ไวยากรณ์ภาษาตากาล็อกภาษาตากาล็อกเป็นภาษารูปคำติดต่อ มีการผันคำกริยาที่ซับซ้อน เรียงประโยคแบบกริยา-ประธาน-กรรม คำนามการใช้คำนำหน้า (Articles) ว่า Si และ Ang ซึ่งนามตัวใดก็แล้วแต่ ที่เป็นประธานในประโยค รวมไปถึงชื่อคน สถานที่ และสิ่งของต่างๆ ล้วนต้องมี Articles เหล่านี้นำหน้าอยู่ เว้นแต่ในเฉพาะ Imperative (ประโยคคำสั่ง,ขอร้อง) 1. การใช้ Si และ Sina ซึ่ง Si เป็น Article ใช้นำหน้าชื่อเฉพาะ เป็นเอกพจน์ ส่วน Sina เป็นพหุพจน์ แสดงถึงคนที่มากกว่าคนหนึ่ง เช่น
- Si Ruth ay babae. (Ruth เป็นผู้หญิง) (Ay เสมือน verb to be บอกความเป็น) - Si Peter ay lalaki. (Peter เป็นผู้ชาย) - Si Helen ay batang babae. (Helen เป็นหญิงสาว) - Si Tom ay batang lalaki. (Tom เป็นชายหนุ่ม) - Si Ruth ay maganda. (Ruth เป็นคนน่ารัก) - Si Peter ay marunong (Peter เป็นคนฉลาด) - Sina Helen at Tom ay mababait. (Helen และ Tom เป็นคนดี) - Sina Helen at Tom ay mga bata. (Helen และ Tom เป็นเด็ก)
อนึ่ง ว่าด้วยกฏเกณฑ์ของพหุพจน์ในภาษาตากาล็อก เมื่อใดที่ประธานเป็นพหุพจน์ ภาคแสดงที่เกี่ยวเนื่องกับประธาน ก็จะเป็นพหุพจน์ตามไปด้วย สังเกตจาก ตัวอย่างสุดท้าย ที่ใช้ Article พหุพจน์ คือ Sina เพราะประธานมี 2 คน คือ Helen กับ Tom ส่วนภาคแสดงที่บอกว่าเป็นเด็ก ก็ต้องเป็นพหุพจน์ตามประธานไปด้วย bata (เด็ก) ทำให้เป็นพหุพจน์โดยการเติม mga ไว้หน้านาม เพื่อแสดงสิ่งที่เป็นพหุพจน์นั้นด้วย คล้ายกับการเติม s ในภาษาอังกฤษ แต่ภาษาตากาล็อก แค่เติม mga ไว้ข้างหน้านี้เอง
ต่อไปนี้เป็นตารางแสดงเครื่องหมายการก Mga (มานา) แสดงรูปพหูพจน์
ตัวอย่าง
คำสรรพนามคำสรรพนามมีการกเช่นเดียวกับคำนาม
คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของตามหลังคำที่ขยาย คำสรรพนามแสดงกรรมรองอาจใช้แทนที่คำสรรพนามแสดงความเป็นเจ้าของได้ แต่จะมาก่อนคำที่ขยาย เช่น
คำสรรพนามทวิพจน์มีใช้น้อย มีการใช้คำ kitá แทนที่ ko ikáw เช่น
คำสรรพนามรวมผู้ฟัง táyo ใช้อ้างถึงบุรุษที่ 1 และ 2 และอาจรวมถึงบุรุษที่ 3 ด้วย ส่วนคำสรรพนามไม่รวมผู้ฟัง ใช้อ้างถึง บุรุษที่ 1 และ 3 ไม่รวมบุรุษที่ 2 เช่น
