบวงกรม พ.ศ. 2484 มีผลให้เปลี่ยนชื่อ กระทรวงธรรมการ เป็นกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนชื่อ กรมธรรมการเป็น "กรมสาสนา"[3]

ในปี พ.ศ. 2495 มีการจัดตั้งกระทรวงวัฒนธรรม และโอนกิจการของกรมการศาสนาเข้าไปสังกัด[4] ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 จึงได้โอนกลับมาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการตามเดิม[5] ส่วนงานวัฒนธรรมมีฐานะเป็นกอง สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ หลังจากการปฏิวัติในปี พ.ศ. 2515 กองวัฒนธรรม จึงโอนมาสังกัดกรมการศาสนา และในช่วงนี้ ซึ่งสถานการณ์โลกเข้าสู่ยุคสงครามเย็น กรมการศาสนาภายใต้การเป็นอธิบดีของพันเอกปิ่น มุทุกันต์ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์[6]

ในปี พ.ศ. 2522 ได้มีการจัดตั้ง "สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการขึ้น กระทั่งการปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ. 2545 จึงมีการโอนกรมการศาสนา ไปสังกัดกระทรวงวัฒนธรรม[7] และมีการจัดตั้งสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีอีกหน่วยงานหนึ่ง

หน่วยงานภายใน

กรมการศาสนา มีหน่วยงานภายใน 4 หน่วยงาน[8] ได้แก่

  • สำนักงานเลขานุการกรม
  • กองศาสนูปถัมภ์
  • สำนักพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
  • สำนักงานขับเคลื่อนแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ

รางวัล/โครงการ

รางวัลเสาเสมาธรรมจักร

อ้างอิง

  1. กรมการศาสนา, รายงานประจำปี 2566 กรมการศาสนา, สืบค้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567
  2. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๘, เล่ม ๑๔๑ ตอนที่ ๕๙ ก หน้า ๗๐, ๓๐ กันยายน ๒๕๖๗
  3. "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พุทธศักราช 2484" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-05-04. สืบค้นเมื่อ 2010-09-03.
  4. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2495
  5. พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2501
  6. วิราวรรณ นฤปิติ, “พันเอกปิ่น มุทุกันต์ จากลูกอีสานสู่อนุศาสนาจารย์ นักรบผู้ปกป้องศาสนาพุทธในยุคสงครามเย็น,” ใน กิตติพงษ์ ประพันธ์ (บก.), บทความสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 13 “ภูมิภาคนิยม และท้องถิ่นนิยมสมัยใหม่ในโลกไร้พรมแดน” ([มปท.]: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2562), น. 252-265.
  7. "พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-08.
  8. กรมการศาสนา มีหน่วยงานภายใน 4 หน่วยงาน

ดูเพิ่ม

หนังสือและบทความ

แหล่งข้อมูลอื่น

แหล่งข้อมูลอื่น

Kembali kehalaman sebelumnya


Index: pl ar de en es fr it arz nl ja pt ceb sv uk vi war zh ru af ast az bg zh-min-nan bn be ca cs cy da et el eo eu fa gl ko hi hr id he ka la lv lt hu mk ms min no nn ce uz kk ro simple sk sl sr sh fi ta tt th tg azb tr ur zh-yue hy my ace als am an hyw ban bjn map-bms ba be-tarask bcl bpy bar bs br cv nv eml hif fo fy ga gd gu hak ha hsb io ig ilo ia ie os is jv kn ht ku ckb ky mrj lb lij li lmo mai mg ml zh-classical mr xmf mzn cdo mn nap new ne frr oc mhr or as pa pnb ps pms nds crh qu sa sah sco sq scn si sd szl su sw tl shn te bug vec vo wa wuu yi yo diq bat-smg zu lad kbd ang smn ab roa-rup frp arc gn av ay bh bi bo bxr cbk-zam co za dag ary se pdc dv dsb myv ext fur gv gag inh ki glk gan guw xal haw rw kbp pam csb kw km kv koi kg gom ks gcr lo lbe ltg lez nia ln jbo lg mt mi tw mwl mdf mnw nqo fj nah na nds-nl nrm nov om pi pag pap pfl pcd krc kaa ksh rm rue sm sat sc trv stq nso sn cu so srn kab roa-tara tet tpi to chr tum tk tyv udm ug vep fiu-vro vls wo xh zea ty ak bm ch ny ee ff got iu ik kl mad cr pih ami pwn pnt dz rmy rn sg st tn ss ti din chy ts kcg ve 
Prefix: a b c d e f g h i j k l m n o p q r s t u v w x y z 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9