บุรุษที่ 2 เอกพจน์มีสองรูปคือ ikáw กับ ka โดย ka ไม่ใช้ขึ้นต้นประโยค รูปพหูพจน์ kayo ใช้เป็นรูปเอกพจน์ได้เมื่อต้องการแสดงความยกย่อง คำนามโดยทั่วไปไม่ระบุเพศ เช่น siyá หมายถึงผ้ชายหรือผู้หญิงก็ได้ คำสรรพนามชี้เฉพาะ
ตัวอย่าง
คำกริยารูปของคำกริยาในภาษาตากาล็อกค่อนข้างซับซ้อนและมีการผันคำด้วยปัจจัย แผนผังการรวมคำต่อไปนี้คือแผนผังของการรวมปัจจัยที่ใช้ผันคำกริยา มีทั้งเติมข้างหน้า ต่อท้าย เติมกลางคำ และเติมทั้งข้างหน้าข้างหลัง CV หมายถึงการซ้ำพยางค์ต้นของรากศัพท์ มักเป็นพยัญชนะและสระตัวแรกของคำ N หมายถึงพยัญชนะนาสิก เช่น ng n m ขึ้นกับพยัญชนะที่ตามมา -um- เป็นคำที่เติมลงกลางคำระหว่างพยัญชนะและสระตัวแรกเช่น sumulat มาจากรากศัพท์ sulat เติม -um- ระหว่าง s กับ u คำนี้อาจผันเป็น susulat และ sumusulat สำหรับคำกริยาในรูปบ่งชี้กรรมหน่วยเติม –in- มักเป็น –ni- ถ้ารากศัพท์ขึ้นต้นด้วย /l/, /r/ ,/w/ หรือ /y/ เช่น linalapitan หรือ nilalapitan และ inilagay หรือ ilinagay
จุดเน้นลักษณะที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งของคำกริยาในภาษาตากาล็อกและภาษาอื่นๆในฟิลิปปินส์คือระบบจุดเน้นของคำกริยา ซึ่งเป็นกฎของความสัมพันธ์ระหว่างคำนาม (ที่มีเครื่องหมายประธาน) ในจุดเน้นต่างๆซึ่งจะมีการผันที่คำกริยา จุดเน้นมีหกแบบคือการกระทำ กรรม ตำแหน่ง การใช้ประโยชน์ เครื่องมือ และเหตุผล โดยทั่วไปนอกจากจุดเน้นและการกระทำแล้ว คำกริยาเหล่านั้นมักเป็นสกรรมกริยา การเน้นการกระทำปัจจัยที่สำคัญคือ mag-, maN- และ ma- ความแตกต่างระหว่าง –um- และ mag- สร้างความสับสนให้ผู้เรียนมาก โดยทั่วไป mag- ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลภายนอกและ –um- ใช้กับการกระทำที่เกิดขึ้นจากอิทธิพลภายใน ตัวอย่างเช่น bumilí แปลว่าซื้อ ขณะที่ magbilí แปลว่าขาย อย่างไรก็ตาม mag-ahit แปลว่าโกนผมของตนเองส่วน umahit แปลว่าโกนหัวของคนอื่น ma- ใช้กับคำกริยาไม่กี่ตัว เช่น matulog (นอนหลับ) ตัวอย่างประโยคได้แก่
การเน้นกรรมปัจจัยที่สำคัญมีสามตัวคือ
ปัจจัยยังใช้ได้กับนามหรือคุณศัพท์ เช่น baligtaran (จาก baligtád เปลี่ยนกลับ) เป็นเปลียนแปลงได้ คำกริยาที่มีปัจจัยใช้เป็นคำนามโดยการเปลี่ยนตำแหน่งเน้นเสียงหนักภายในคำ เช่น panoorin เป็น panoorín (สิ่งที่ถูกมอง) การเน้นตำแหน่งใช้อ้างถึงตำแหน่งและทิศทางของการกระทำ เช่น
การเน้นการใช้ประโยชน์ใช้อ้างถึงบุคคลหรือสิ่งของที่การกระทำนั้นกระทำต่อ เช่น
การเน้นเครื่องมือใช้อ้างถึงสิ่งที่ประกอบการกระทำ เช่น
การเน้นเหตุผลใช้อ้างถึงสาเหตุของการกระทำ เช่น
จุดมุ่งหมายคำกริยาในภาษาตากาล็อกมีจุดมุ่งหมายมากกว่ากาล มีสี่อย่างคือ นามกริยา (รวมคำสั่ง) สัมบูรณ์ กำลังกระทำ และการไตร่ตรอง (มักเป็นอนาคต) ตัวอย่างนามกริยา เช่น Gustó kong matulug = ฉันต้องการนอน Matulug ka na! = ไปนอนเดี๋ยวนี้ ตัวอย่างกริยาสัมบูรณ์ เช่น Sinulatan ka ni Maria (มาเรียเขียนถึงคุณ) ตัวอย่างกริยากำลังกระทำ เช่น Sumasayáw siyá ngayón (เขากำลังเต้นรำอยู่ในขณะนี้) ตัวอย่างกริยาความไตร่ตรอง เช่น Hahanapin ba natin ang susí ko? (เราจะมองหากุญแจของเราไหม?) รูปแบบกริยากริยาในภาษาตากาล็อกมีปัจจัยที่บอกรูปแบบของกริยา เช่นการชี้เฉพาะ ความเป็นเหตุเป็นผล ศักยภาพ สังคม และการกระจายตัว ตัวอย่างเช่น
คำขยายในภาษาตากาล็อกคำขยายใช้ขยายได้ทั้งนามและกริยา คำคุณศัพท์ขยายนามโดยใช้ตัวเชื่อม na แต่ถ้าตามหลังคำที่ลงท้ายด้วยเสียงสระ na จะกลายเป็น ng คำคุณศัพท์จะมาก่อนหรือตามหลังคำที่ขยายก็ได้ คำกริยาวิเศษณ์ ถ้าตามหลังกริยา แสดงด้วย nang หรือนำหน้ากริยาด้วยตัวเชื่อม na หรือ ng ตัวอย่างเช่น การใช้คำ mabilís (เร็ว) เป็นดังนี้
คำคุณศัพท์เป็นได้ทั้งรากศัพท์ธรรมดา และรากศัพท์ที่เติมปัจจัยได้ คำอุปสรรค ma- ใช้เติมหน้าคำคุณศัพท์ได้ ปัจจัยบางตัวเช่น –pinaká ใช้บอกการเปรียบเทียบขั้นสุด การเรียงคำการเรียงคำในภาษาตากาล็อกเป็นแบบ กริยา-ประธาน-กรรม การเรียงลำดับอาจสลับกันโดยใช้เครื่องหมาย ay หรือ –y หลังสระตัวอย่างเช่น
การแสดงการมีอยู่ ใช้คำ may หรือ mayroón เช่น
การปฏิเสธมีสามคำคือ Hindî ใช้ปฏิเสธการกระทำและการเปรียบเทียบ walâ เป็นคำตรงข้ามของ may หรือ mayroón และ huwág ใช้แสดงอารมณ์และใช้กับอนาคตได้ ตัวอย่างเช่น
คำแสดงคำถามคำเหล่านี้จะวางไว้หน้ากริยาในประโยค ได้แก่ alín (สิ่งไหน) anó (อะไร) saán (ที่ไหน, เน้นกริยา) nasaán (ที่ไหน, เน้นกรรม) sino (ใคร) ใช้เป็นทั้งรูปประธานและกรรม bakit (ทำไม) gaano (อย่างไร) ilán (มากเท่าใด) kalian (เมื่อไร) kanino (ของใคร) kumusta (เป็นอย่างไร) magkano (ราคาเท่าใด) nino (ใคร, รูปความเป็นเจ้าของ) paano (อย่างไร, เน้นการกระทำ) |